27 ม.ค. 2021 เวลา 10:05 • ธุรกิจ
ทำอย่างไร...เมื่อเจ้านายเรียกไปรับเงินให้ออกจากงาน >>>
อันดับแรก ตั้งสติก่อนและพูดคุยกันด้วยเหตุผล ถ้านายจ้างจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานยังถือว่าในความโชคร้ายยังมีความโชคดี (อย่างน้อยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันให้เสียเวลา)
1
"จัดการภาษี เงินชดเชยให้ออกจากงาน อย่างไร"
ถัดมาคือ คุณอาจจะเจอคำถามจาก HR ว่า "จะเซ็นต์ลาออกเองมั้ย จะได้ไม่เสียประวัติ" ถ้าถามความเห็นผู้เขียน คือ อย่าเซ็นต์ลาออกเอง แต่ให้ HR ออกมาเป็นหนังสือเชิญออกพร้อมแสดงเหตุผล เช่น มีการปรับโครงสร้างใหม่ไม่มีตำแหน่งของเราในโครงสร้างใหม่ หรือ บริษัทขาดทุนจึงต้องปิดกิจการ เป็นต้น (ตามข้อเท็จจริง พร้อมระบุจำนวนเงินชดเชยไว้ในหนังสือ) ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ ผู้เขียนมองว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการหางานใหม่นะคะ
1
ทำไมผู้เขียนถึงไม่อยากให้เซ็นต์ลาออก? ก็เพราะการลาออกเองแล้วได้เงินชดเชยจะไม่ถือเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่จะนำมายกเว้นเงินได้
2
ตามกฎกระทรวง ฉ.126 ข้อ 2 (51) เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ได้รับยกเว้นเงินได้ค่าจ้างหรือเงินเดือน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 3 แสนบาท
การเซ็นต์ลาออกจากงานเอง แล้วได้รับเงินก้อนนึงจากนายจ้าง จะต้องนำเงินได้ทั้งก้อนที่ได้รับมารวมคำนวณกับเงินเดือนตามปกติ (เหมือนโบนัส) ซึ่งทำให้เสียภาษีเยอะกว่าการคำนวณแบบถูกให้ออกจากงาน (ในทางปฎิบัติสรรพากรจะขอดูเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินชดเชยด้วยว่าเป็นเงินชดเชยแบบใด เช่น เป็นหนังสือเชิญให้ออก หรือ เป็นหนังสือลาออกเอง)
2
วิธีการคำนวณ กรณีได้เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน (เหตุถูกให้ออกจากงาน) มีเงื่อนไขอยู่ว่าหากอายุงานถึง 5 ปี มีสิทธิเลือกแยกคำนวณภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่หากอายุงานไม่ถึง 5 ปี จะต้องนำมารวมคำนวณกับเงินเดือนตามปกติ
3
ตัวอย่าง วิธีการคำนวณ (เงินชดเชยออกจากงาน)
นายหล่อ ทำงานมา 10 ปี 30 วัน ได้เงินเดือนเดือนละ 8 หมื่นบาท แต่เนื่องจากพิษโควิด นายจ้างต้องปิดกิจการ จึงจ่ายค่าชดเชยให้นายหล่อตามกฎหมาย 10 เดือน 8 แสนบาท และนายหล่อได้ทำงานในปีที่ถูกให้ออกจากงาน ถึง สิ้นเดือน มิย.63
(ตามตัวอย่าง นายหล่อทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี มีสิทธิเลือกว่าจะนำเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานไปรวมคำนวณกับเงินเดือน หรือ แยกคำนวณ ก็ได้)
วิธีการคำนวณ (1.กรณีรวมคำนวณ)
เงินเดือน (80,000×6) 480,000 บ.
เงินชดเชยออกจากงาน 800,000 บ.
หัก ยกเว้นเงินได้ออกจากงาน (300,000) บ.
รวมเงินได้ 980,000 บ.
หัก ค่าใช้จ่าย50%ไม่เกิน 1 แสน (100,000) บ.
เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 880,000 บ.
หัก ลดหย่อน (60,000) บ.
เงินได้สุทธิ 820,000 บ.
คำนวณภาษี ได้ 79,000 บ. (ตามอัตราก้าวหน้า และยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บ. แรก)
1
"อัตราคำนวณวิธีที่ 1"
วิธีการคำนวณ (2.กรณีแยกคำนวณ)
(2.1) เงินเดือน (80,000×6) 480,000 บ.
หัก ค่าใช้จ่าย50%ไม่เกิน 1 แสน (100,000) บ.
เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 380,000 บ.
หัก ลดหย่อน (60,000) บ.
เงินได้สุทธิ 320,000 บ.
คำนวณภาษี ได้ 9,500 บ. (ตามอัตราก้าวหน้า และยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บ. แรก)
(2.2) เงินชดเชยออกจากงาน 800,000 บ.
หัก ยกเว้นเงินได้ออกจากงาน (300,000) บ.
เงินชดเชยหลังหักเงินได้ยกเว้น 500,000 บ.
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (70,000)
(7,000×10)
ค่าใช้จ่ายส่วนสอง (215,000)
(500,000-70000)×50%
รวมหัก ค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วน (285,000) บ.
เงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย 215,000 บ.
คำนวณภาษีได้ 10,750 บ.(ตามอัตราก้าวหน้าแต่ไม่ยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บ. แรก)(215,000×5%)
รวมภาษี 2.1 และ 2.2 เท่ากับ 20,250 บาท (9,500 + 10,750)
หมายเหตุ: (1)การคำนวณค่าใช้จ่ายส่วนแรก เอา 7,000 × อายุการทำงาน (ปี) (ถ้าเศษของปีถึง 183 วัน นับเป็น 1 ปี ถ้าไม่ถึง 183 วันให้ปัดทิ้ง)
(2) การคำนวณค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 เอา เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนแรก × 50%
ตามตัวอย่าง กรณีรวมคำนวณ เสียภาษี 79,000 บาท แยกคำนวณ เสียภาษีรวม 20,250 บาท
โดยปกติ การแยกคำนวณ เงินชดเชยออกจากงาน จะเสียภาษีน้อยกว่าการนำมารวมคำนวณกับเงินเดือน แต่ผู้มีเงินได้ควรทดลองคำนวณทั้ง 2 วิธี เปรียบเทียบกันและเลือกวิธีที่เสียภาษีน้อยที่สุดนะคะ
ในความโชคร้าย ก็ยังมีความโชคดีที่ได้เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และ ยังได้รู้วิธีเจรจา หากวันนั้นมาถึงจริงๆ ว่าเราควรรับเงินชดเชยแบบไหน เพื่อประหยัดภาษีมากกว่า จะได้เหลือเงินในกระเป๋าเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นนะคะ
1
สู้ๆ เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
Photo by Canva และภาพอัตราภาษีเงินได้จากกรุงเทพธุรกิจ
เพจ VI Style by MooDuang
(เพจเล็กๆ ที่จะส่งมอบข้อมูลภาษีดีๆ เพื่อผู้อ่านทุกท่านค่ะ แวะมาเพจนี้บ่อยๆ นะคะ) 🥰
โฆษณา