23 ม.ค. 2021 เวลา 12:23 • ไลฟ์สไตล์
แชร์วิธีฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น
ทุกคนมีวิธีเรียนภาษาที่แตกต่างกัน ลองหยิบเทคนิคแต่ละคนดูสิว่าเทคนิคไหนได้ผลสำหรับเรามากที่สุด
1
ผมอยากแชร์ประสบการ์ตรงที่ผมฝึกภาษาอังกฤษเองล้วน ๆ ไม่เคยไปต่างประเทศ ไม่เคยไปเรียนพิเศษ ไม่เคยจ้างครูต่างชาติมาสอน
1
เริ่มต้นตอนอายุ 15 ปีหรือม.3 ตอนนั้นยังไม่รู้ด้วยซ่ำคำว่า "where" แปลว่าอะไร 😂 แล้วพึ่งมาท่อง a-z ได้ตอนอยู่ม.5 แล้วตอนม.6 โชคดีครอบครัวของลูกพี่ลูกน้องมีนักเรียนแลกเปลี่ยนจากเม็กซิโก เลยได้มีโอกาสพูดคุย จากนั้นเข้ามหาวิทยาลัยปี 1-2 ไม่ได้ใช้ภาษาเลย จนปี 3 ได้เป็นเพื่อนอเมกัน เริ่มพูดได้และเรียนเองแบบจริง ๆ จัง ๆ ตอนอายุ 21 ปัจจุบันอายุ 23 คุยได้แบบสบาย แต่ก็ยังต้องพัฒนาตัวเองอีก ไม่หยุดอยู่แค่นี้แน่นอนครับ 🙂
👉🏻...ถ้าให้ผมแนะนำวิธีเรียนภาษาสำหรับคนไม่มีพื้นฐาน...
ผมขอแนะนำให้อ่านเก็บสะสมคำศัพท์ก่อน เริ่มจากอ่าน "นิยายภาษาอังกฤษที่แทรกแปลคำศัพท์ด้านข้าง" สามารถซื้อได้ที่ร้านขายหนังสือทั่วไป ผมเคยไปสุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ที่เชียงใหม่ ผมลองถามพนักงานปรากฎว่า "มี" หรือจะสั่งออนไลน์ก็ได้ลองหาดู
มันจะมีระดับ (level/stage) ถ้ายังไม่มีพื้นฐานในเริ่มจากระดับ 1 ก่อน ถ้าเราเริ่มสูงเกินไป เวลาอ่านจะรู้สึกยาก ปวดหัว หรือถ้าอ่านระดับหนึ่งแล้วไม่เข้าใจ แกล้งทำเป็นเข้าใจครับ มโนสร้างเรื่องราวมาเองเลย โดยใช้คำศัพท์เท่าที่เรารู้ นี่เรื่องจริง! ผมก็ทำ มันจะสร้างความสนุกในการอ่านให้กับเรา แล้วก็ศัพท์จะเข้าหัวเราเอง
หนังสือพวกนี้เป็นจุดเริ่มต้นการเรียนภาษาอังกฤษของผม ตอนอายุ 15 ซึ่งหนังสือจะมีคำศัพท์ยาก ๆ ไว้ข้าง ๆ ช่วยให้ผมได้คำศัพท์ใหม่โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะบางทีผมชอบเจอคำศัพท์ซ่ำบ่อย ๆ ผมขี้เกียจพลิกกลับไปดู กลับไปแปล เสียเวลาก็เลยจำแม่งเลย 😆
2
ส่วนใหญ่ได้เรียนรู้คำศัพท์กิริยาช่อง 2 (past simple) เพราะมันเป็นนิยายที่พูดถึงอดีต และทำให้เรารู้ว่าคำศัพท์นั้นสามารถใช้ในประโยคแบบไหนบ้าง
