28 ม.ค. 2021 เวลา 12:01 • ความคิดเห็น
ประเทศไทย อันดับ 4 ของโลก รับมือโควิด-19 อย่างดีเยี่ยม: สถาบันวิจัยของออสเตรเลีย
ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นที่ 4 ของโลก จากเกือบ 100 ประเทศที่มีข้อมูลสาธารณะเข้าถึงได้ สำหรับการรับมือโควิด-19 โดยภาพรวม โดยจะดูจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึง จำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต และอัตราการตรวจพบเชื้อ โดยประเทศที่ได้อันดับสูงสุดคือนิวซีแลนด์ 94.4 จาก 100 คะแนน รองลงมาคือเวียดนาม 90.8 คะแนน ไต้หวัน 86.4 คะแนน และประเทศไทยที่ 84.2 ในขณะที่บราซิลถูกจัดให้อยู่อันดับต่ำที่สุด
2
ภาพทหารไทยใช่สุด PPE พร้อมอุปกรณ์ฆ่าเชื้อที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ 2am of 28 มกราคม 2021 (ภาพโดย Mladen ANTONOV / AFP)
สถาบัน Lowy ของออสเตรเลียระบุว่า “ดัชนีที่ใช้ชี้วัดบ่งบอกว่าประเทศต่างจัดการโรคระบาดได้ดีหรือได้แย่ขนาดไหน นับจากสัปดาห์ที่ 38 เมื่อมีตัวเลขผู้ติดเชื้อถึง 100 คน”
4
แม้บราซิลจะได้อันดับต่ำที่สุด แต่ก็มีประเทศที่ได้คะแนนต่ำไล่เรียงกันมา ไม่ว่าจะเป็น เม็กซิโก โคลอมเบีย อิหร่าน และสหรัฐฯ
3
บราซิลมีผู้เสียชีวิตแล้วเกินกว่า 220,000 แสนคน เป็นอันดับสองของโลก ตามหลังเพียงสหรัฐฯ ที่มีผู้เสียชีวิตแล้วราว 440,000 คน (นับเป็นถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลก)
2
รายงานระบุว่า ปีที่ผ่านมา ผู้นำชาตินิยมของบราซิลและสหรัฐฯ ต่างไม่ได้ให้ความสำคัญหรือไม่ได้มองว่าโควิด-19 จะร้ายแรง มีการล้อเลียนการใส่หน้ากาก ไม่เห็นด้วยกับการล็อกดาวน์ และผู้นำทั้งสองประเทศก็ติดเชื้อเสียเองด้วย
2
สถาบัน Lowy ระบุว่า ไม่ได้นำประเทศจีนมาจัดอันดับด้วย เพราะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทางสาธารณะได้
1
อย่างไรก็ตาม การระบาดครั้งนี้ ไม่มีใครเป็นผู้ชนะ เมื่อพูดถึงว่าระบบการเมืองแบบไหนที่ดีที่สุดที่เหมาะกับการจัดการโรคระบาด เพราะพูดได้ว่าการตอบสนองเป็นไปอย่างไม่กระตือรือร้น (lackluster) พอกันถ้วนหน้า
3
รายงานระบุว่า “บางประเทศจัดการการระบาดได้ดีกว่าประเทศอื่น แต่ประเทศส่วนใหญ่ชนะหรือแพ้กันที่ใครมีประสิทธิภาพในการรับมือต่ำกว่ากัน”
1
“เครื่องมือในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 อย่างคำสั่งที่ให้อยู่บ้าน การล็อกดาวน์ หรือการปิดชายแดน นั้นก็เป็นมาตรการที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้เหมือนๆ กัน แต่สิ่งที่สะท้อนธรรมชาติของระบบการเมืองในประเทศต่างๆ คือรัฐบาลนั้นๆ สามารถโน้มน้าวหรือบังคับให้ประชาชนทำตามมาตรการได้อย่างไร”
4
อย่างไรก็ตาม ประเทศขนาดเล็กที่มีประชากรน้อยกว่า 10 ล้านคน ดูจะได้เปรียบกว่า ด้วยสังคมที่มีความคิดแนวทางเดียวกัน (cohesive) และด้วยสถาบันต่างๆ ที่สามารถทำได้ดี
1
แต่ทำได้ดีแค่ไหน นับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2019 จนถึงตอนนี้ ทั่วโลกก็ติดเชื้อไปแล้วกว่า 101.5 ล้านคน และเสียชีวิตแล้วเกือบ 2.19 ล้านคน
เพิ่มเติม เวบต้นทางค่ะ
โฆษณา