24 ม.ค. 2021 เวลา 06:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ย้อนรอย 20 ปี วาทกรรม "แปรรูป ปตท. = ขายสมบัติชาติ"
1
หลังจากที่บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ (OR) ประกาศ เปิดให้นักลงทุนทั่วไป จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน วันนี้เป็นวันแรก (24.01.64) ผ่านธนาคาร 3 แห่ง ทั้ง ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
1
แต่หากย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2544 มีการยกวาทกรรม "แปรรูป ปตท. = ขายสมบัติชาติ" ทำให้มีการต่อต้านการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของ ปตท. ในดังกล่าว และคนจำนวนมากเข้าใจว่า เงื่อนไขการแปรรูปฯ นี้ คือการ “ขายสมบัติชาติ” เพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ และบางส่วนคิดเลยเถิดไปว่าเป็นแผนการขายให้ต่างชาติ
2
ผัง "แปรรูป ปตท. = ขายสมบัติชาติ"
การแปรรูป บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อ พ.ศ. 2544 เป็นตำนานแห่งวาทกรรมขายสมบัติชาติ ที่บางฝ่ายเอามาโจมตีว่าเป็นการฉ้อฉลเชิงนโยบายในวงการเมืองไทย มีการทุจริต ไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาล
แท้จริงแล้วการนำปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ก็มีเหตุผลเดียวกันกับการนำรัฐวิสาหกิจอื่นเข้าตลาดหุ้น
1 รัฐต้องการเงินมาขยายธุรกิจ
การนำหุ้นเข้าตลาดหุ้น ถึงแม้ว่าจะเสียความเป็นเจ้าของไปส่วนหนึ่ง แต่ก็ทำให้เงินก้อนใหม่เข้ามาใช้ในการขยายกิจการต่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่รัฐมักจะมีรายรับไม่พอกับรายจ่ายส่งผลให้ไม่สามารถหาเงินไปเยียวยาธุรกิจในเครือของรัฐบาลได้
การยอมเสียความเป็นเจ้าของบางส่วนไปก็ยังดีกว่าปล่อยให้ธุรกิจล้มและสูญเสียกิจการทั้งหมด
1
2 รัฐต้องการเงินมาสร้างความมั่นคงของชาติ
การเอารัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหุ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสที่รัฐจะหาเงินได้ เพราะเมื่อหุ้นอยู่ในตลาดหุ้น รัฐก็สามารถขายให้กับประชาชนหรือผู้ที่สนใจลงทุน และนำเงินที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวไปใช้ในการพยุงเศรษฐกิจได้
1
3 รัฐต้องการความโปร่งใส ข้อดีอย่างยิ่งข้อหนึ่งของการเข้าตลาดหุ้นคือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความโปร่งใส เนื่องจากทันทีที่หุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
บริษัทก็จะถูกควบคุมดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งมีกฎระเบียบยิบย่อยมากมาย
และการมีผู้ถือหุ้นรายย่อยก็จะทำให้เกิดการตรวจสอบและโปร่งใสเพื่อให้เกิดความเสมอภาค
8
4 รัฐต้องการการบริหารธุรกิจแบบเอกชน
การแปรสภาพรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับการพัฒนาองค์กรอย่างมาก เนื่องจากการมีผู้ถือหุ้นอื่นที่ไม่ใช่รัฐจะทำให้เกิดสภาพคล้ายเอกชนที่มีการจัดการที่ดีขึ้น
รวมไปถึงแสวงหาการเติบโตที่มากกว่า โครงสร้างองค์กรเอื้อให้กับการบริหารแบบเอกชนมากขึ้น และลดอำนาจจากภาคการเมืองลงให้มากที่สุด
4
ทั้งนี้นาย บรรยง พงษ์พานิช ได้ให้ความเห็นในการเข้าสู่ตลาดหลักทรพย์ของปตท.ไว้ว่า
2
นาย บรรยง พงษ์พานิช ผู้คร่ำหวอดในวงการตลาดหลักทรัพย์
"ผมขอยืนยันว่า การขายหุ้น IPO ของ ปตท.ในปี 2544 กระทำอย่างโปร่งใส อย่างมืออาชีพ ไม่ได้มีเรื่องสกปรกตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด
หุ้น IPO ของ ปตท. โดยขายหุ้นทั้งหมด 920 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200 ล้านบาทในครั้งนั้น มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจไทย ในประเด็นดังต่อไปนี้
5
1. ปตท. ได้รับเงินไปเสริมฐานะ สามารถปรับโครงสร้างหนี้บริษัทลูกต่างๆ ได้
แถมมีเงินพอที่จะเข้าซื้อกิจการเอกชนอื่นๆ ที่มีปัญหา เช่น โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี ทำให้ขยายตัวเป็นกิจการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นกิจการระดับโลก มีขนาดใหญ่กว่าปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ที่เคยใหญ่ที่สุดในไทยถึง 3 เท่าตัว
2
2. การเข้าตลาดหลักทรัพย์ทำให้ ปตท. มีการปรับปรุงระบบบริหาร เข้าสู่มาตรฐานสากล มีนักลงทุนทั่วโลกคอยติดตามตรวจสอบ รวมทั้งเป็นแรงกดดันให้พัฒนาก้าวหน้าตลอดเวลา
1
3. การขยายตัวของกลุ่ม ปตท. ทำให้ไทยมีความมั่นคงและเสถียรภาพด้านพลังงาน ต่อเลยไปจนถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) ด้านปิโตรเคมี ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลัก
1
4. ทำให้ตลาดทุนไทยพลิกฟื้นกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกใหม่ ในฐานะที่ทำงานอยู่ในตลาดทุนไทยมากว่าอย่างยาวนาน ผมกล้าพูดเลยว่า
ถ้าไม่มีการเข้าตลาดฯ ของ ปตท. ตลาดหุ้นไทยจะไม่มีวันนี้ จะไม่ได้กลับมาเป็นกลไกหลัก เป็นแกนในการรวบรวมจัดสรรทรัพยากรให้ระบบเศรษฐกิจเช่นทุกวันนี้
หลังวิกฤติตลาดหุ้นไทยซบเซาอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อธนาคาร 4 แห่งเพิ่มทุนได้แล้ว นักลงทุนผิดหวังขาดทุนทั่วหน้า
2
ตลาดไทยแทบนับได้ว่าตายจากไปจากวงจรตลาดทุนโลก ในปี 2544 ก่อนขายหุ้น SET Index ตกต่ำที่ 280 Market Cap มีแค่ 1.5 ล้านล้าน ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยแค่วันละ 6,300 ล้านบาท
เพราะ ปตท. เข้าตลาด จึงปลุกตลาดหุ้นขึ้นมาใหม่ จนปัจจุบัน SET Index 1,350 Merket Cap 12 ล้านล้าน ซื้อขายกันวันละกว่า 30,000 ล้านบาท”
5
ซึ่งถือว่าหักล้างวาทกรรมดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ นางสาวรสนา โตสิตระกูล เตือนปตท. ควรรอบคอบ
แม้เวลาผ่านไปอย่างเนินนาน วาทกรรมดังกล่าวก็ยังวนเวียนมาอยู่เสมอ กลับมาในเวลาปัจจุบัน หุ้น OR ทำการให้เปิดจองหุ้น IPO
3
นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร และนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ร่วมกันทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แนะนำเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นบริษัทค้าน้ำมันและค้าปลีก ว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบเสียก่อน
เพราะยังมีมีข้อพิพาทที่ยังไม่ยุติเกี่ยวกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด และอาจผิดหลักกฏหมายได้ ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบเสียก่อนนั้น
2
นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR
เรื่องดังกล่าว นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ชี้แจงในกรณีดังกล่าวว่า
ขอระบุว่าที่ผ่านมาการปรับโครงสร้างของ ปตท.ด้วยการแยกธุรกิจออกมาเป็นบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก(OR) ซึ่งเตรียมจะขายหุ้นไอพีโอในเดือน ก.พ.64 ได้ดำเนินการอย่างรอบคอบที่สุด
5
โดยการโอนธุรกิจจะไม่มีสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายังธุรกิจโออาร์ และราคาจ่ายซื้อธุรกิจจาก ปตท.ด้วยราคามูลค่าตลาด (Fair Market Value)
โดยมีผู้ประเมินราคาอิสระ และที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เป็นผู้ประเมินราคา
แม้ผ่านไปแล้วถึง 20 ปี วาทกรรมดังกล่าวก็ยังไม่หายไป ไม่แปลกที่จะมีฝ่ายตั้งข้อสงสัย แต่หากข้อสงสัยต่างๆ นั้นมีคำตอบให้คลี่คลาย เรื่องทุกอย่างก็จะค่อยๆ กระจ่างขึ้น
3
ทุกเรื่องจะมีคำตอบ เพียงแต่ "เราต้องช่วยกันนำความจริงออกมา" ให้มากที่สุด
โฆษณา