24 ม.ค. 2021 เวลา 17:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แสงแดดและผืนน้ำ อนาคตพลังงานหมุนเวียนกับการต่อสู้ปัญหาโลกร้อน
และไม่ต้องกังวลเรื่องการแย่งใช้พื้นที่ทำการเกษตรเพราะโซล่าฟาร์มแบบทุ่นลอยใช้พื้นที่บนผิวน้ำแทนผืนดิน
1
โซล่าฟาร์มลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธร
พลังงานแสงอาทิตย์อนาคตของพลังงานสะอาดความหวังที่จะมาช่วยสู้โลกร้อน หลังจากที่ราคาเริ่มลดลงจนอยู่ในระดับที่จะสามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้อย่างที่สามารถจูงใจนักลงทุน
1
แต่ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์หรือที่เรารู้จักกันในรูปแบบของโซล่าฟาร์มนั้นก็ยังมีประเด็นให้ถกเถียงกันอยู่
หากเราไปตั้งโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เหล่านี้ในบริเวณพื้นที่แห้งแล้งอย่างทะเลทรายก็ถือเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
โซล่าฟาร์มกลางทะเลทรายก็ดูเหมาะดี ใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่
กลับกันถ้าเป็นบ้านเราจะมาทำโซล่าฟาร์มเต็มทุ่งนาก็ดูจะเป็นการใช้พื้นที่ที่ดูจะไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่เพราะยังไงบ้านเราก็เป็นประเทศเกษตรกรรม ในนาก็ควรจะมีข้าวถ้าติดแผงโซล่าเซลล์บังแดดหมดข้าวก็คงไม่งาม
นี่จึงเป็นประเด็นถกเถียงถึงเรื่องการใช้พื้นที่เกษตรกรรมเพื่อไปทำโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเกษตรกรรมอย่างบ้านเรา
1
ถางป่าหรือใช้ผืนนาติดแผงโซล่าเซลล์คุ้มกันไหม?
จึงเป็นที่มาของแนวคิดการนำแผงโซล่าเซลล์ไปติดไว้กับทุ่นลอยแล้วเอาไปลอยไว้กลางน้ำ อย่างเช่นบนอ่างเก็บน้ำหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า Floating Solar
1
ทั้งนี้การติดแผงโซล่าเซลล์เหนือน้ำนั้นมีข้อดีอยู่หลายอย่าง เช่น
- อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ตัดปัญหาการแย่งใช้พื้นที่ทำการเกษตร
- แผงโซล่าเซลล์อยู่ใกล้น้ำเป็นการช่วยลดความร้อนให้กับแผงทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้น ทั้งนี้ปกติเมื่อแผงโซล่าเซลล์ตากแดดนาน ๆ จะทำให้ร้อนและความสามารถในการผลิตไฟฟ้าลดลง
- การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้บนผิวน้ำของอ่างเก็บน้ำจะช่วยลดการเกิดสาหร่ายหรือตะไคร่น้ำ ช่วยลดปัญหาน้ำเสียที่จะเกิดในอ่างเก็บน้ำหากมีตะไคร่มากเกินไป
Floating Solar ซึ่งใช้พื้นที่ในบ่อเก็บน้ำของเอสซีจี เคมิคอลส์ โปรเจคนำร่องของ SCG มีกำลังผลิตกว่า 1 เมกะวัตต์
แต่ข้อจำกัดของ Floating Solar ก็มี อย่างประการแรกก็เรื่องราคาเพราะต้องมีส่วนประกอบของทุ่นลอยซึ่งปัจจุบันยังคงมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนของ Floating Solar ยังคงสูงกว่า Solar Farm
1
รวมถึง Floating Solar นี้ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ เพราะว่าต้องอาศัยแหล่งน้ำหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ไม่เหมือนอย่าง Solar roof ที่ติดบนหลังคาหรืออาคารได้
ติดบนผิวน้ำต้องติดบนทุ่นยึดติดกันเป็นแผงขนาดใหญ่
สำหรับความคืบหน้าการพัฒนาโซล่าฟาร์มลอยน้ำในบ้านเรานั้นเริ่มมีความคืบหน้า โดยหน่วยงานหลักในการพัฒนาก็คือ กฟผ. ซึ่งรับนโยบายมาจากกระทรวงพลังงานในการเพิ่มกำลังการผลิตด้วยโซล่าฟาร์มลอยน้ำกำลังการผลิตกว่า 1,000 เมกะวัตต์
โดยอาศัยความร่วมมือกับ SCG ในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทุ่นลอยเพื่อให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้
โปรเจคนำร่องของ SCG มีกำลังผลิตกว่า 1 เมกะวัตต์
จนถึงวันนี้โครงการโซล่าฟาร์มลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธรของ กฟผ. ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ นั้นมีความคืบหน้าแล้วกว่า 80% และคาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบได้ภายในกลางปีนี้
เมื่อผลิตไฟฟ้าได้โซล่าฟาร์มลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธรนี้จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดทุ่นลอยน้ำที่ผลิตไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีขนาดกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดในโลก
กำลังจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดทุ่นลอยน้ำที่ผลิตไฟฟ้าร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานหรือเรียกว่า ระบบไฮบริด เพื่อลดข้อจำกัดของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่การผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยการพัฒนาระบบควบคุมและบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS)
โดยระบบ EMS นี้จะใช้บริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งสองชนิดอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องยาวนาน และเสริมความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ
อีกมุมของโซล่าฟาร์มลอยน้ำที่เขื่อนสิรินธร
โดยโครงการมีขอบเขตพื้นที่ประมาณ 760 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ผิวน้ำไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้งหมด แผงโซลาร์เซลล์จะติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ บนพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 450 ไร่
ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์เป็นชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) สามารถทนต่อความชื้นสูงได้ดี ทำให้ไม่มีสิ่งปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ นอกจากนี้ทุ่นลอยน้ำเป็นชนิด HDPE (High Density Polyethylene) ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับท่อส่งน้ำประปาจึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำ
ภาพแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร
เมื่อแล้วเสร็จโครงการนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ได้ประมาณ 47,000 ตัน/ปี หรือคิดเป็นพื้นที่ป่าประมาณ 37,600 ไร่
และถ้าหากสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดทุ่นลอยน้ำนี้ให้มีกำลังผลิตได้ถึง 1,000 เมกะวัตต์ตามแผนจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 20 เท่า
ก็หวังว่าให้มีอีกเยอะ ๆ ในเร็ววันนี้
ทั้งนี้นอกจากพื้นที่ในเขตเขื่อนของ กฟผ. แล้วยังมีอ่างเก็บน้ำอีกหลายแห่งทั่วประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยนี้
ซึ่งก็ต้องรอให้การพัฒนาตัวทุ่นลอยให้มีราคาที่จูงใจนักลงทุนให้มากกว่านี้ก็น่าจะทำให้เราสามารถเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้อีกมากโดยไม่ต้องไปแย่งใช้พื้นที่ทำการเกษตร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา