3 ก.พ. 2021 เวลา 11:55 • สุขภาพ
“ ดื่มกาแฟแก้อัลไซเมอร์ ” 🤔☕
"เมื่ออัลไซเมอร์ ไม่ใช่เรื่องของเวรกรรมอีกต่อไป"
คำเตือน :: วันนี้ขอเล่าแบบอ่างสมองนะคะ
อ่านไปแล้วอาจรู้สึกไม่เชื่อถือ
แต่เชื่ออ่างเถอะ.. อ่างมีสาระ 🤭
เริ่ม..5.. 4.. 3.. 2..
ความรู้ใหม่ ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ทำให้เรารู้ว่า โรคอัลไซเมอร์
(Alzheimer’s disease, AD)
เกิดจากความผิดปกติของโปรตีน
ที่อยู่ในเซลล์ประสาท ซึ่งมีชื่อว่า
Amyloid (อ่ะ - ไมค์ - ลอยด์) 🎤🎶
ร่วมกับโปรตีนอีกชนิดที่ชื่อว่า Tau (เทา,เตา) 🐢
1
อัลไซเมอร์ เป็นโรคในกลุ่มสมองเสื่อม
แบบแก้ไขไม่ได้ มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ
การมีอายุเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป
ทุกคนจะมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์
เพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปี
ซึ่งปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทย อยู่ที่ประมาณ
77 ปี หมายความว่า สังคมไทยกำลังจะพบคนที่เป็นอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น อีกไม่น้อยเลยทีเดียว
การจะวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์นั้น
ผู้ป่วยจะต้องมีความจำผิดปกติ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากกว่า 6 เดือน ร่วมกับตัวชี้วัดที่ต้อง
ตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ
อย่างน้อย 1 ชนิด
1
ทีนี้ลองสังเกตอาการของอัลไซเมอร์ดูนะคะ
จะเริ่มจากอาการหลงลืม โดยเริ่มลืมจาก
เรื่องใหม่ๆ ลืมเรื่องที่กำลังคุยกัน สับสนเรื่อง
วันเวลา บางครั้งอาจเลือกใช้คำที่จะพูดไม่ได้
เพราะลืมคำพูด อาการลักษณะนี้จะค่อยเป็น
ค่อยไป แล้วจะค่อยๆ มีพฤติกรรมและ
บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไปในภายหลัง
ทีนี้พูดถึงสาเหตุของอัลไซเมอร์กันบ้างนะคะ
สาเหตุการเกิดโรคนั้น ในระยะแรกยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน แต่เมื่อประมาณ 20 ปี
ที่ผ่านมา เริ่มมีการค้นพบที่อาจทำให้
การรักษาอัลไซเมอร์ เป็นการรักษาโดยตรง
ที่สาเหตุ ไม่ใช่รักษาเพื่อชะลอการดำเนิน
ของโรคแบบในปัจจุบัน
งานวิจัยรายงานว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์
มียีนกลายพันธุ์ของ γ-secretase
ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง ในการย่อยโปรตีน
อะไมลอยด์ เบตา (Amyloid β, Aβ)
ทำให้เกิดความไม่สมดุล ในการเกิดและตาย
ของโปรตีนชนิดนี้ จึงเกิดการสะสมกลายเป็น Amyloid plaques
จินตนาการถึงก้อนหินปูนที่เกาะซอกฟัน
แล้วทำให้เหงือกเราอักเสบก็ได้ค่ะ
Amyloid plaques นี้จะทำให้เซลล์ประสาท
ของเราป่วย และทำให้เกิดการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดอัลไซเมอร์ คือ
โปรตีน Tau ที่เป็นแกนของเซลล์ประสาท
เกิดความบิดเบี้ยวและพันกัน
ทำให้โครงสร้างเซลล์ประสาทไม่แข็งแรง
กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Neurofibrillary tangles (NFTs) จึงทำให้เซลล์ประสาทส่งสัญญาณสื่อสารกันไม่ได้
เหมือนเวลาคนเราขาดการปฏิสัมพันธ์กัน
ก็จะเหี่ยวเฉา และฝ่อไปในที่สุด
ผลจากการสร้างสิ่งผิดปกติในร่างกาย
ทั้ง Amyloid plaques และ NFTs ทำให้ร่างกายส่งสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำหน้าเปรียบเสมือนยาม คอยปกป้องร่างกายมาสู้กับผู้รุกรานทั้งสอง
ผลจากสงครามนี้ ทำให้ร่างกายตกอยู่ใน
ภาวะเครียด (Oxidative stress)
จึงเกิดการทำลาย DNA รวมถึงทำลายโปรตีนภายในเซลล์ และไขมันของผนังเซลล์ด้วย
เมื่อยามประจำร่างกายพ่ายแพ้ ร่างกายจึงเรียกเหล่ากำลังเสริม คือทัพของภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะปล่อยพลังด้วยไซโตไคน์ (Cytokines) ที่ทำให้เราเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น เมื่อเป็นไปนานๆ จะเกิดการอักเสบเรื้อรัง
หากนึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงเวลาเป็นหวัด
แล้วมีไข้ นั่นแหละค่ะ อิทธิฤทธิ์ของไซโตไคน์
ในขณะที่ร่างกายกำลังต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม
อยู่นั้น โชคร้ายที่เซลล์สมองกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสมองส่วนหน้า, อมิกดาลา และฮิปโปแคมปัส (Frontal cortex, entorhinal cortex, Amygdala,
Hippocampus) สามารถรับรู้ การสู้รบกัน
ได้ไวกว่าเซลล์อื่น
จึงสะสมความเก็บกด และเพาะบ่มความเปลี่ยนแปลงมาตลอด 20-30 ปี
และระเบิดออกมาช่วงที่เราอายุมากขึ้น
จนทำให้กลายเป็นอัลไซเมอร์ในที่สุด
จบในส่วนของการเกริ่นนำ
เรื่องสมรภูมิอัลไซเมอร์นะคะ
1
ทีนี้เข้าประเด็นว่า
ดื่มกาแฟแก้อัลไซเมอร์ได้อย่างไร? ☕
คาเฟอีนที่พบได้ในกาแฟ
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแรง
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ คาเฟอีนเป็นสารต้านพิษชนิด High Level นั่นแหละค่ะ
จึงสามารถเอาชนะอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี
ทำให้สามารถป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมได้หลายชนิด โดยออกฤทธิ์ ยับยั้งการเกิด
โรคอัลไซเมอร์ผ่านทางหลายกลไก ดังนี้
1. คาเฟอีนลดการอักเสบของเซลล์
โดยลดกระบวนการที่ให้ร่างกายเครียด (Oxidative stress)
ที่จะทำให้เซลล์ประสาทตายลดลง โดยการศึกษาพบว่า คาเฟอีนออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของโปรตีน Amyloid β และ Tau ได้
แต่คาเฟอีนในกาแฟคั่วเข้ม (Dark roast)
ออกฤทธิ์ดีที่สุด
2
2. คาเฟอีนยับยั้งการรับรู้ของเซลล์ที่อักเสบ
คาเฟอีนช่วยยับยั้งตัวรับรู้ของเซลล์ ที่ตอบสนองต่อการอักเสบ (Adenosine A2A ของ Microglial receptors) ซึ่งจะควบคุมการสะสมของโปรตีน Amyloid β (Aβ) ที่สมองและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ
(Amyloidogenesis)
1
3. คาเฟอีนยับยั้งการสร้าง
และสะสมโปรตีนที่ผิดปกติ
นอกจากคาเฟอีนจะช่วยลดกลไกการอักเสบแล้ว ยังช่วยยับยั้งโปรตีน (Nuclear-related factor-2, Nrf-2) ที่ทำหน้าที่ถอดรหัส DNA
ซึ่งจะช่วยยับยั้ง การขยายพันธุ์ของยีนที่ผิดปกติ
และลดการสะสมของโปรตีนที่พับผิดรูป
เช่น โปรตีน α-synuclein อีกด้วย
4. คาเฟอีนลดการทำงานของโปรตีน Tau
กลไกข้อสุดท้าย คือคาเฟอีนช่วยลดการทำงาน
ที่ผิดปกติของโปรตีน Tau (Hyperphosphorylation of Tau)
ทำให้ยังคงรูปร่างเดิมไว้ และยังส่งต่อสัญญาณประสาทได้
นอกจากสารคาเฟอีนที่ช่วยยับยั้งอัลไซเมอร์แล้ว
การศึกษาเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมาพบว่า
สารฟีนิลลินเดนส์ (Phenylindanes) ในกาแฟ
ที่ทำให้รู้สึกขม สามารถยับยั้งความผิดปกติ
จากโปรตีน Amyloid β และ Tau ได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ยังไม่มีปริมาณแนะนำที่ชัดเจน
คงต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
คงยังไม่ต้องถึงกับโหลดคาเฟอีนกันเป็นเม็ดๆ นะคะ แฮ่!
อย่างน้อยก็มีความหวัง
กับการรักษาอัลไซเมอร์ไปอีกขั้นแล้ว
“ No more บุ ญ บ า ป for Alzheimer! “
1
จากนี้คือ หน้าที่ของวิทยาศาสตร์ค่า 🤓👏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา