2 ก.พ. 2021 เวลา 03:02 • หนังสือ
สรุปหนังสือ | หนังสือเสียง 16 | กลยุทธ์จุดกระแส The Tipping point โดย Malcolm Gladwell
ฟังไฟล์เสียงได้ที่ 👉🏻 https://youtu.be/W_h7B_EbTkg
หนังสือเล่มนี้ ในมุมมองความคิดของจูลคือเป็นหนังสือที่เข้มข้นมากๆและหายากมากด้วย ผู้เขียนยกงานวิจัยมากมายให้เราได้เห็นภาพ ได้เห็นตัวอย่าง ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเหตุการณ์แต่ละอย่างเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นหนังสือที่ต้องใช้สมาธิสูง หลุดไม่ได้แม้แต่นิดเดียวในมุมมองของจูลนะคะ กว่าจะสรุปเล่มนี้ออกมาได้ ยอมรับว่าต้องอ่านซ้ำหลายรอบ อาจเป็นเพราะ จูลไม่ได้เรียนมาทางสายการตลาด หนังสือเล่มนี้ทำให้เข้าใจถึงการเกิดกระแสต่างๆ พฤติกรรมของมนุษย์ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ได้ยังไง เพื่อนๆคงเคยได้ยินเพลง นุ่น เจน โบว์กันมาบ้างแล้ว (นุ่นค่ะ นุ่นค่ะ ..หนูชื่อนุ่น มากับเจนและมากับโบว์) หลายคนคงมีเสียงเพลงวนเวียนไปมาในหัว สลัดยังไงก็ไม่หลุด หรือ สินค้าบางอย่างเกิดฮิตขึ้นมาก มันเกิดขึ้นได้อย่างไร อาจไปเชื่อมโยงกับการแพร่ของโควิท19 ทำให้เห็นภาพได้มากขึ้นไปอีก จูลว่าเป็นหนังสือที่ควรอ่านมากๆ ในฐานะเจ้าของธุรกิจ หรือต้องการทำอะไรให้เป็นกระแส สามารถเอาไปปรับใช้ได้เยอะมาก ทำให้เรารู้ว่า ต้องทำอะไร ติดต่อใคร ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมยังไง หรือ ป้องกันการเกิดพฤติกรรมต่างๆได้อย่างไร
....แค่พลิกความคิด..ความฮิตบังเกิด
....ทำไมจุดเล็กๆที่คนมองข้ามถึงทำให้เกิดการลุกลามกลายเป็นกระแสได้ในชั่วข้ามคืน
การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และค่อยเป็นค่อยไป แต่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ..สำคัญที่สุด
....เราเรียกช่วงเวลาในการแพร่ระบาดที่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ สถานการณ์มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เรื่องที่ไม่คาดคิดเป็นจริงขึ้นมา ว่า จุดพลิกผัน
....ปัจจัยที่หนุนหลังการแพร่ระบาดที่สำเร็จ คือ ความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ยากเกินความสามารถ คนเราสามารถเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้หากจี้ถูกจุด
....ทำไมแนวคิดพฤติกรรม ผลิตภัณท์บางอย่างถึงสามารถแพร่ระบาดออกไปได้ แล้วเราจะจุดชนวนและควบคุมการแพร่ระบาดของเราได้อย่างไร
....การจุดชนวนการระบาดต้องจดจ่อไปยังองค์ประกอบสำคัญ คือ
ก. กฎว่าด้วยคนส่วนน้อย (ผู้เชื่อมโยง ผู้รู้ นักขาย)/ กลุ่มคนที่ต้องการแพร่กระจายข้อมูล
ข. ปัจจัยติดหนึบ
ค.พลังสิ่งแวดล้อม
กฎว่าด้วยคนส่วนน้อย : ผู้เชื่อมโยง ผู้รู้ นักขาย
....เป็นต้นตอการแพร่ระบาด แบบปากต่อปาก เป็นการจุดชนวนดึงดูดความสนใจเราไว้ได้ ต้องอาศัยคนกลุ่มนี้ (อย่าเสียเวลากับกลุ่มอื่น) ในฐานะโรคระบาด เพราะแนวคิด ผลิตภัณท์ ข้อความ และ พฤติกรรมต่างๆ ล้วนแพร่ระบาดได้แบบเดียวกับเชื้อไวรัส ติดต่อกันในระดับอารมณ์ ความรู้สึก ติดต่อกันง่าย
....สิ่งที่พิเศษคือ เพราะรู้จักคนมากมาย เป็นสมาชิกหลากหลาย ความชอบเข้าสังคม อาศัยเครือข่ายทางสังคม ความกระตือรือร้น บุคลิกภาพของต้นแบบ ความรู้สึกรู้จริง และ อิทธิพลที่พวกเขามีต่อคนรอบข้าง ทำให้สามารถกระจายข้อมูล แนวคิดอะไรสักอย่างไปทั่ว
คือ ....ผู้รู้ (Maben) ผู้เชื่อมโยง(Connector) นักขาย(Salesman) มีบทบาทสำคัญในพฤติกรรมปากต่อปากที่เป็นตัวกำหนดรสนิยม กระแส แฟชั่น ....(Law of the few) เหมือนกฎ 80/20 ว่าผลงาน 80% เป็นฝีมือ คน20%
....ผู้รู้เหมือนคลังข้อมูลที่หาข่าวสารมา (อะไรที่ทำให้ใครบางคนมีพลังโน้มน้าวใจ)
....ผู้เชื่อมโยง เหมือน สะพานที่ทำหน้าที่แพร่ข่าวสารให้กระจายในวงกว้าง
....นักขายมีทักษะโน้มน้าว เมื่อคนเกิดเคลือบแคลงข่าวที่ได้รับ
ผู้เชื่อมโยง
....การทดลองปรากฎการณ์โลกมันแคบ ของสแตนลีย์ มัลแกรม เป็นที่มาของทฤษฎี 6 ช่วงคน (Six Degree 0f separation) หากไล่เรียงความสัมพันธ์ จะมีชื่อที่ปรากฎซ้ำๆกันเหมือนเป็นตัวเชื่อมของเพื่อน เป็นจุดศูนย์กลาง คนประเภทนี้ เรียนว่า ผู้เชื่อมโยง
...เกณท์ที่ทำให้เป็นผู้เชื่อมโยง
1. รู้จักคนมากมาย มีพรสวรรค์ในการคบหาคน ซึ่งความสัมพันธ์จะเป็นแบบผิวเผิน รู้จักกันแบบเป็นมิตรแต่ไม่ลึกซึ้ง
2. ประเภทของคนที่เขารู้จัก ซึ่งความสามารถในการแทรกซึมไปทั่ว เป็นเพราะนิสัยใจคอ ความอยากรู้อยากเห็น ความมั่นใจในตัวเอง ทักษะทางสังคม ความกระตือรือร้น
3. เป็นคนเชื่อมโยงคนกลุ่มต่างๆเข้าด้วยกัน มีความสนใจในทุกคน (ส่วนใหญ่เลือกคนที่อยากทำความรู้จักและปฎิเสธคนที่คิดว่าคุยไม่รู้เรื่อง) รู้ว่า ต้องติดต่อใครในเรื่องไหน ใครเป็นคนสำคัญในพื่้นที่นั้น
....56% ได้งานเพราะคนที่รู้จักแบบผิวเผินแนะนำให้ เพราะเป็นโลกที่แตกต่างจากเดิมทำให้ได้รู้เรื่องที่คุณไม่รู้ เป็นจุดแข็งของความสัมพันธ์แบบผิวเผิน (The strength of weak ties)
....= คนรู้จักเป็นเหมือนขุมพลังทางสังคม ยิ่งมีคนรู้จักมากเท่าไหร่ ยิ่งมีอำนาจมากขึ้นเท่านั้น เพราะเราจะได้เข้าถึงโอกาสและโลกใบใหม่ที่เราไม่รู้จัก (คนที่สนิทสนมกันจะอยู่ในโลกใบเดียวกัน รู้เรื่องคล้ายๆกัน)
....คนที่ใกล้ชิดกับผู้เชื่อมโยง จะโดดเด่น ร่ำรวย มีโอกาสมากขึ้น แนวคิด / ผลิตภัณท์ที่สามารถเข้าถึงผู้เชื่อมโยงก็โดดเด่น มีโอกาสมากขึ้นเช่นกัน
....การแพร่ระบาดแบบปากต่อปากของจริง เช่น ไปทานอาหารประทับใจ ....เปิดคอม ค้นหาคนรู้จักที่อยู่ใกล้ร้าน ส่งข้อความเล่าเรื่องอาหารชั้นเยี่ยมและแนะนำให้ไปทาน...ไม่ใช่ผมแนะนำคุณ แล้วคุณไปบอกต่อเพื่อน
ผู้รู้ Maven
....นอกจากเราต้องพึ่งพาคนเชื่อมโยงกับคนอื่นแล้ว เราก็ต้องพึ่งพาคนที่เชื่อมโยงเรากับข้อมูลใหม่ๆ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องคน เรื่องข้อมูล ซึ่งอาจเป็นคนๆเดียวกันคือ ผู้รู้
....คือผู้สั่งสมความรู้ ถ้าความเป็นไปของตลาดขึ้นอยู่กับข้อมูล คนที่มีข้อมูลมากสุด ย่อมมีความสำคัญมากสุด เช่น ผู้รู้ตลาด
....คือคนที่มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับสินค้า ราคา สถานที่ ชอบกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยกันในหมู่ผู้บริโภค เป็นมากกว่าผู้เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญพูดเรื่องรถ เพราะรักรถ ไม่ได้ทำเพราะรักคุณ)
....แต่ผู้รู้ทำ เพราะแรงจูงใจของเขา คือปราถนาดีต่อคุณ คือ คนที่หาทางแก้ปัญหาของตัวเอง เพื่อจะได้ช่วยแก้ปัญหาให้คนอื่น เพื่อสนองความต้องการทางจิตใจของเขาด้วย
....ซึ่งมีวิธีการที่ใช้ถ่ายทอดความรู้นั้น เพราะต้องการช่วยเหลือจากใจจริง จึงดึงดูดความสนใจของคนรอบข้าง คนเชื่อในความเห็นที่เป็นกลางของผู้รู้ เป็นการอยากแบ่งปันความเห็นของตัวเอง แนะนำชัดเจนจนทุกคนทำตาม (อาจรู้จักคนน้อยกว่าผู้เชื่อมโยง) แต่ไม่อาจเป็นนักโน้มน้าวใจเพราะไม่อยากกดดัน คล้ายการเป็นครู เหมือนนักค้าข้อมูลที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองรู้กับคนอื่น
นักขาย
....ปัจจัยที่แบ่งแยกนักขายชั้นยอดออกจากนักขายทั่วไปคือ เขาเตรียมรวบรวมคำตอบสำหรับข้อโต้แย้งในรูปแบบต่างๆไว้แล้ว มีพลัง มีบางอย่างทำให้คนคล้อยตาม มีชีวิตชีวา กระตือรือร้น เสน่ห์ ความน่าหลงไหล ความสุข คิดบวก รายละเอียดเล็กน้อยเหล่านี้อาจสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวง
ทำไมมีพลังโน้มน้าวมาก
ก. ภาษากาย
....(ภาษากายมีความสำคัญที่เท่า / มากกว่าคำพูด) เช่น ผงกหัว ยิ้ม
....การโฆษณาทางโทรทัศน์มีประสิทธิภาพมากสุด ถ้าภาพที่ปรากฎกระตุ้นให้ผู้ชมเคลื่อนไหวในแนวดิ่งซ้ำๆ เช่น ภาพลูกบอลเด้งขึ้นลง....แค่การเคลื่อนไหวร่างกาย (ภาษากาย) ...การสังเกตเห็นอะไรบางอย่างเล็กน้อยก็ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของเราอย่างลึกซึ้ง
ข. พลังที่แนบเนียบจนเราไม่รู้ตัว
....เช่น การพยักหน้า การยิ้มเมื่อพูดถึงอีกคน เป็นพลังที่ไร้เหตุผล ไร้ความสำคัญ เพราะฉะนั้น จะฟังแค่คำพูดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูท่าทีด้วย
ค. จังหวะในการสื่อสาร
....(วิลเลียม คอนดอน) ในการสนทนา นอกจากการพูดและฟังแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นจังหวะ เพื่อเน้นย้ำ ขยายความสิ่งที่ผู้พูดพยายามสื่อ เหมือนผู้พูดและผู้ฟังกำลังเต้นรำไปด้วยกัน ระดับความดัง เสียงสูงเสียงต่ำจะเข้ากันอย่างดี คู่สนทนาจะปรับจังหวะการเคลื่อนไหว การพูด อารมณ์ ให้ประสานกันอย่างเป็นอัตโนมัติ
....การมีบุคลิกน่าเกรงขาม / น่าคล้อยตาม เกิดจากคุณสามารถกระตุ้นให้คนอื่นปรับเปลี่ยนจังหวะให้สอดคล้องกับคุณ จนคุณเป็นผู้ควบคุมจังหวะ
....ความเห็นอกเห็นใจ คือ การปรับอารมณ์ให้สอดคล้องกับคู่สนทนา เราเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกกันและกัน เพื่อแสดงความใส่ใจ ห่วงใย เช่น หากใช้ค้อนทุบนิ้วคนอื่น คนที่เห็นจะทำหน้าเหยเก
....การเลียนแบบคือวิธีที่ทำให้อารมณ์ความรู้สึกระบาดถึงกัน เป็นสิ่งที่ติดต่อกันได้ มีอิทธิพลมหาศาลต่อคนอื่น ผู้ส่งที่เก่งเรื่องการแสดงความรู้สึกมาก จึงแพร่เชื้อได้ดี
แบบจำลองการแพร่กระจาย....วิเคราะห์ว่าแพร่ไปที่ประชากรได้ยังไง
...กลุ่มผู้บุกเบิก...กล้าเสี่ยง วิสัยทัศน์กว้างไกล ต้องการเปลี่ยนแปลง ซื้อเทคโนโลยีใหม่สุดที่ไม่รอความสมบูรณ์แบบ (อาจเป็นบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งก่อตั้ง) ก้าวกระโด ความเสี่ยงคือโอกาส ความตื่นเต้น อยากแตกต่างจากคนอื่น
....กลุ่มนำสมัย....กลุ่มตามสมัย....รอบคอบ ขี้สงสัย ....กังวลความเปลี่ยนแปลงจะสอดคล้องกับเราหรือไม่ ค่อยเป็นค่อยไป วัดผล คาดการณ์ได้ ยอมรับความเสี่ยงเมื่อจำเป็น หาทางรองรับความเสี่ยง ไม่อยากแตกต่าง
....กลุ่มล้าสมัย ...ไม่มีเหตุผลที่ต้องรีบเปลี่ยน
1. เป็นล่ามแปลภาษา....ผู้เชื่อมโยง ผู้รู้ นักขาย ทำให้นวัตกรรมก้าวข้ามระหว่างกลุ่มได้เหมือนล่าม มาแปลภาษาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
.....ข่าวลือ เป็นข้อความที่แพร่กระจายได้ง่ายสุด ...เป็นการแปลความหมายของผู้เชื่อมโยง ผู้รู้ นักขาย เพื่อให้ตัวข้อความมีความหมายลึกซึ้ง ระบาดง่าย แปลเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
ถูกบิดเบือนได้ 3 วิธี
ก. ถูกตัดแต่งจนข้อมูลจริงไม่มี
ข. ถูกต่อเติมทำให้ข้อมูลที่มีมีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ค. กระบวนการตบให้เข้ารูป คือ ดัดแปลงให้ฟังดูสมเหตุสมผลมากขึ้นในความเห็นของคนกระจายข่าวที่มองว่าเป็นไปได้มากสุด ตามความรู้ของเค้า ยิ่งผ่านไปนาน ความจำจะยิ่งเอียงเข้าสู่สิ่งที่คุ้นเคย สอดคล้องกับวัฒนธรรม มีความสำคัญต่ออารมณ์ความรู้สึกเป็นพิเศษ จะตีความ ย่อความ แต่งเติมสิ่งที่รู้เพื่อให้มันสมบูรณ์ เรียบง่าย มีความหมายมากขึ้น
 
2. จับกระแสได้ตั้งแต่ช่วงแรก (เป็นเรื่องจังหวะเวลา) รู้ว่าอะไรจะกลายมาเป็นกระแส โดยจับตากลุ่มผู้บุกเบิก แนวคิดบางอย่างไม่สามารถก้าวไปกลุ่มอื่นได้ เพราะยังหยั่งรากลึกไม่พอในสังคม สัญญาณกระตุ้นน้อยไป เลือกแนวคิดมาจากผู้บุกเบิก ตัดแต่ง ต่อเติม ตบให้เข้ารูป มอบความหมายเฉพาะเจาะจง นำเสนอออกมาจนกลายเป็นแพร่กระจายไปทั่ว
....การบอกปากต่อปากสำคัญ ต้องใส่ใจรายละเอียดและรักษาชื่อเสียงดีๆเอาไว้
....การระบาดในบางเรื่อง เช่น การทำร้ายตัวเอง เป็นความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากเลียนแบบ อยากต่อต้าน การกระทำที่ไร้สติ เป็นการแสดงออกรูปแบบหนึ่ง
....ข่าวที่ออกมาเป็นการนำเสนอทางออกให้แก่ผู้ที่กำลังมีปัญหา เป็นการชี้ทาง เป็นการถ่ายทอดความทุกข์ยากของตัวเองให้โลกรับรู้
ปัจจัยติดหนึบ
ก. น่าจดจำ สลัดออกจากหัวไม่ได้ โดย การทำซ้ำๆและเชื่อมโยงกับสิ่งที่จำได้ เรียบง่าย
ข. กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
....คุณสมบัติที่ทำให้ข้อความประสบความสำเร็จคือ ความติดหนึบ ...ต้องดูว่า ข่าวสาร อาหาร ภาพยนตร์ ผลิตภัณท์ที่ต้องการเผยแพร่มีลักษณะน่าจดจำเปล่า แล้วน่าจดจำพอจะสร้างความเปลี่ยนแปลง และ กระตุ้นให้ใครสักคนลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างหรือไม่
....(Stickiness factor) เราคิดวิธีที่ทำให้ข้อความที่เราสื่อออกไปในวงกว้างมากที่สุด แต่สิ่งที่ยากสุดในการสื่อสาร คือข้อความที่ติดหนึบ หมายถึง ข้อความที่มีพลังน่าจดจำมาก จนคุณไม่สามารถสลัดมันออกจากหัวไปได้ และติดแน่นอยู่ในความทรงจำทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ (ซึ่งการจำได้ก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม /ซื้อผลิตภัณท์) มีวิธีทำให้ข้อความของเราเป็นที่จดจำอยู่หลายวิธี แค่เพียงปรับเปลี่ยนการนำเสนอและเรียบเรียง สามารถสร้างผลกระทบที่ทรงพลังมาก
.......เวลาอยากให้ใครจำคำพูดเราได้ ก็เน้นย้ำสิ่งที่พูด โดยใช้เสียงดัง และ พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก ... คนเราไม่มีทางจดจำ เรียนรู้ทุกอย่างได้จากการรับชมเพียงครั้งเดียว จึงต้องออกอากาศบ่อย (ทำทุกวัน) โดยแนวทางการจดจ่อและเจาะจง เชื่อมโยงกับสิ่งใกล้ตัว เป็นทางลัดที่ง่ายที่สุดกับทรัพยากรที่มีจำกัด ....มักเชื่อมโยงกับสิ่งกระตุ้น และ ปริมาณขั้นต่ำของพฤติกรรมนั้น ไม่ใช่ครั้งเดียวก็ติดได้เลย ....คนเกือบทุกคนอาจเคยลอง แต่ไม่ได้สนใจไปต่อ
...กฎทองในธุรกิจโฆษณา ต้องดูโฆษณาอย่างน้อย 6 รอบ ถึงจำได้ แต่ใช้งบเยอะ มีวิธีที่ง่ายกว่า แบบเนียนกว่า ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า คือ ขายตรง เป็นการเข้าถึงผู้บริโภค
.....แต่ปัญหาคือ การทำให้ผู้บริโภคยอมอ่านโฆษณา จดจำ และตัดสินใจซื้อ ถือเป็นปรมาจารย์ด้านความติดหนึบ
.....หัวใจของจุดพลิกผันคือเปลี่ยนวิธีการมองโลก การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อย ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง เหมือนพับกระดาษ 50 ทบ จะหนาพอๆกับ ระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก เรียกว่าอนุกรมเลขาคณิต คือผลลัพธ์สุดท้ายจะใหญ่กว่าต้นกำเนิดแบบผิดสัดส่วนสุดๆ....สัดส่วนการแพร่ระบาดจะยิ่งผิดปกติมากกว่าต้นตอมาก
....ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเริ่ม กับปัจจัยที่ทำให้เกิดการไปต่อ คนละปัจจัย
(การไปต่อ คือ ความพึงพอใจโดยรวมที่ได้รับจากประสบการณ์ครั้งนั้น)
....นักโฆษณาทั่วไปเชื่อว่า สิ่งที่ทำให้โฆษณาสำเร็จคือ อารมณ์ขัน องค์ประกอบโดดเด่น และ พรีเซนเตอร์คนดัง
....สิ่งที่ดึงความสนใจไว้ได้คือ ความรุนแรง แสงสีเสียง การตัดภาพอย่างฉับไว การซูมเข้าออก ฉากแอคชั่นเกินจริง ทำให้นั่งดูต่อ ....จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของโฆษณาคือ พูดถึงแค่ประเด็นเดียว
....ความยุ่งเหยิงของข้อมูล คือ มีโฆษณาเยอะ เป็นสาเหตุให้ข้อความติดหนึบยากขึ้นเรื่อยๆ (ยุคข้อมูลข่าวสารเป็นอุปสรรคต่อการติดหนึบ)
....ช่วงการมองเห็น (Perceptual span) ของดวงตามนุษย์ สามารถมองไปยังพื้นที่เล็ก เช่น เวลาอ่านหนังสือ จะรับรู้คำตรงหน้าพร้อมตัวอักษรทางซ้าย 4 ตัว และ ทางขวา 15 ตัว เพราะเซลล์รับภาพในดวงตา เรากระจุกตัวในพื้นที่เล็กๆ เรียกว่า โฟเวีย (Fovea) ตรงกึ่งกลางจดประสาทตา ถ้าเราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโฟเวียได้ ก็บอกได้ว่า เขากำลังมองอะไร รับรู้ข้อมูลประเภทไหน
....เด็กดู TV เมื่อเข้าใจเนื้อหา / เลิกดูเมื่อสับสน. มีวิจัยเด็กที่ดูTV อย่างเดียว กับเด็กที่ดูTV ไปเล่นไป เรียนรู้ได้พอกัน ...เด็กๆชอบดูเนื้อหาแต่ละช่วงไม่ยาวเกิน 4 นาที(ดีสุดคือ 3 นาที) ไม่ชอบการโต้เถียง ไม่ชอบคนหลายคนพูดพร้อมกัน เพราะทำให้สับสน
....เด็กๆ ยังไม่สามารถจัดระเบียบสิ่งต่างๆเป็นไปตามหลักของเหตุผล และ ความสัมพันธ์ เขาจึงจำเป็นเรื่องราว ...การทำให้เด็กติดหนึบ คือ ต้องมีส่วนร่วม และ การฉายซ้ำ (ปรากฎการณ์ เจมส์ เอิร์ล โจนส์) (James Earl Jones effect)
....การดูซ้ำของเด็กๆ จะได้รับประสบการณ์ที่ต่างจากเดิม โดยสิ่งที่ดูต้องมีความซับซ้อนมากพอที่เขาจะเข้าใจมากขึ้น แต่ไม่ทำให้งง....ไม่ออกแบบข้อความให้แปลกแนว แต่เป็นการตามหาของเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ดำเนินเนื้อเรื่องเนิบๆ ฉายซ้ำ ไม่ขู่ให้กลัว เดินไปที่ๆต้องการให้ไป
....พลังของบริบทแวดล้อม
ก. คุณลักษณะบางประการของสิ่งแวดล้อม ..กระตุ้นจากการเปลี่ยนอะไรเล็กน้อย เช่น กระจกแตก
ข. สถานการณ์ตรงหน้า
ค. การกระตุ้นด้วยคำพูด (การที่มีคนบอก กระตุ้นว่ามีอะไรข้างหน้า) เช่น รีบนะ เวลาน้อยนะ
ง. ประสิทธิภาพของคนในกลุ่ม
ค. ขนาดของกลุ่ม
จ. บทบาทของกลุ่ม
....(Power of Context) .... คนเราอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม สถานการณ์ตรงหน้า นิสัยใจคอ คนรอบตัว คนเราถูกโน้มน้าวชักจูงจากสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้อย่างง่ายดาย อ่อนไหวกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน ....เวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อการแพร่ระบาดมาก
....สิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนเรา ไม่ได้มีแค่สภาพอากาศ ยังมีปัจจัยเล็กน้อยซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ เช่น การใช้ชีวิตแบบห่างเหินในเมืองใหญ่ทำให้คนมีจิตใจที่แข็งกระด้าง และ ขาดความเห็นอกเห็นใจ เรียกว่า ปริศนาของผู้เห็นเหตุการณ์ (Bystander problem) (กรณีมีคนถูกแทง และมีคนเห็น ถึง 38คน แต่ไม่มีใครช่วยเหลือสักคน) ยิ่งอยู่กันเป็นกลุ่ม จะเกิดกระกระจายความรับผิดชอบ โดยคิดว่าจะมีใครสักคนจัดการปัญหา หรือไม่ก็มองว่า ไม่มีใครตื่นเต้นคงเป็นเรื่องปกติ
....ทฤษฎีการแพร่ระบาดของอาชญากรรมติดง่ายไม่ต่างจากแฟชั่น เช่น หน้าต่างแตก1 บาน ไม่มีคนซ่อม คนคิดว่าไม่มีใครสนใจ ไร้ระเบียบ ส่งสัญญาณให้คนอื่นรู้ว่าทำอะไรตามใจชอบได้
...มาจากคุณลักษณะบางประการของสภาพแวดล้อม เช่น สัญญาณของความไร้ระเบียบ (การขีดเขียนกำแพง การเบี้ยวค่าโดยสาร) ....การก่อเรื่องเล็กๆน้อยๆ ที่ดูไม่สำคัญส่งผลให้เกิดเรื่องใหญ่ๆตามมา (เหมือนมี1 ก็ต้องมี 2)
....คนที่มีเสน่ห์ สามารถเผยแพร่อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ให้ผู้อื่นในระหว่างการพบปะกันสั้นๆ โดยไม่พูดจาสักคำ คนดูได้รับอิทธิพลมหาศาล เช่น ผู้ประกาศข่าว นักชิม
....การทดลองเรื่องให้คนเป็นนักโทษและผู้คุม บ่งบอกว่าสถานการณ์มีพลังมหาศาลจนสามารถครอบงำนิสัยใจคอ แค่ปรับเปลี่ยนรายละเอียดเล็กน้อย สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมจากหน้ามือเป็นหลังมือ
....ความซื่อสัตย์ขึ้นกับสถานการณ์ตรงหน้า และ ความสัมพันธ์ที่มีต่อสถานการณ์ เพราะฉะนั้น เราจะพิจารณาแค่นิสัยใจคออย่างเดียวไม่ได้ เช่น คนนึงใจกว้างกับเพื่อน แต่ใจแคบกับครอบครัว ซื่อสัตย์ในชีวิตส่วนตัว แต่ลื่นไหลกับงาน
....นิสัยใจคอที่คนเราแสดงออกมาขึ้นกับสถานการณ์ เวลา คนรอบตัว ไม่ตายตัว เป็นผลรวมของความเคยชิน ความโน้มเอียง ความสนใจ ถูกกำหนดด้วยสภาพแวดล้อม
.....ที่เราดูเหมือนมีนิสัยคงเส้นคงวา เพราะเราควบคุมสภาพแวดล้อมได้ดี
....เพราะฉะนั้นคนเราตัดสินคนอื่นโดยนิสัยส่วนตัวอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูสภาพแวดล้อมด้วย ที่ดูนิสัยอย่างเดียวเพราะ ความคุ้นชิน เลยตีความแบบเหมารวม เช่น คิดว่า คนนั้นเก่งกว่า คิดว่าคนโน้นฉลาดกว่า แต่ไม่ได้ดูสภาพแวดล้อมเลย
....คิดว่าลำดับการเกิดมีความสำคัญต่อบุคลิก ว่า คนพี่แสดงอำนาจ คนน้องแหกคอก แต่เป็นการตีความแบบเหมารวม และ เข้าใจง่ายกว่า จึงไม่ไปพิจารณาอย่างอื่น ....พลังบุคลิกภาพ ...กรุยทางให้คนอื่นทำตาม เป็นอิทธิพลของภาษากาย
....ความเร่งรีบเป็นอีกอย่างเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ทำให้คนที่เห็นใจคนอื่นเพิกเฉย เมื่อเห็นคนเดือดร้อน
....เราพยายามทำให้แนวคิด ทัศนคติ ผลิตภัณท์ เกิดการพลิกผัน แพร่ระบาดออกไป คือ เราพยายามเปลี่ยนผู้คนในมุมเล็กๆ แพร่เชื้อใส่พวกเขา เปลี่ยนการต่อต้านมาเป็นการยอมรับ
....อาจทำโดยอาศัยบุคคลพิเศษ (กฎคนส่วนน้อย) ปรับแต่งข้อความให้น่าจดจำติดหนึบในหัว และ ผลักดันให้เขาลงมือทำ (ปัจจัยติดหนึบ) และ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยและเรียบง่าย
....หากเราเข้าใจเราสามารถเป็นฝ่ายกุมอำนาจ เช่น เราสามารถซ่อมหน้าต่างที่แตก เป็นการตัดไปแต่ต้นลม (รู้ว่าจะมีสิ่งนี้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบนี้ ให้จัดการที่ต้นเหตุก่อน)
....เด็กเติบโตมาเป็นคนอย่างไร ได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้าง และ ชุมชนมากกว่าคนในครอบครัว เด็กที่ครอบครัวมีปัญหาแต่อยู่ในชุมชนดี มีความประพฤติดีกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวดีแต่มีชุมชนที่มีปัญหา เพราะเด็กได้รับการหล่อหลอมจากสภาพแวดล้อม และ สิ่งที่เราพบเจอทุกวัน
....เพื่อนคือ อิทธิพลของสภาพแวดล้อม กำหนดบุคลิกภาพ สติปัญญา (ภาษาเป็นทักษะที่ได้มาจากสภาพแวดล้อม) เช่น การแบ่งปันประสบการณ์ทางอารมณ์ เป็นภาษาที่ใช้เพื่อแสดงออก เป็นพิธีกรรมของพวกเขา เพราะฉะนั้น ความคิดของผู้ใหญ่ที่ไปบ่น ด่า ว่า ไม่ได้ผล / ความพยายามของนักขายที่เข้าไปแทรกแซง
1
....บทบาทของกลุ่มที่มีต่อการแพร่ระบาดทางสังคม คือ เวลาให้ตัดสินใจเป็นกลุ่ม แตกต่างจากตัดสินใจตามลำพัง เพราะเราจะอ่อนไหวต่อแรงกดดันคนรอบข้าง บรรทัดฐานสังคม อิทธิพลอื่นๆ เพราะฉะนั้น หากต้องการการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ พฤติกรรม ของใครอย่างถาวรจนกลายเป็นแบบอย่างให้คนอื่นๆ ต้องสร้างชุมชนให้กับคนเหล่านั้น (หลักตัวเลข150)
....ขีดความสามารถในการรับข้อมูลทางสังคม ตัวเลข150 เป็นจำนวนสูงสุดที่คนเรามีความสัมพันธ์อย่างแท้จริง (หากมากกว่านี้เป็นอุปสรรคต่อการมีความเห็น พฤติกรรมที่ไปทิศทางเดียวกัน เป็นการจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงสุด...มากกว่านี้จะกลายเป็นคนแปลกหน้ากัน)
....การรู้จักกัน ไม่ใช่แค่ใครเป็นใคร แต่ต้องรู้ว่าแต่ละคนมีทักษะความสามารถ แรงปราถนา ชอบอะไร ทำอะไร อยากทำอะไร เชี่ยวชาญเรื่องอะไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร (ไม่ใช่แค่ว่าเขานิสัยดีไหม) เป็นการรู้จักเขาดีพอ เป็นการไว้วางใจกันแบบครอบครัว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (เข้าถึงเข้าใจจุดแข็งของแต่ละคน) เป็นระบบความจำร่วม คือ แนวคิด ความรู้สึก ข้อเท็จจริง
....การสร้างระบบร่วมในการทำงาน ทำให้การร่วมมือง่าย รวบรวมทีมแก้ปัญหา ขอคำแนะนำจากใคร หากรู้จักเขาดีพอ ก็จะไปหาคนนั้นได้เลย เป็นการทำให้แนวคิด ข้อมูลใหม่ ถึงจุดพลิกผันง่าย โดยกระจายจาก 1 ไปสู่ทั้งกลุ่ม โดยใช้ประโยชน์จากความจำร่วม และ แรงกดดันคนรอบข้าง เพราะความผูกพันในกลุ่ม
....กลุ่มคนที่เราห่วงหาอาทร จะมีประมาณ 12 รายชื่อ เพราะปัจจัยเรื่องเวลา ต้องทุ่มเทเวลา และ พลังอารมณ์ ใช้พลังใจมาก หากมากกว่านี้จะเป็นภาระ
....คู่รักเป็นการสร้างความจำร่วม หรือครอบครัว ว่าใครเป็นผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไหน เพราะสมองมีจำหัดจึงจดจ่อกับสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด
....จุดพลิกผัน ไม่ได้มีแต่อุปสรรค และ ความไม่แน่นอนเท่านั้น มีความหวัง แค่คุมขนาดของกลุ่มให้เหมาะสม ทำให้กลุ่มนั้นยอมรับแนวคิดใหม่ คนหาคนกลุ่มเล็กๆให้เจอ
....ถาม ...ถ้าเราอยากจุดชนวนการแพร่ระบาดและผลักดันให้มันไปถึงจุดผลิกผัน กลุ่มแบบไหนเหมาะสมกับภารกิจของเรามากสุด
....คนเรามีข้อจำกัดในตัว ในการรับรู้ของมนุษย์ ของสมอง เช่น จำเลขได้ประมาณ 7 หลัก แยกแยะความแตกต่างได้ 6-7ระดับ
เป็นไงบ้างคะ อ่านมาถึงตรงนี้ ตื่นเต้นเหมือนที่จูลตื่นเต้นหรือเปล่าคะ ได้แนวทางบางอย่างที่จะไปทำอะไรได้เยอะเลยนะคะ และเพื่อเข้าใจได้มากขึ้นกว่านี้ อย่าลืมไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านกันค่ะ
.
.
. เพิ่มการพัฒนาตัวเองวันละนิด
. เหมือนเติมวันละ 1 องศา
. 1 วัน อาจจะไม่มีอะไร
. 10 วันไม่มีความต่าง
. แต่ 100 วันล่ะ 1000 วันล่ะ
. จะเปลี่ยนแปลงไปโดยแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม
.
. มาพัฒนาวันละ 1 องศา
. เพื่อเติมเต็มวงล้อชีวิตให้สมบูรณ์ไปด้วยกัน
. ...กับเพจ #องศาที่หายไป
.
.
. 🪴🪴🪴🪴🪴🪴
👍🏻เลื่อนนิ้วโป้งกด Like กด Share ให้จูลสักนิด..เพื่อชีวิตที่มีกำลังใจให้จูลนะคะ..ขอบคุณค่ะ
⭐️ติดตามที่ Blockdit
❤️ติดตามที่ Youtube
🥰คุยกับจูลได้ใกล้ชิดมากขึ้น ที่Line ค่า (Add ไว้ จะได้ทราบข่าวสารอัพเดตค่า
#กลยุทธ์จุดกระแส #หนังสือ #หนังสือเสียง #พัฒนาตนเอง #การตลาด #พฤติกรรม #กระแส #ติดตลาด #ฮิต #องศาที่หายไป #วันละ1องศา #วันละหนึ่งองศา
#The Tipping point #Malcolm Gladwell #รีวิว #สรุป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา