31 ม.ค. 2021 เวลา 23:49 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
น้ำต้มกระดูกอร่อยเพราะมีกรดอะมิโนที่ชื่อ กลูตามิก
ใช่แล้วค่ะ ฟังไม่ผิด เพราะเมื่อเราต้มกระดูกเป็นเวลานานๆ ความร้อนจะทำให้โปรตีนในกระดูกเสียสภาพ ทำให้กรดอะมิโนถูกปล่อยออกมา โดยหนึ่งในนั้นคือ กรดกลูตามิก (L-Glutamic acid) และกรดกลูตามิกตัวนี้จะไปจับตัวกับต่อมรับรสบนลิ้น ทำให้เกิดรสชาติอูมามิที่อร่อยกลมกล่อมนั่นเองค่ะ
อูมามิเป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า อร่อย (เชื่อว่าหลายๆคนคงรู้นะคะ) และภาษาไทยคำที่ใกล้เคียงที่สุด คือ รสหวานน้ำต้มกระดูก หรือ รสกลมกล่อม นั่นเองค่ะ
เวลาที่เราต้มกระดูกนานๆ ถ้าทุกคนสังเกตุ จะเห็นฟองที่อยู่บนน้ำต้มกระดูก ลอยอยู่เต็มหม้อ ซึ่งฟองนี้เกิดจากลิโพโปรตีน (lipoprotein) พลาสม่าโปรตีนที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนในเลือด ที่เสียสภาพจากความร้อน จับตัวเป็นลิ่มแล้วลอยขึ้นด้านบน ถ้าปล่อยไว้ไม่ตักออก ฟองจะแตกตัวแล้วกระจายในน้ำซุป ทำให้น้ำซุปมีสีขุ่นนั่นเองค่ะ
2
ขอบคุณภาพจาก easycookingmenu.com
น้ำต้มกระดูกนอกจากจะอร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ด้วย เพราะกรดอะมิโนที่ถูกปล่อยออกมาหลังจากโปรตีนเสียสภาพ ทำให้ร่างกายนำไปใช้ง่ายขึ้น เช่น
ไกลซีน (glycine) ช่วยในการย่อย ช่วยควบคุมการทำงานของกรดน้ำดี
โพรลีน (proline) ทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ช่วยสร้างคอลลาเจนและฟื้นฟูเนื้อเยื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการโอบอุ้มน้ำให้แก่เซลล์และรักษาความยืดหยุ่นของผิวหนัง
ดังนั้น กินน้ำต้มกระดูกกันเยอะๆนะคะทุกคน โดยเฉพาะสาวๆ ผิวพรรณจะได้ดี😆😆
บางคนบอกว่า เอ้ะ! น้ำต้มกระดูกมันหวาน นั่นเป็นเพราะว่าหลังจากโปรตีนเสียสภาพ กรดอะมิโนบางส่วนจะถูกปล่อยออกมา หนึ่งในนั้นมี ไกลซีนและโพรลีน ซึ่งอะมิโนสองชนิดนี้จะทำให้เรารับรู้รสชาติหวาน ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ ถ้ามันจะหวาน
แต่คงไม่มีใครแปลกใจหรอก ถ้าที่กินอยู่มันอร่อย รสชาติแบบไหนก็กินหมดแหละ😂😂
#ความแตกต่างระหว่างน้ำสต๊อกกับซุปใส
น้ำสต๊อก คือ น้ำต้มกระดูกที่เคี่ยวเป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยไม่มีการปรุงรส
2
ซุปใส คือ น้ำต้มเนื้อสัตว์ ใช้เวลาการต้มสั้นกว่าน้ำสต๊อกและมักจะปรุงรสเพิ่มด้วย
ดังนั้นน้ำต้มกระดูกจึงถือเป็นอาหารที่ให้รสชาติอูมามิโดยธรรมชาติ
**ความรู้เพิ่มเติม**
กรดกลูตามิก คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบได้มากที่สุดในโปรตีน
กลูตาเมต คือ เกลือของกรดกลูตามิก เช่น มอโนโซเดียมกลูตาเมต หรือผงชูรส มีความสัมพันธ์กับการรับรส อูมามิ เพราะมีบทบาทสำคัญในสมอง โดยเป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาข้อมูลในกระบวนการส่งสัญญาณของระบบประสาท ในเซลล์ประสาทมีรีเซ็พเตอร์หรือตัวรับเป็นจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ตรวจว่ามีกลูตาเมต หรือไม่ รีเซ็พเตอร์ประเภทนี้มีอยู่มากบนลิ้น หากพบกลูตาเมตในอาหารแม้เพียงเล็กน้อยจะทำให้เกิดรสอูมามิเด่นขึ้นมาเหนือรสอื่นๆ
2
ขอบคุณภาพจาก https://becommon.co/life/ajinomoto-umami-world/
กลูตาเมตเป็นส่วนประกอบตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารแทบทุกชนิด
ขอบคุณภาพจาก www.ajinomoto.co.th
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา