30 ม.ค. 2021 เวลา 16:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โลกกำลังร้อนถึงจุดเดือดแล้ว!! เราจะทำยังไงดี??
งั้นลองกางร่มให้กับโลกดูไหมละ โดยอาศัยหลักการเดียวกับเวลาที่โลกมืดจากฝุ่นควันภูเขาไฟหรือตอนถูกอุกกาบาตชนโลกนั่นเองและไอเดียนี้ บิลเกตต์ ซื้อ!!
1
บิลเกตต์ มหาเศรษฐีที่ผันตัวเองมาเป็นผู้สนับสนุนหลักคนหนึ่งในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
โดยไอเดียที่ฟังดูสุดโต่งนี้ถูกนำเสนอโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กับแผนในการสร้างม่านกั้นแสงอาทิตย์บนบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่ดูเหมือนว่ามนุษยชาติกำลังเดินหน้าเข้าสู่จุดที่ไม่อาจย้อนกลับได้ในการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน ด้วยความพยายามต่าง ๆ ที่ทำไปเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นดูจะห่างจากเป้าที่วางไว้ชนิดที่แทบไม่มีหวัง
แม้ล่าสุด อีลอน มัสก์ ประกาศลงขันเพิ่มเงินรางวัลสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศกว่า 100 ล้านเหรียญฯ ก็ตาม
ดังนั้นจึงเป็นที่มาของไอเดียการนำสารเคมีขึ้นไปโปรยในชั้นบรรยากาศระดับสูง และให้ทำปฎิกิริยากับก๊าซในบรรยากาศชั้นสูงเกิดเป็นหมอกที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนออกไปก่อนที่จะส่องลงมายังพื้นโลก
คอนเซปดังกล่าวถูกเรียกว่า Solar Geoengineering หลักการก็คือการใช้เครื่องบินจำนวนหลายพันเที่ยวบินขึ้นทำการบินไปยังบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์และทำการโปรยละอองสารเคมีที่จะทำหน้าเป็นม่านควันคลุมโลกเอาไว้ให้เย็นลง
Solar Geoengineering Concept
ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการที่ฝุ่นหมอกควันจากการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุ่นแรงทำให้เกิดสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันในพื้นที่ใกล้เคียงกับภูเขาไฟ หรือบางครั้งอาจส่งผลต่อสภาวะอากาศโลกไปเป็นเวลาหลายปีเลยทีเดียว
2
ย้อนกลับไปใน 1991 เมื่อครั้งภูเขาไฟปินาตูโบระเบิดที่ฟิลิปปินส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 7,000 ราย และผู้คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย 30,000 คน
1
นอกจากความเสียหายดังกล่าวแล้ว ปินาตูโบยังพ่นฝุ่นควันภูเขาไฟและเถ้าซัลเฟอร์หนักกว่า 20 ล้านตันขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
ภาพการระเบิดของภูเขาไฟปินาตูโบ
สร้างวงรัศมีฝุ่นควันกว้างกว่า 1,600 กิโลเมตร สะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์กลับไปอย่างน้อย 2% ยังผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 1992 ต่ำกว่าปี 1991
นี่คือตัวอย่างของปรากฏการณ์ที่เรียกว่าฤดูหนาวนิวเคลียร์ที่ทำให้ไดโนเสาร์ต้องสูญพันธ์ุไปจากผืนพิภพจากผลของอุกกาบาตยักษ์ที่ตกใส่โลกส่งให้ฝุ่นหมอกควันจำนวนมหาศาลลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกอยู่ในภาวะฤดูหนาวนิวเคลียร์เป็นเวลานานหลายปี
2
มาวันนี้ด้วยทุนสนับสนุนกว่า 20 ล้านเหรียญฯ (ซึ่งมี บิลเกตต์ ผู้ก่อตั้ง Microsoft ร่วมลงขันด้วย 10 ล้านเหรียญฯ) ทีมนักวิจัยก็พร้อมแล้วกับการเริ่มทดลองโครงการ Stratospheric Controlled Perturbation Experiment หรือ SCoPEx
1
ซึ่งเป็นการทดลองเพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนและผลกระทบจากกระบวนการโปรยสาร aerosols ในชั้นบรรยากาศสำหรับการทำ solar geoengineering ในอนาคต(หากทุกภาคส่วนเห็นพ้อง)
solar geoengineering ถูกและดี?
และผลที่ได้นี้จะถูกนำมาใช้ปรับข้อมูลให้กับแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อทำนายผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการทำ solar geoengineering ให้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้มากขึ้น
โดยก่อนหน้านี้ผลการวิเคราะห์ในแบบจำลองคอมพิวเตอร์พบว่าการทำ solar geoengineering จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก อาทิเช่น จีนและอินเดียอาจจะต้องเผชิญกับมรสุมรุนแรงขึ้น หรือพื้นที่บางส่วนของโลกที่ต้องเผชิญภาวะฝนแล้ง
รวมถึงการที่เราอาจจะไม่ได้เห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าอีกต่อไป เพราะสาร aerosols จะลดการกระเจิงของแสงสีแดงและส้มจนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีขาว
ทั้งนี้การทำการทำ solar geoengineering นั้นคนส่วนใหญ่กลับเห็นด้วย โดยเหตุผลจูงใจหลักคือมันเป็นวิธีที่มีราคาถูก
1
เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของแต่ละวิธี
เพราะ solar geoengineering มีค่าใช้จ่ายเพียง 2,250 ล้านเหรียญฯ ต่อปี (ในช่วง 15 ปีแรก) เมื่อเทียบกับต้นทุนกว่า 2 ล้านล้านเหรียญฯ เพื่อให้มีแหล่งพลังงานสะอาดที่เพียงพอจะทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
ไม่ต้องไปพูดถึงเทคโนโลยีการดักจับก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ ซึ่งปัจจุบันมีต้นทุนที่ตันละ 200 เหรียญฯ
แต่ราคาที่ถูกก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะถ้าเกิดผลผิดพลาดนั่นอาจหมายถึงหายนะที่อาจจะจบประวัตศาสตร์ของมนุษยชาติได้เลยทีเดียว
พลาดขึ้นมาก็ซื้อตั๋วขึ้นรถไฟขบวนนี้ให้ทันละกัน
ดังนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์จึงต้องทำการทดลองเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ชัดเจนเพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นจาการทำ solar geoengineering
ถ้าจะทำต้องทำแค่ไหนถึงจะพอดี นี่คือคำถามที่ทุกคนคงจะสงสัยต้องหากในอีก 10 ปีข้างหน้าต้องมีการกางร่มบังแดดให้กับโลกเพื่อลดโลกร้อน
SCoPEx มีแผนที่จะทำการปล่อยบอลลูนเหนือประเทศสวีเดนขึ้นไปที่ระดับสูง 10 กิโลเมตรจากพื้นก่อนทำการปล่อยสารเคมีสะท้อนแสงอาทิตย์ อาทิเช่น แคลเซียมคาร์บอเนตหรือซัลเฟต
1
รูปจำลองการทดลองของ SCoPEx
โดยบอลลูนจะบินปล่อยสารเคมีเป็นระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตรกว้างประมาณ 100 เมตร และเมื่อโปรดเสร็จบอลลูนจะลอยขึ้นเหนือบริเวณที่โปรยสารเคมีและทำการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราห์ผลของการทำ solar geoengineering
1
ทั้งนี้ความท้าทายยังมีอีกหลายประเด็นในการพัฒนา solar geoengineering เพราะการจะกางร่มให้กับโลกนั้นจะต้องนำสารเคมีไปโปรยที่ความสูงประมาณ 20 กิโลเมตร
เพดานบินของเครื่องบินประเภทต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีเครื่องบินลำไหนที่มีเพดานบินสูงขนาดนั้น แต่ทีมนักวิจัยเชื่อว่าการพัฒนาเครื่องบินที่มีความสามารถทำการบินที่เพดานบิน 20 กิโลเมตรนั้นไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้
และอีกเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาให้ได้ก่อนคือการออกแบบหัวฉีดสารเคมีที่จะกระจายสารเคมีปริมาณมากเป็นวงกว้างต่อเที่ยวบินให้ได้
1
การออกแบบหัวฉีดสารเคมีก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย
SCoPEx มีแผนการทดลองโดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งจะเป็นก้าวแรกของการเก็บข้อมูลเพื่อไว้วันข้างหน้าอาจจะเป็นคำตอบของการต่อสู้ภาวะโลกร้อนที่เรากำลังตามหา
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา