Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 ม.ค. 2021 เวลา 03:08 • การเมือง
ทำไมประเทศถึงไม่เจริญ?
หลายวันที่ผ่านมาได้มีโอกาสอ่านหนังสือชื่อ Why Nations Fail: The Origins of Power, Prosperity, and Poverty เป็นหนังสือที่โดนวิจารณ์อย่างกว้างขวางมากๆ ที่แต่งโดยนักเศรษฐศาสตร์/รัฐศาสตร์ชื่อ Daron Acemoglu และ James Robinson ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ค่อนข้างหนามากที่พยายามหาสมมติฐานมาอธิบายว่าทำไมบางประเทศถึงเจริญ ในขณะที่บางประเทศถึงประสบความล้มเหลว
ก่อนหน้านี้มีผู้ค้นคว้าและตั้งสมมติฐานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพอากาศ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ของประชากรส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่สามารถอธิบายความสำเร็จ/ล้มเหลวของประเทศได้ดีเลย
ผู้เขียนจึงได้ตั้งสมมติฐานที่น่าสนใจว่ามันเป็นเรื่องของ inclusive economic/politic institution แปลเป็นไทยง่ายๆ คือ ประเทศที่ประสบความสำเร็จมักเป็นประเทศที่ให้ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน ลิขสิทธิ์ สิทธิในการออกเสียง และให้ความเห็นทางการเมือง รวมไปถึงสิทธิในการได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย
ในขณะเดียวกันประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมกัน (extractive economy/political institution) เช่น จำกัดสิทธิในการออกเสียง มีการคอร์รัปชั่นสูง ให้สิทธิพิเศษกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป หรือให้คนบางกลุ่มอยู่เหนือกฎหมาย จะเป็นประเทศที่ล้มเหลวในระยะยาว ซึ่งพอฟังแล้ว หลายๆ คนอาจจะนึกถึงประเทศเดียวกับผมอยู่แต่ๆ
โดยผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มักจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน การคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ ในขณะที่ผู้นำของประเทศ หรือบุคคลชั้นสูงมีแรงจูงใจทำให้ประเทศไม่พัฒนา จำกัดการเรียนรู้ของประชาชน จำกัดการทำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ รวมไปถึงการแบ่งผลประโยชน์จากการผูกขาดกันเอง จนทำให้ประเทศสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวจนทำให้ประเทศล้มเหลว
ผู้เขียนยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นเหตุการณ์ที่สนับสนุนสมมติฐานดังกลาว เช่น เกาหลีใต้/เกาหลีเหนือ (ซึ่งสังเกตได้ง่ายจากภาพถ่ายดาวเทียมของประเทศเกาหลีใต้/เกาหลีเหนือ ที่ประเทศหนึ่งมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจนสว่างไสวในยามค่ำคืน ส่วนอีกประเทศก็มืดเกือบทั้งประเทศ ยกเว้นเมืองหลวง จนน่าสงสัยว่า ไม่เจริญหรือว่ากำลังรักษ์โลกอยู่ด้วยการประหยัดพลังงาน) สหรัฐอเมริกา/ละตินอเมริกา ออสเตรเลีย/แอฟริกา ซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจ แต่ทฤษฎีดังกล่าวก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่เนื่องจากไม่สามารถใช้อธิบายความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศจีนได้
ภาพของเกาหลีเหนือในยามค่ำคืน
ไม่ว่าหนังสือเล่มนี้จะถูกหรือไม่ แต่ก็ชี้ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับสังคมไทย สังคมที่มีความไม่เท่าเทียมกันเป็นอย่างสูง นักการเมืองและบุคคลบางกลุ่มสามารถที่จะหลบเลี่ยงกฎหมาย เอาเปรียบคนกลุ่มอื่น ใช้ประโยชน์จากการผูกขาด หรือสามารถใช้สองมาตรฐาน ในขณะที่คนทั่วไปก็ไม่เคารพกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายจราจร ประเทศของเราจะกำลังเดินไปสู่เส้นทางแห่งการล้มเหลวหรือไม่ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะทำให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์และยุติธรรม เพื่ออนาคตที่ดีของชาติ
ภาพของ Justitia เทพธิดาแห่งความยุติธรรม มือข้างหนึ่งถือตาชั่ง เป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม อีกข้างหนึ่งถือดาบ แสดงให้เห็นถึงอำนาจของความยุติธรรม มีผ้าผูกตา แสดงถึงความไม่ลำเอียงในการตัดสิน โดยที่ไม่สนใจว่าคนๆ นั้นจะเป็นใคร คงจะเป็นภาพที่ดีที่แสดงให้เห็นถึง สิ่งที่ประเทศไทยกำลังต้องการ หากต้องการให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต
Justitia
ที่มา:
https://www.amazon.com/Why-Nations-Fail-Origins-Prosperity/dp/0307719227
5 บันทึก
22
1
6
5
22
1
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย