4 ก.พ. 2021 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
ทุกคนกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า?
รู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียตลอดเวลา
เริ่มเกลียดงานตัวเอง
คิดว่าทำงานได้ไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน
หากสำรวจตัวเองแล้วคิดว่ามี นี่ก็อาจเป็นสัญญาณว่าเรากำลังมีอาการ Burnout หรือหมดไฟในการทำงาน
#Burnoutคืออะไร?
องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า Burnout คืออาการที่เกิดจากความเครียดสะสมจากงานที่ไม่ได้รับการบรรเทาหรือรักษา โดยทั่วไปจะแสดงอาการ 3 รูปแบบอย่างที่บอกไปคือ
1) รู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนแรง
2) รู้สึกเกลียด ห่างเหิน หรือมีความรู้สึกในแง่ลบกับงาน
3) ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ความเครียดที่ทำให้เกิดการ Burnout มักมาจากงานเป็นหลัก แต่นิสัยที่ชอบมองโลกในแง่ร้ายหรือความเป็น Perfectionist ก็ส่งผลได้เช่นกัน
1
คนเราพอเรียนจบเข้าสู่วัยทำงานก็ต้องใช้เวลาส่วนมากไปกับการทำงาน แต่หากเราเกลียดงานที่ตัวเองทำจนไม่มีความสุขเวลาทำงานเลยแม้แต่น้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเราในระยะยาวได้ หากไม่ได้รีบจัดการอย่างทันท่วงที
มาดูกันว่า Burnout 5 ระยะมีอะไรบ้างและตัวเองอยู่ในระยะไหนแล้ว
1
#ระยะโปรโมชั่น
1
เวลาเราเริ่มงานใหม่ เราก็มักจะเริ่มด้วยพลังที่ยังล้นเหลือ เรายังรู้สึกพึงพอใจกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ขึ้นชื่อว่าการทำงาน ยังไงเราก็ยังต้องเจอกับความเครียดบ้าง ถ้าเราจัดการกับความเครียดในระยะนี้ได้ดี เราก็จะสามารถป้องกันไม่ให้ความเครียดของเราสะสมในระยะยาวจนทำให้เราหมดไฟได้
1
อาการทั่วไปของระยะนี้:
1
พึงพอใจกับงาน / ตั้งใจทำงาน / พลังงานและความคิดสร้างสรรค์ล้นเหลือ / ประสิทธิภาพการทำงานสูง / มองโลกในแง่ดี
#สนใจแต่งาน
ระยะที่สองเป็นระยะที่เราให้ความสำคัญกับงานมากจนเริ่มละเลยชีวิตส่วนตัว เราจะเริ่มรู้สึกว่ามีบางวันที่หนักหนาสาหัสเป็นพิเศษเพราะต่อให้ทุ่มเทกับงานมากๆ ผลก็ยังไม่เป็นอย่างที่หวัง
อาการทั่วไปของระยะนี้:
สมาธิสั้น / หงุดหงิด / นอนน้อย / ไม่ค่อยเข้าสังคม / ไม่ค่อยใส่ใจดูแลตัวเอง
#เครียดจนก้าวร้าว
เมื่อก่อนเราอาจจะมีแพชชั่นเป็นแรงผลักดันให้เราทำงาน แต่หลังจากเห็นว่าความพยายามบางครั้งก็ไม่ออกดอกออกผล ความใส่ใจของเราก็จะลดลงจนอาจทำงานไม่ทันเดดไลน์หรือทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรจนทำให้เกิดความเครียดแทบทุกวันเวลาต้องทำงาน
อาการทั่วไปของระยะนี้:
ทำงานไม่ทัน / อ่อนเพลียทุกเช้า / ผลัดวันประกันพรุ่ง / รู้สึกควบคุมอะไรไม่ได้ / ก้าวร้าว / ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากขึ้น
#ว่างเปล่า
เมื่อประสิทธิภาพเราลดลง เราก็จะเริ่มสงสัยในความสามารถของตัวเองหรือถึงขั้นคิดว่าตัวเองไร้ความสามารถ ระยะนี้เป็นระยะที่ความก้าวร้าวเปลี่ยนเป็นความห่างเหิน เราจะไม่ได้รู้สึกหงุดหงิด แต่กลับรู้สึกว่างเปล่ากับชีวิต
อาการทั่วไปของระยะนี้:
คิดถึงแต่ปัญหาที่เจอทั้งในที่ทำงานและชีวิตส่วนตัว / มองโลกในแง่ร้ายตลอด / อยากหนีไปในที่ที่ไม่มีใครรู้จัก / ปวดหัวปวดท้องเป็นประจำ / ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง
#หมดไฟ
มาถึงจุดนี้ เราจะคิดว่าชีวิตเราหมดหวังโดยสิ้นเชิง เราจะมีทั้งปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตติดต่อกันเป็นระยะเวลานานไม่ใช่แค่บางครั้งบางคราว จึงเป็นระยะที่ต้องออกปากขอความช่วยเหลือจากคนอื่น
อาการทั่วไปของระยะนี้:
มีอาการซึมเศร้า / หมดไฟ / เหนื่อยล้าทั้งกายและใจ / ปัญหาสุขภาพกายเหมือนระยะที่สี่
เวลาหมดไฟ เรามักจะมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ใหญ่มากจนคิดว่าไม่มีทางผ่านมันไปได้ ทำให้บางครั้งเราเลือกที่จะไม่สนใจมันไปเลย เพราะยังไงก็ไม่มีทางชนะมันอยู่แล้ว แต่จริงๆ แล้วเราควบคุมความเครียดได้มากกว่าที่เราคิด และ Career Fact ก็ได้รวบรวมวิธีการรับมือกับอาการหมดไฟไว้ให้ที่นี่แล้ว
#เข้าหาคนรอบตัว
1
การเข้าสังคมคือยาแก้เครียดที่ธรรมชาติมอบให้เราฟรีๆ การได้พูดคุยกับคนที่พร้อมรับฟังเราเป็นวิธีที่ช่วยสงบสติอารมณ์และผ่อนคลายความเครียดได้เร็วที่สุดวิธีหนึ่ง คนที่รับฟังเราอาจจะไม่จำเป็นต้องช่วยแก้ปัญหาให้เราโดยตรงก็ได้ เขาแค่ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ใส่ใจสิ่งที่เราระบาย โดยไม่ตัดสินว่าปัญหาเราเล็กหรือใหญ่
3
#มองหาข้อดีของงาน
ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่ธรรมดาแค่ไหนก็ตาม อย่างน้อยการทำงานของเราก็ได้มีส่วนช่วยคนอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ได้ทำโปรดักต์ที่มีประโยชน์ต่อคนอื่น ได้ทำให้ใครสักคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือจะมองผลพลอยได้อื่นๆ ที่ได้จากงานนี้ก็ได้ เช่น เจอเพื่อนร่วมงานที่ถูกคอ มีของอร่อยแถวที่ทำงาน การเดินทางสะดวก
1
การเปลี่ยนมุมมองต่องานจะช่วยให้เราหาเหตุผลเจอว่าทำไมถึงยังทำงานนี้ต่อและช่วยลดความรู้สึกว่างเปล่าลงไปบ้าง
#ทบทวนความฝันและเป้าหมาย
สาเหตุหนึ่งที่หมดไฟนั้นเป็นเพราะเรารู้สึกว่าเราไม่รู้จะทำงานนี้ไปทำไม เราหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่เจอจนไร้แรงจูงใจในการทำงาน ดังนั้น คงต้องลองกลับมาทบทวนว่าเราเป้าหมายระยะยาวของเราคืออะไร? เราทิ้งความฝันไปหรือยัง? จริงๆ แล้วงานนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับทั้งเป้าหมายและความฝันก็ได้ แต่ความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่ทำให้เราลืมมันไป
1
#ออกกำลังกาย
คงไม่มีใครนึกอยากออกกำลังกายตอนที่ไม่มีแม้แต่แรงจะทำงาน แต่การออกกำลังกายนั้นมีส่วนช่วยที่ทำให้เราหายเครียดได้จริงๆ แค่เดินเล่น 10 นาทีก็ช่วยให้อารมณ์เราดีขึ้นถึง 2 ชั่วโมงแล้ว
2
#ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
อาจจะฟังดูเป็นคำแนะนำดาดๆ แต่ก็เหมือนก็เหมือนการออกกำลังกาย การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นมีผลต่อพลังกายและอารมณ์ของเราไปตลอดวันเลยจริงๆ
1
“Career Fact เพราะทุกอาชีพมีเรื่องราว”
#careerfact
………………
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ต่อได้ที่ Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว (อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเท้นท์ดีๆ)
Subscribe Career Fact - https://bit.ly/CareerFactYT
โฆษณา