1 ก.พ. 2021 เวลา 13:00 • การเมือง
เสียดายมากๆ เพราะเมื่อวานไม่คิดว่ากองทัพ Tatmadaw และ Min Aung Hlaing จะรีบยึดอำนาจแล้วประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกันตั้งแต่เมื่อเช้านี้ เลยตัดโพสต์เรื่องพม่าออกเป็น 2 ตอน ตอนนึงเป็นเรื่องปัจจัยที่จะไม่รัฐประหาร ส่วนอีกตอนหนึ่งจะเป็นเรื่องปัจจัยตัวแปรที่ผลักดันให้เกิดการรัฐประหาร ว่าจะโพสต์ตอนที่ 2 วันนี้ ยังไงต้องขออภัยทางผู้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วย
สำหรับประเด็นที่ว่านี้ ก่อนอื่นเลย ปัจจุบันทางฝั่งทหารพม่ายังไม่ยอมรับนะครับว่าเขาทำรัฐประหาร ทางฝั่งพรรค NLD ของ Aung San Suu Kyi เองก็ยังไม่ยอมรับว่านี้คือการรัฐประหารอย่างเป็นทางการ (ยังเล่นคำกันอยู่) แต่ก็นั่นแหละ ทั่วโลกเขามองว่าเป็นรัฐประหารกันทั้งนั้น ปฏิเสธยาก แม้แต่ในไทยเองยังมองว่าเป็นการรัฐประหารเลย (คิดว่าทาง Min Aung Hlaing น่าจะโทรคุยกับพลเอกประยุทธ์และพลเอกประวิตรเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับชนชั้นนำฝ่ายทหารในไทย)
2
ส่วนในเรื่องของปัจจัย และตัวแปรที่ผลักดันนะครับ อันนี้ ถ้าสรุปตามจากเนื้อข่าว จากทุกๆสำนัก เขาก็จะบอกว่า ทหารออกมายึดอำนาจและอาจจะถึงขั้นฉีกรัฐธรรมนูญที่พรรคพวกตัวเองเป็นฝ่ายร่วมสนับสนุนขึ้นมานั้น เป็นเพราะ ทหารไม่พอใจผลการเลือกตั้ง และยังมีความเชื่อ ทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าพรรค NLD โกงเลือกตั้งกันอยู่ ตามม็อบ และฝ่ายที่ออกมาเรียกร้อง
1
เมื่อสัปดาห์ก่อน ตอนผมโทรไปเช็คกระแสกับเพื่อนๆในพม่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเชียร์ทหารในพม่าเขาค่อนข้างจริงจังว่าอยากจะเสนอให้ยุบ กกต. พม่าทิ้งเลยนะ เพราะในสายตาของคนกลุ่มที่สนับสนุนทหารเนี่ย กกต. พม่าเหมือนจะอวยพรรค NLD และปกป้องพรรค NLD กัน คนพม่าบางส่วนก็เลยไม่ชอบขี้หน้า กกต.
อีกสาเหตุที่สำคัญที่ทหาร และกองทัพไม่ค่อยพอใจและอยากทำรัฐประหารก็คือ ทหารไม่พอใจที่ตัวเองแพ้ในเกมที่ตัวเองมีส่วนกำหนดครับ อันนี้ที่นักวิเคราะห์ต่างชาติเขาอ้างไว้ในหนังสือพิมพ์นะ คือ สัดส่วนที่พึงได้ในรัฐสภาที่พม่านั้น ทหารพม่าจะได้โควต้าไว้กว่า 25% พอคะแนนนิยมของพรรค NLD ชนะแบบถล่มทลาย ทหารก็เลยกังวลว่าอิทธิพลของตัวเองกำลังถูกสั่นคลอน ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง
4
แต่ในมุมผม ผมคิดว่าจริงๆมันมีปัจจัยอื่นประกอบด้วย อีก กองทัพ กับ พรรค NLD มีความไม่พอใจกันมานานหลายปีแล้วในช่วงหลังๆนี้ เนื่องจากคะแนนนิยมของพรรค NLD มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี และยิ่งเพิ่มทะลุปรอทมากขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์ที่สหประชาชาติเมื่อปีที่แล้ว ซึ่ง Aung San Suu Kyi ขึ้นเวทีแถลงทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เกี่ยวกับคดีโรฮิงญา เพื่อจำกัดความเสียหายที่พม่าจะได้รับจากคดีโรฮิงญา จากทั้งประเทศถูกคว่ำบาตร กลายเป็นแค่เจ้าหน้าที่ระดับสูงภายในกองทัพไม่กี่คนถูกคว่ำบาตรแทน
กระแสความนิยมในตัว Suu Kyi ก็เลยเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้ คนพม่า ชาติพันธุ์ Bamar ส่วนใหญ่เลยมองว่า Suu Kyi เป็น Patriot รักชาติ ทำเพื่อชาติ ปกป้องชาติบนเวทีโลก ยอมโดนด่า ยอมโดนข่มขู่จากโลกตะวันตก ยอมโดนคนทั้งโลกด่า ประณามบนเวที เพิ่อพม่าประเทศเดียว ซึ่งในแง่หนึ่งมันดีกับ Suu Kyi และก็ดีกับคนพม่าจริง แต่ในแง่ที่เรามองจากสายตาทหาร ลองจินตนาการดูสิ
คนหันไปรัก Suu Kyi มากกว่า มันเป็น Zero-sum game น่ะครับ ถ้าเขารักคู่แข่งทางการเมืองของเรามากขึ้น แปลว่า เขาอาจจะรักเราน้อยลงก็เป็นได้ ผมคิดว่าทหาร และกองทัพพม่าน่าจะมี thinking กันแบบนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ละมันยิ่งตอกย้ำชัดขึ้นตอนที่คนจากฝั่งกองทัพ ออกมาขู่จะรัฐประหารเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยไม่สนใจเรื่องกลไกรัฐธรรมนูญเลย
1
หมายความว่า Weight ที่เขาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบนั้น ทหารเขามองเรื่อง สถาบันกองทัพ และการเปรียบเทียบปริมาณอำนาจของกลุ่มก้อนตัวเองสูงกว่าสถาบันรัฐธรรมนูญ และความอยู่รอดในระยะยาวของประเทศ ของรัฐ ทหารคงกลัวว่าถ้าตัวเองปล่อยให้ Suu Kyi มีอำนาจต่อไปอีก 5 ปี คงจะมีผลในเชิงโครงสร้างต่ออิทธิพลของกองทัพในพม่าต่อสังคมพม่าแน่นอน
เพราะปีที่ผ่านมา ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 ดูจากแผนที่ Constituency ต่างๆจะเห็นว่ากองทัพและพรรค USDP ของทหารก็แพ้เลือกตั้งในบางเขตที่เคยเป็นเขตเลือกตั้งของตนเอง ดังนั้น ผมเลยคิดว่า sentiment ในลักษณะนี้น่าจะเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทหารพม่าดำเนินการในทิศทางดังกล่าว
1
แล้วถามว่ากองทัพมีแผนสำรองอย่างไรไหม ในการรัฐประหาร ถ้าโดนทั่วโลกประณาม หรือคว่ำบาตรอย่างเมื่อตอนก่อนหน้านี้อีก คำตอบก็คงเป็นการเอนไปหาจีนเพื่อนบ้านสุดที่รักที่มีนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในนั่นแหละครับ จีนยังไงก็ช่วยพม่าอยู่แล้ว เพราะพม่ามีผลประโยชน์ให้จีนเยอะ ถือเป็นโอกาสดีที่จีนจะเดินเกมระเบียงเศรษฐกิจเอเชียใต้ฝั่งขวาต่อเลย
3
เท่าที่ผมประเมินไว้นะ ทางรอดของพม่าคืออย่างนี้ครับ พม่าภายใต้รัฐบาลทหารอาจจะไม่ได้เน้นคบจีนอยู่ประเทศเดียว แต่จะพยายามวิ่งเข้าหาอินเดียควบคู่ไปด้วย เพื่อพยายามแสวงประโยชน์จากนโยบาย Act East ของอินเดีย (ตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงการต่างประเทศไทยที่วางไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งรัฐบาล Suu Kyi เองก็มีแผนจะคว้าโอกาสการลงทุนจากอินเดียเหมือนกัน)
เนื่องจากพม่ายังมีพื้นที่และทรัพยากรให้รัฐบาลต่างชาติ และบริษัทข้ามชาติถลุงอีกเยอะ อย่างน้อยๆก็พื้นที่แถบยะไข่ แถวๆบ้านโรฮิงญานั้นแหละ ที่ว่าชาวพม่าเกลียดโรฮิงญาแล้วไปไล่ฆ่าโรฮิงญานี้จริงๆ เหตุผลส่วนหนึ่งที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการไล่ฆ่าโรฮิงญาก็เพื่อผลักดันโรฮิงญาออกจากพื้นที่ยะไข่นั้นแหละ เพื่อที่พม่าจะได้เอาทรัพยากรตรงนั้นไปลงทุนต่อ เพราะมันสามารถลากเส้นทางเศรษฐกิจไปเชื่อมกับจีนเพื่อทำประตูออกทะเลให้จีนได้ เงินมาเน้นๆ
6
ที่ดินผืนนี้ไม่ใช่มีแค่จีนอย่างเดียวนะที่จ้องไว้ ทั้งอินเดีย ทั้งญี่ปุ่น เอ้อ ญี่ปุ่นนี้ก็เป็นอีกหนึ่ง Exit plan ของพม่าเหมือนกันครับ เพราะอะไรรู้ไหมครับ ญี่ปุ่นต้องการเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคในแถบเอเชียตะวันออกแข่งกับจีน ไม่มีทางที่จีนจะเข้าไปลงทุนในพม่าแล้วไม่มีญี่ปุ่นตามไป ญี่ปุ่นตามแน่นอน แม้ว่าพม่าจะไม่เป็นประชาธิปไตย ละยิ่งมาบวกนโยบายไม่แทรกแซงกันของ ASEAN อีก
3
ตอนนี้อย่างน้อยๆเลยนะครับ มีจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และ ASEAN ที่ยังคบพม่าอยู่แน่นอนแล้ว ถ้าจะให้เข็นให้รอดก็รอดแหละครับ เศรษฐกิจพม่า เพราะกลุ่มประเทศรอบบ้านพม่าเหล่านี้เดิมก็เป็นคู่ค้าสำคัญของพม่าอยู่แล้ว สิ่งที่จะขาดหายไปก็แค่ FDI ที่อาจจะได้อานิสงค์จากสหภาพยุโรปก่อนหน้านี้ และจากรัฐบาล Joe Biden เท่านั้นแหละครับ (CPTPP นี้พม่าไม่ได้หวังตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะมาตรฐานสูงเกินไป จอยไม่ได้)
1
** จริงๆอยากเขียนเสริมอีกหลายข้อ แต่ยาวไป ไม่ไหว วันนี้ผมรีบเลยไม่มีเวลาแก้ให้ ยังไงมีอะไรสามารถ Comment ไว้ได้ครับ
2
โฆษณา