1 ก.พ. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
“กาฬโรคในซานฟรานซิสโก ค.ศ.1900 (พ.ศ.2443)” ภาวะโรคระบาดที่นำพาคอร์รัปชั่นและการเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกา
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซานฟรานซิสโกได้กลายเป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่เกิดการระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ภายหลังที่กาฬโรคได้เคยเข้าโจมตียุโรปเมื่อศตวรรษที่ 1
นี่นับเป็นครั้งแรกที่โรคนี้เข้าจู่โจมสหรัฐอเมริกาโดยตรง
1
ภาวะการระบาดในซานฟรานซิสโก ได้คร่าชีวิตผู้คนไปไม่เยอะเท่าคราวที่ระบาดในยุโรป หากแต่ก็ทำให้เห็นถึงด้านมืดและความเน่าเฟะของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ
ภายหลังจากที่กาฬโรคโจมตียุโรปในศตวรรษที่ 14 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 200 ล้านคนจนเป็นที่มาของชื่อ “กาฬมรณะ (Black Plague)” ก็ได้เกิดการระบาดของกาฬโรคอีกครั้งที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ตามมาด้วยโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เข้าจู่โจมเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกในปีค.ศ.1855 (พ.ศ.2398) คร่าชีวิตคนไปกว่า 15 ล้านคน
กาฬมรณะ (Black Plague)
ค.ศ.1894 (พ.ศ.2437) โรคระบาดได้กระจายไปถึงฮ่องกง ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญที่จะส่งเรือสินค้าเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา และถัดจากฮ่องกง โรคร้ายก็ได้แพร่ไปยังสหรัฐอเมริกาและโฮโนลูลูในฮาวาย
ที่โฮโนลูลู ชาวจีนที่อพยพและเข้าไปอาศัยในย่านคนจีนคือคนกลุ่มแรกที่ติดโรค ซึ่งแพทย์ก็ได้วินิจฉัยว่าแบคทีเรียชนิดหนึ่งคือสาเหตุของโรค แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามันข้ามมาถึงฮาวายได้ยังไง
แพทย์เริ่มจะเอนเอียงความเห็นไปทางว่าโรคนี้อาจจะติดได้เฉพาะกับชาวเอเชีย ซึ่งก็น่าจะมีส่วนกับกระแสต่อต้านชาวจีนอพยพในเวลานั้น
รัฐบาลได้สั่งล็อกดาวน์ย่านคนจีนในโฮโนลูลู และให้กักตัวชาวจีนกว่า 10,000 ครัวเรือน
ในเวลาต่อมา ได้มีวัยรุ่นผิวขาวติดเชื้อและเสียชีวิตนอกเขตกักตัว ทางรัฐบาลจึงออกกฎใหม่ นั่นคือให้เผาตึกที่มีผู้เสียชีวิตจากโรค แต่ที่แย่ก็คือตึกหลายๆ หลังที่ถูกเผาคือตึกที่เป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน ชาวญี่ปุ่น และชนพื้นเมืองฮาวาย
รัฐบาลหวังว่าการเผาอาคารต่างๆ จะทำให้โรคระบาดเบาบางลง แต่ในเดือนมกราคม ค.ศ.1900 (พ.ศ.2443) ก็ได้เกิดเพลิงไหม้ติดต่อกันถึง 18 วัน ทำให้หนึ่งในสามของโฮโนลูลูวอดวาย และหนึ่งในสามนั้นรวมถึงย่านคนจีนทั้งหมด
ไฟไหม้ย่านคนจีนในโฮโนลูลู ค.ศ.1900
ชาวจีนกว่า 5,000 ครัวเรือนได้ถูกต้อนเข้าค่ายอพยพ หากแต่ไฟไหม้นี้ก็ช่วยทำให้การระบาดของโรคในฮาวายเบาบางลง
1
สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น ผู้ที่เสียชีวิตจากการระบาดของโรครายแรกเป็นชาวจีนอพยพ โดยมีอาการคือมีไข้สูง เพ้อ และมีอาการบวมของน้ำเหลือง
ด็อกเตอร์ “Joseph Kinyoun” นายแพทย์ชาวอเมริกัน คือบุคคลแรกที่ค้นพบแบคทีเรียในร่างกายของผู้ติดเชื้อ
1
Joseph Kinyoun
Kinyoun ได้ติดตามเรื่องการระบาดของโรคมาซักระยะ และได้ทำนายว่าโรคนี้จะต้องระบาดมาถึงซานฟรานซิสโก ซึ่งย้อนกลับไปในเดือนมกราคม ค.ศ.1900 (พ.ศ.2443) Kinyoun ก็ได้ออกมาเตือนให้เรือที่เดินทางมาจากจีนและฮาวาย หากจะเข้ามาในซานฟรานซิสโก ให้ประดับธงสีเหลืองเพื่อเป็นสัญญาณบอกว่าไปพื้นที่เสี่ยงมา หากแต่ก็ไม่มีใครสนใจคำเตือนของเขา
หลายคนนั้นไม่สนใจคำเตือนของ Kinyoun และระหว่างค.ศ.1900-1904 (พ.ศ.2443-2447) ผู้คนกว่า 100 รายในซานฟรานซิสโกก็ต้องเสียชีวิต เนื่องจากแม้แต่ผู้นำในซานฟรานซิสโกก็ปฏิเสธว่าโรคนี้ไม่มีอยู่จริง
รัฐบาลท้องถิ่นและนักการเมือง ต่างเกรงว่าหากข่าวเรื่องโรคระบาดกระจายออกไป จะไปกระทบกับเศรษฐกิจของเมือง จึงต่างออกมาต่อว่า Kinyoun หาว่า Kinyoun ออกมากุเรื่อง
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากนักธุรกิจหลายราย ต่างเขียนโจมตี Kinyoun หาว่า Kinyoun ออกมากุเรื่องเพราะรับเงินมาจากธุรกิจโลงศพ และกล่าวหาว่า Kinyoun เป็นคนฉีดเชื้อโรคเข้าร่างของศพ
4
ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียก็ได้ออกคำสั่งไม่ให้สื่อมวลชนเสนอข่าวเรื่องโรคระบาด ส่วนสาธารณสุขก็ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีโรคระบาด
แต่นอกจากจะใส่ร้าย Kinyoun อีกวิธีการที่โหดร้ายมาก นั่นก็คือเหล่านักการเมืองได้ออกมาให้ข่าวว่าโรคระบาดนี้ติดต่อเฉพาะคนที่มีเชื้อสายเอเชียเท่านั้น
1
ในปีค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) 16% ของประชากรในซานฟรานซิสโกเป็นคนจีน โดยส่วนใหญ่อีกแรงงานอพยพที่เข้ามาทำงานก่อสร้าง และด้วยจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวอเมริกันรู้สึกรังเกียจ อีกทั้งทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายควบคุมชาวจีน
1
ชาวจีนในซานฟรานซิสโกสมัยศตวรรษที่ 19
ถึงแม้ว่าโรคระบาดจะคร่าชีวิตชาวอเมริกันผิวขาวหลายราย แต่ส่วนมากก็ยังคงเชื่อว่าโรคนี้คร่าชีวิตเฉพาะชาวเอเชีย โดยมีการให้ข่าวว่า “หากบรรพบุรุษรอดชีวิตจากโรคระบาดในยุโรป ลูกหลานก็จะมีวิวัฒนาการ มีภูมิคุ้มกัน”
ดังนั้น เมื่อโรคระบาดในซานฟรานซิสโกเริ่มปรากฎในย่านคนจีน รัฐบาลท้องถิ่นจึงสั่งล็อกดาวน์ย่านคนจีนเป็นเวลาสามวัน และห้ามไม่ให้ชาวเอเชียเดินทางเข้าออกแคลิฟอร์เนีย ทำใหัชาวจีนกว่า 20,000 ครัวเรือนไม่สามารถเดินทางไปทำงาน อีกทั้งไม่มีอาหารด้วย
2
แต่ในขณะเดียวกัน ชาวอเมริกันและชาวยุโรปยังคงมีชีวิตอิสระ สามารถไปไหนก็ได้
ค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) Kinyoun ได้ถูกถอดออกจากตำแหน่งต่างๆ และผู้ที่มาแทนที่เขาก็คือ “Rupert Blue” นายแพทย์ชาวอเมริกัน
Rupert Blue
Blue นั้นเคยศึกษาการแพทย์ยุโรป และเคยอ่านเรื่องของสัตว์จำพวกหนูและโรคระบาด Blue จึงมุ่งความสนใจไปยังการกำจัดหนูในเมือง
ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) Blue ได้จัดการให้มีการกำจัดหนูทั่วเมือง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลกลางได้มุ่งที่จะแก้ปัญหาโรคระบาดด้วยการกำจัดหนู
โครงการกำจัดหนูนี้ดำเนินต่อเนื่องไปเป็นเวลากว่าหกปี ใช้งบไปกว่าสองล้านดอลลาร์ (ประมาณ 60 ล้านบาท)
แต่ถึงอย่างนั้น Blue ยังคงต้องเผชิญการต่อต้านจากนักการเมืองและสื่อมวลชน แต่ความพยายามของเขาก็ทำให้การระบาดของโรคเบาบางลงมาก
การระบาดค่อยๆ เบาบางลง และซานฟรานซิสโกก็ประกาศตน เป็นสถานที่ปราศจากโรคระบาดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1908 (พ.ศ.2451)
สำหรับในปัจจุบัน โลกก็กำลังต้องเผชิญกับภาวะโควิด-19 ระบาด
ก็ต้องดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
โฆษณา