ผลพลอยได้จากที่เราอ่านมาได้เรื่อย ๆ วันหนึ่งตอนม. 4 คาบวิชาภาษาอังกฤษ ครูถามว่า "มีใครรู้ไหม คำว่า Rich แปลอะไร" ทุกคนในห้องเงียบ ผมรู้คำตอบนะ แต่ด้วยความที่เราเป็นเด็กที่เงียบ ขี้อาย ไม่เก่งอะไรสักอย่าง ต้องใช้แรงกล้ามาในการตอบเพราะกลัวถูกตัดสินถ้าตอบผิด ตอนนั้นตื่นเต้นมากเลยตอบไปว่า "รวย.. คับ" ครูมองหน้าผมแบบประหลาดใจ พร้อมกับชื่อชมผม "เก่งมากพบธรรม!" ให้ทุกคนตบมือ ผมดีใจมาก! มันการจุดประกาย (spark joy) ให้ผมอยากเรียนภาษาต่อไป 🎇
2
ตั้งแต่นั้นช่วงม.ปลาย ผมมักเป็นหนึ่งในท็อปวิชาภาษาอังกฤษให้ห้อง (ถามเพื่อนมัธยมได้) ช่วงส่งการบ้าน ช่วงใกล้สอบ มาละ "พบธรรม!! ช่วยเราหน่อย" เสียงจากเพื่อน ๆ ในห้อง ถึงจะแอบรู้สึกดีแต่ถ้าย้อนไปได้ผมจะไม่ทำ เพราะเหมือนเราส่งเสริมให้เขาไม่ศึกษาเองและเอาพึ่งพาแต่คนอื่น ซึ่งเป็นการทำร้ายเขาทางอ้อมด้วย
รูปมือและหนังสือ : ถ่ายเอง รูปตัวอย่างหนังสือ : twitter @secondhandsbook
[💝] ....หัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้เราเรียนภาษา
ให้ตั้งคำถามว่า...
"ทำไมฉันถึงอยากเรียนภาษาอังกฤษ? / why do I want to study English?"
1
เพราะอยากสอบให้ผ่าน?
เพราะอยากไปเรียนต่างประเทศ?
เพราะอยากให้ได้งานที่ดีขึ้นเหรอ?
เพราะอยากมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ?
เพราะอยากเอาคะแนนเข้าสอบมหาวิทยาลัยเหรอ?
การตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้เราเห็นแนวทางการเรียนรู้ภาษาของเรา และถ้า "why" ของเราแข็งแกร่งพอ มันจะช่วยเตือนใจเวลาเราท้อ เมื่อเรานึกย้อนกลับมาดูจุดเริ่มต้นของตัวเอง จะรู้สึกมีแรงผลักดันแบบไม่น่าเชื่อเลยครับ 🙂
1
why - สำหรับผม
คือการที่เราได้ connect การคนมาขึ้น และผมอยากเรียนคำศัพท์ระดับสูงมากขึ้นเพื่อที่จะได้ทำงานกับชาวต่างชาติหรือทำงานต่างประเทศ นั้นเหมือนความฝันของผมเลยครับ
3
เมื่อเรารู้ว่า "why" ของเราคืออะไรแล้ว มีดูเทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษของผม
..
..
✨ 3 เ ท ค นิ ค - เ รี ย น ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ ✨
..
..
#❶ : putting yourself in that environment / อยากเป็นแบบไหนให้พาตัวเราไปอยู่ที่นั้น
1
เคยได้ยินไหมว่า สิ่งแวดล้อมรอบข้างมีอิทธิผลต่อเราอยากมาก แต่เราไม่ได้อยู่ต่างประเทศนี่นา แถมไม่ได้อยู่ใกล้กับชาวต่างชาติด้วย จะไปได้ไง?
ที่จริง...
คุ ณ ส า ม า ร ถ ส ร้ า ง มั น ไ ด้
และนี่เป็นเทคนิคหลักที่ผมใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะออกเป็น 4 กุญแจสำคัญ
..
..
🗝️ the four key skills - 4 กุ ญ แ จ สํ า คั ญ
ที่จะบาลานซ์เรียนรู้ทักษะภาษา : listening | speaking | reading | writing
input <<< listening (ฟังผ่านหู) reading (อ่านผ่านสายตา)
output >>> speaking (เปล่งเสียงจากปาก) writing (ใช้มือเขียน)
ยิ่งเราบาลานซ์ได้ดี ยิ่งเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น การมี input เป็นเรื่องที่ดี แต่มี output ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
..
..
👉🏻🗝️ กุ ญ แ จ ที่ 1 - listening (ทักษะการฟัง)
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนภาษานั้นอยู่รอบตัวเราโดยไม่รู้ตัว เพราะยุคนี้เป็นยุคอินเทอร์เน็ตอะเนอะ มีแหล่งเรียนรู้มากมายโดยที่เราไม่ต้องเสียเงิน
• แนะนำให้ฟัง podcast หรือติดตามช่องยูทูป
เข้าใจนะว่าบางคนแทบไม่มีเวลาดูวีดีโอยูทูปหรือหนัง แต่คุณสามารถฟัง podcast ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอาบน้ำ เดินทาง ดั้งนั้นเลิกอ้างได้แล้ว! ลองไปฟังดูนะครับ อาจจะไปฟังเสียงเพราะ ๆ ของ Ana ในเพจ English Talk Podcast ก็ได้ ฟังเพลินแถมได้คำศัพท์ดี ๆ อีก
2
ผมแนะนำ "all eyes english podcast" ผมฟังเป็นประจำเสมอ ผมได้สำเนียงอเมริกันเพราะ podcast นี้เลย ฟังเขาคุยกันซึ่งเข้าใจง่ายมาก มีทรานสคริปไว้ให้เราไปฝึกพูด แถมได้เรียนรู้วัฒนธรรมของเขา ดีที่สุดคือเขาให้กำลังใจตลอดและผลักดันให้เราอยากเรียนเสมอ ผมฟังเข้าใจได้มากกว่า 80% แล้ว ลองฟังดูนะครับ
1
podcast ที่ผมฟังเป็นประจำ "all eyes english podcast และ "คำนี้ดี"
• แนะนำให้ฟังเพลงและดูเนื้อเพลงไปด้วยหรือดูหนังซัพอิ้ง
เทคนิคนี้เป็นเทนนิคของเพื่อนผมหลาย ๆ คน เขาจะชอบฟังเพลงพร้อมกับแปลเนื้อเพลงไปด้วย ซึ่งการฟังเพลงและดูหนังจะมีข้อดีคือเราจะได้คำศัพท์แสลง (slang) ไปด้วย
ผมคิดว่าทักษะการฟังจะช่วยให้เรารู้วิธีการออกเสียงคำศัพท์ เพื่อนผมบางคนแค่ไปนั่งฟังเพื่อนฝรั่งเฉย ๆ แต่เขาไม่พูด เขานั่งจดศัพท์ที่เขาไม่รู้ระหว่างฟังก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง หรือบางคนอ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ แต่สามารถพูดได้ ฟังได้เข้าใจก็มีครับ
..
..
👉🏻🗝️ กุ ญ แ จ ที่ 2 - speaking (ทักษะการพูด)
การพูดนี้จำเป็นต้องคุยกับชาวต่างชาติเท่านั้นเหรอ ที่จริงไม่จำเป็นหรอก แต่แล้วทำยังไงละ?
• ลองคุยกับตัวเอง : ผมชอบคุยกับตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ พยายามใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เวลาเจอสิ่งของ เช่น ตู้เย็น this is refrigerator and another word is fridge. หรือสภาพอากาศ ท้องฟ้าสวย the sky is so gorgeous today! 🌇
ถ้าอ่านหนังสือ ลองอ่านออกเสียง ก็ช่วยให้เราจำศัพท์ได้ดีขึ้นด้วย
• อัดเสียงตัวเอง : เพื่อดูว่าคำไหนเราพูดไม่ชัด ลองอัดแล้ว 2-3 วันค่อยมาฟัง ฟังว่ามีคำไหนที่ฟังยากหรือไม่ชัด แล้วค่อยปรับปรุงตรงนั้น
• คุยกับเพื่อน : ถ้าเราอาย ยังไม่กล้าคุยกับฝรั่งเหมือนผมตอนแรก ๆ ลองคุยกับเพื่อนดู สนุกดีนะ ถึงจะติดตรงสำเนียง แต่ก็ช่วยได้มากเวลาเราออกเสียงผิด เขาก็จะบอกเรา หรือไม่รู้ศัพท์ที่เขาพูด เราสามารถถามได้เลย
ส่วนตัวทุกวันนี้ผมก็คุยภาษาอังกฤษกับเพื่อนสนิทคนหนึ่งชื่อแคทตั้งแต่ปี 2020 (kat if you see this, i love u!) ลองขอคุยกับเพื่อนวันละอย่างน้อย 5 นาทีก็ได้
..
..
1
👉🏻🗝️ กุ ญ แ จ ที่ 3 - reading (ทักษะการอ่าน)
อย่างที่ผมบอกข้างต้นไปแล้ว ลองหานิยายอังกฤษที่อ่านง่ายมาอ่านดู มีคำพูดหนึ่งของ เจ. เค. โรว์ลิง นักเขียนชื่อดังที่เขียนนิยายแฮรรี่ พอตเตอร์
.
"if you don't like to read, you haven't found the right book"
.
ประมาณว่า ถ้าเวลาอ่านแล้วรู้สึกอึดอัด รู้สึกไม่ชอบ แสดงว่านั้นยังไม่ใช่หนังสือที่ 'ใช่' สำหรับเรา เมื่อรู้สึกปวดหัวหรือท้อ ลองพักก่อน และลองเปลี่ยนเป็นหนังสือดูนะครับ
quote ที่ผมเจอในหอสมุด
👉🏻🗝️ กุ ญ แ จ ที่ 4 - writing (ทักษะการเขียน)
• เขียนไดอารี่ : ไม่ต้องเน้นแกรมม่า เขียนแบบอิสระไปเลย เอาแค่ให้เราเข้าใจก็พอ มันจะรู้สึกสนุกมาก ๆ หรืออาจจะแบบ "วันนี้ฉันรู้สึก depressed มาก" หรือ "ฉันรู้สึก grateful ที่ฉัน can listen english" แล้วค่อยเขียนภาษาอังกฤษทั้งประโยคก็ได้ครับ
.
.
🔑 แถมอีกกุญแจที่รวมทั้ง 4 ทักษะไปเลย!
นั้นก็คือใช้แอฟเดตแอฟหาเพื่อนชาวต่างชาติไปเลย!
เท่าที่ผมรู้จักคือแอฟก็ tinder ลองสมัครเป็น tinder gold (เสียตังหน่อย) พาตัวเองไปยังประเทศที่เราต้องการ ซึ่งจะตรงกับการ "putting yourself in that environment"
• ทักษะเขียน = คุยแชท
• ทักษะอ่าน = ทักแชทเขา
• ทักษะพูด = เผื่อโทรคุยกัน facetime กัน งุ้ย~
• ทักษะฟัง = ถ้าได้โทร/facetime ก็จะได้ฟังเสียงเขา
หรือจะให้สิริอ่านแชทก็ได้เหมือนกัน
2
นอกจากจะได้ภาษา เราอาจจะได้ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ่งจนกระทั้งอาจได้เป็นแฟนกันก็ได้ ;)
good luck :3
3
ถ้ามีโอกาสได้คุยกับเจ้าของภาษา คุยได้เลยครับ เขาเข้าใจว่านี่คือภาษาที่ 2 ของเรา พยายามถามให้เยอะที่สุด นอกจากนี้เราก็สามารถช่วยเขาได้ เช่น สอนภาษาไทย พาไปเที่ยว แลกเปลี่ยนกัน
#❷: Consistency / สร้างความสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย
พอเรามีแนวทางการเรียนรู้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือ "การเรียนรู้ทุกวันแบบสม่ำเสมอ" สิ่งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเลย เทคนิคนี้สามารถใช้กับการเรียนรู้ทุกอย่างเลย
"start small" เริ่มจากเล็ก ๆ ก่อน!
บางคนเล่นใหญ่ หยุดเล่นเกมส์ เล่นมือถือ ลบแอฟทุกอย่างเพื่อมาอ่านหนังสือ ตอนแรกมันก็ได้อยู่ครับ แต่หลัง ๆ กราฟความขยันก็จะลดลง 📉 จนเราท้อ แล้วเริ่มผลัดวันประกันพรุ่ง นั้นเป็นเพราะเรายังไม่ได้สร้างความคุ้นชินกับการอ่านหนังสือยังไงละ!
1
ทุกคนมีลิมิตหรือข้อจำกัดของตัวเอง
.
เมื่อก่อนผมอ่านแค่ 10 นาทีผมก็ปวดหัวละ มันเป็นเรื่องปกติครับ ไม่ต้องห่วง ให้เปรียบการอ่านเหมือนกับการวิ่งมาราธอน จู่ ๆ วันจริงเราก็ไปวิ่งเลย 20 กิโลเมตร ไม่มีการซ้อมวิ่งหรือวอร์มใด ๆ แน่นอนว่าอาจจะเกิดการบาดเจ็บ ผมสังเกตุว่าคนที่จะวิ่งมาราธอน เขาจะซ้อมวิ่งอย่างสม่ำเสมอก่อนจะแข่ง อาจจะเริ่มจาก 2 กิโลเมตรและค่อย ๆ ขยับขึ้นไปทีละเล็กละน้อยทุกวัน ๆ
ผมคิดว่านี้คงตอบได้ว่า
...ทำไมเด็กที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือให้ฟังวันละ 10-15 นาที
...พอโตเป็นผู้ใหญ่ถึงอ่านหนังสือวันละ 2-3 ชั่วโมงได้สบาย ๆ
ซึ่งการฝึกให้เริ่มจากทีละเล็กละน้อยให้เขารู้สึกสนุก มันจะสร้างนิสัยให้เด็กคนนั้นรักการอ่านและสามารถอ่านหนังสือ เปรียบเสมือนเริ่มสร้างกล้ามเนื้อให้พร้อมกับสำหรับการมาราธอน (ประสบการณ์ตรงจากเพื่อนชาวต่างชาติของผม)
.
.
>ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเริ่มต้น!
.
.
อย่างที่ผมเคยบอกไว้คือผมเคยเด็กขี้เกียจคนหนึ่งที่ติดเกมส์มาก ๆ ผมพึ่งมาอ่านหนังสือแบบจริงจังตอนอายุ 21-22 เอง ถ้ารวมหนังสือที่ผมอ่านที่เป็นนิยายด้วย (ไม่รวมหนังสือเรียนนะ) ไม่ถึง 15 เล่มเองในชีวิต! แต่ผมก็สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แถมเริ่มมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้นอีก
1
ผมแนะนำให้เริ่มต้นเล็ก ๆ (start small) เลือกเวลาที่เหมาะสมกับเรา
ทุกวันนี้ผมบอกตัวเองว่าขออ่านหนังสือวันละอย่างน้อย 10 นาทีก็พอ ถ้าครบ 10 นาทีแล้ว ถ้าอยากพอก็หยุด ถ้าอยากอ่านต่อก็อ่านได้ แต่เชื่อผมเถอะ เราจะได้ทำอย่างหลังมากกว่า :) และขอให้ทำทุกวันเป็นประจำก็พอ
ลองเริ่มจากวิ่งเยาะ ๆ เป็นประจำ สร้างกล้ามเนื้อแบบค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปนะครับ
#❸: don't beat yourself up / อย่ากดดันตัวเองมากเลย
สิ่งหนึ่งที่เคยขัดขว้างไม่ให้ผมลองพูดคือ เราอยากให้มันออกมาเพอร์เฟค ต้องไม่มีข้อผิดพลาดตลอด เพราะเรากลัวการถูกตัดสินหรือกลัวมองว่าไม่ฉลาด มันแต่จะรั่งเราจนไม่กล้าพูด
แต่ mindset ที่ลบล้างความเป็นโรค perfectionism ของผมได้ก็คือ "human are imperfect and it's okay to make mistake" มนุษย์ไม่ได้เพอร์เฟค และมันเป็นไรที่จะทำสิ่งผิดพลาด เรายอมรับมัน เรียนรู้จากมัน และอย่าทำอีก แค่นั้นแหละ
• สาเหตุปัจจัยภายนอก
สาเหตุที่ผมเคยเป็น perfectionism ก็เพราะโลกโซเชียลเนี่ยแหละ เราจะเห็นทั้งคนที่โพสแต่ความประสบความสำเร็จของตัวเอง ต่าง ๆ นา ๆ ที่ทำให้เราอดใจเปรียบเทียบกับคนอื่น จนกลายเป็นว่าเราไม่กล้าพูดอะไร แต่ถ้าไม่ลองฝึกดู ไม่ลองเริ่มต้น แล้วเมื่อไหร่เราจะพัฒนาละ
พร้อมกับสังคมที่ toxic ถ้าเวลาเราพูดภาษาอังกฤษ แล้วเขามาตัดสินเรา บอกว่าฟังดัดจริตจัง ทำให้เรารู้สึกแย่ อยากที่ผมเคยบอกให้เทคนิคที่หนึ่ง อยากเป็นแบบไหนให้พาตัวเราไปอยู่ที่นั้น แต่ถ้าเราไม่อยากเป็นคนแบบนั้น ก็ให้พาตัวเอง "ออก" มาจากที่นั้นได้เช่นกัน
1
แล้วสังคมที่ไม่ toxic เป็นยังไงละ สังคมที่เราอยู่แล้ว เราเป็นตัวของตัวเอง เราอยู่แล้วสบายใจ ไม่มีการนินทากัน ค่อยซัพพอร์ต ซึ่งสังคมนั้นมีจริง ๆ ซึ่งตอนนี้ผมก็ได้พาตัวเองมาอยู่สังคมนั้น โดยเฉพาะใน Bd เต็มไปด้วยผู้คนที่อบอุ่น ขอบคุณพี่จูน(มุมที่จูนมอง) พี่ยะ(ปั้นเงินออม) พี่ฝน (eattention) พี่แคนดี้ ที่คอยมาให้กำลังใจและสร้างบทความดีเสมอ
• สาเหตุปัจจัยภายใน
ถึงแม้เราจะมีสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อนที่ค่อยซัพพอร์ต แต่ถ้าตัวเรายังคิดว่า "ฉันทำไม่ได้/ฉันพูดไม่เป็น" มันก็ยากที่จะดึงตัวเองให้เรียนรู้
ไม่มีใครเปลี่ยนตัวเราได้ นอกจากตัวเองเรา
เราต้องเริ่มจากให้กำลังตัวเอง เคยลองคุยกับตัวเองเหมือนเราคุยกับเพื่อนตอนที่เพื่อนเศร้าหรืออกหักรึยัง? สำเนียงที่เราบอกเพื่อนกับน้ำเสียงที่เราตัวเองเวลาเราทำผิดพลาดมันต่างกันไหม?
ลองบอกตัวเองว่า "ฉันทำได้" "ฉันพูดภาษาอังกฤษได้" มันจะช่วยดึงให้ตัวเราอยากเรียนรู้มากขึ้น
ถ้าอยากฝึกภาษาอังกฤษ หาเพื่อนคุยสัก 5 นาที
DM มาในไอจีผมก็ได้นะ (@flukephobtham)
ไม่จำเป็นต้องติดตาม ทักคุยกันได้เสมอนะครับ
2
Focus on confection, not perfection
ยังมีอะไรที่ผมต้องพัฒนาอีกเยอะ
มาเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ
ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบ
หวังว่ามันจะช่วยให้หลาย ๆ คน
ได้เริ่มต้นทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
ฟลุ๊คพบธรรม :3
โฆษณา