4 ก.พ. 2021 เวลา 05:26 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
18 กุมภาพันธ์ 2021 นี้ ยาน Perseverance จะลงจอดบนดาวอังคาร เราควรรู้อะไรบ้าง
1
หลังการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์ของยาน Perseverance Rover ในภารกิจ Mars 2020 เป็นเวลากว่าครึ่งปีมาแล้วนับตั้งแต่การปล่อยยานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2020 Mars 2020 เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่วันก่อนที่จะปิดฉากการเดินระหว่างโลกกับดาวอังคารของมันด้วยการลงจอดบน Jezero Crater ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 ที่กำลังจะถึงนี้
3
Perseverance กำลังจะเจอกับช่วงเวลาที่กดดันที่สุดและเสี่ยงที่สุดของการลงจอดบนดาวอังคารเรียกว่า EDL หรือ Entry, Descent, Landing วิศวกรของยานก็จะต้องเผชิญกับมันเช่นกัน EDL เป็น Sequence ของเหตุการณ์นานประมาณ 7 นาทีที่เกิดขึ้นกับยานลงจอดดาวอังคารทุกลำ และชะตาของยานแต่ละลำก็ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ยานเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารแล้ว ในช่วงระยะเวลา 7 นาทีนี้ ยานเองจะไม่สามารถสื่อสารกับโลกได้ ไม่สามารถรอคำสั่งจากโลกได้ มันจะต้องเอาตัวรอดของมันเองด้วยระบบลงจอดที่ต้องถูกโปรแกรมไว้เผื่อสำหรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ระหว่างการ EDL วิศวกรเองก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรกับยานได้เลยระหว่างที่ยานกำลังทำ EDL
4
ภาพจำลอง Mars 2020 พร้อม Cruise Stage เดินทางถึงดาวอังคาร – ที่มา NASA/JPL-Caltech
พวกเขาไม่สามารถรู้ชะตากรรมของยานได้ด้วยซ้ำเนื่องจาก Communication Delay ระหว่างโลกและดาวอังคารที่อาจทำให้การสื่อสารกับยานล่าช้าไปหลายนาทีและอาจนานถึง 20 นาที นอกจากนี้ถึงสัญญาณจะสามารถเดินทางจากดาวอังคารถึงโลกได้ภายในระยะเวลา 7 นาทีของ EDL แต่ก็ยังมีอีกอุปสรรคหนึ่งของการสื่อสาร นั่นก็คือ Ionization blackouts จากความร้อนระหว่างที่ยานเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ทั้งหมดนี้หมายความว่าวิศวกรจะไม่รับรู้ข่าวสารอะไรจากยานเลยระหว่าง EDL และถ้า Perseverance ลงจอดล้มเหลว โลกก็จะไม่ได้ยินเสียงสัญญาณจาก Perseverance อีกเลย แต่หากมันลงจอดสำเร็จ วิศวกรก็ยังต้องลุ้นว่าสัญญาณจะถูกส่งมาถึงตอนไหน มันเลยเป็นเหมือนการรอเวลาที่ใครก็คาดเดาไม่ได้นั่นเอง งานนี้จึงขึ้นอยู่กับระบบของยานเองว่าจะเอาตัวรอดจาก EDL ได้หรือไม่
8
ภาพจำลองการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของ Perseverance – ที่มา NASA/JPL-Caltech
การ EDL ของภารกิจ Mars 2020 จะเริ่มในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 การเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของ Mars 2020 เป็นการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแบบ Direct entry หมายความว่าจะไม่มีการทำ Orbit insertion หรือการเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อมาถึงแล้วก็จะพุ่งเข้าใส่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารทันทีเลยนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Mars 2020 มีวันเวลาลงจอดกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะว่าทุกอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นคือนาฬิกาที่กำลังนับถอยหลัง อยู่วิศวกรจะมาเลื่อนการลงจอดออกไปก่อนไม่ได้เพราะ Cruise Stage ของยานก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ปรับวงโคจรของยาน การเตรียมพร้อมทุกอย่างจึงต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้
2
EDL เริ่มต้นล่วงหน้าด้วยการสลัดส่วนของ Cruise Stage ออก 10 นาทีก่อนการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ซึ่ง Cruise Stage ของ Perseverance มีไว้ใช้ตอนเดินทางระหว่างโลกไปดาวอังคารเท่านั้น มันมีไว้เพื่อเป็นฉนวนความร้อนและระบบทำความร้อนให้กับระบบไฟฟ้าของยานเพื่อรักษาสมดุลอุณหภูมิของระบบการบินต่าง ๆ ของยาน นอกจากนี้ Cruise Stage ยังมีหน้าที่นำทางตัวมันเองด้วย Star Scanner พร้อมกับจรวดขับดันขนาดเล็กสำหรับปรับทิศทางเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ตอน EDL จึงถูกสลัดทิ้ง และจะเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารไป
2
10 นาทีหลังจากการสลัด Cruise Stage ยานจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารพร้อมกับ Ablative Heat Shield สำหรับกันความร้อนระหว่างการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร แต่ความท้าทายของการลงจอดบนดาวอังคารนั้นไม่ได้อยู่ที่ความร้อนระหว่างการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศซึ่งจะร้อนสุด ๆ ประมาณ E+80s (80 วินาที) หลังการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
1
ความท้าทายหลักคือชั้นบรรยากาศที่เบาบางกว่าโลกถึง 100 เท่า ชั้นบรรยากาศที่เบาบางนี้เองทำให้ความร้อนไม่ใช่เรื่องใหญ่เมื่อยานเสียดสีกับชั้นบรรยากาศเพราะว่าโมเลกุลของอากาศที่จะมาเสียดสีกับยานมีน้อยกว่าโลกถึง 100 เท่า แน่นอนว่ายานเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาวอังคารมันจะแทบจะทะลุและแหวกชั้นบรรยากาศของดาวไปเลยนั้นทำให้ความเร็วของยานระหว่าง EDL จะสูงมาก ๆ ในขณะที่บนโลกจะมีแรงดันอากาศมาต้านให้ความเร็วของยานช้าลง บนดาวอังคารไม่มีแรงแบบนั้นแต่อย่างใด (น้อยกว่าบนโลก 100 เท่า) ทำให้ยานจะยิ่งเร็วขึ้นและเร็วขึ้นเรื่อย ๆ แบบไม่มีอะไรมาเบรก หากจะใช้ร่มชะลอความเร็ว ก็อย่าลืมว่าอากาศบนดาวอังคารบางกว่าโลก 100 เท่า ทำให้ประสิทธิภาพของร่มชะลอความเร็วนั้นน้อยลงไปอีกมาก ทำให้การลงจอดบนดาวอังคารใช้ร่มชูชีพไม่ได้นั่นเอง แต่ต้องใช้ Sky Crane ที่เป็นจรวดมาชะลอความเร็วแทนนั่นเอง ทำให้การลงจอดบนดาวอังคารนั้นยากกว่าบนโลกมาก เพราะร่มชะลอความเร็วจะต้องใหญ่มาก ๆ เพื่อทดแทนความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศที่น้อยลง
4
ที่ความสูงประมาณ 10 ถึง 12 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน E + 240s ร่มชะลอความเร็วจะถูกกางออก อีกประมาณ 20 วินาทีที่ความสูงประมาณ 6 ถึง 10 กิโลเมตร ความเร็วของยานจะลดลงจาก 1,500 กม./ชม เหลือประมาณ 600 กม./ชม และปลด Heat Shield ออกเพื่อลดน้ำหนัก เพราะไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว
1
จากนั้นยานจะใช้ระบบ Radar เพื่อล็อกตำแหน่งลงจอดในขณะที่ร่มช่วยชะลอความเร็วไปด้วย E + 330s ที่ความสูงประมาณ 3 ถึง 8 กิโลเมตร ความเร็วของยานจะลดลงเหลือเพียง 300 กม./ชม. ระบบ Terrain Relative Navigation (TRN) ของยานจะเริ่มทำงานเพื่อหาตำแหน่งลงจอดที่ก่อนหน้านี้ได้ล็อกไว้ ด้วยการเปรียบเทียบลักษณะจุดเด่นของพื้นผิวบริเวณ Landing Zone ที่ถ่ายได้ระหว่าง EDL กับ Catalog รูปถ่ายของ Landing Zone ในฐานข้อมูลพื้นที่ลงจอดเพื่อเตรียมการปรับทิศทางของยาน
2
เมื่อยืนยันตำแหน่งลงจอดโดย TRN ได้แล้ว Perseverance จะปลดตัวเองออกจาก Backshell จากนั้นจึงจุดจรวดของ Sky Crane เพื่อทำ Powered Descent โดย Sky Crane จะค่อย ๆ ปรับทิศทางให้ตรงกับตำแหน่งที่ล็อกไว้จากนั้นจึงหย่อน Perseverance ลงด้วยความเร็วประมาณ 27 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยสายเคเบิลที่ประมาณ 10 เมตร เมื่อ Perseverance แตะพื้นแล้ว Sky Crane จะปลดสายเคเบิลออก จากนั้นจึงปรับ Thruster ไปที่ 45 องศาเพื่อบินออกให้ห่างจาก Rover จนกว่าเชื้อเพลิงจะหมดและตกสู่พื้นผิว เพื่อป้องกันความเสียหายจากเศษซากของ Sky Crane ที่อาจกระเด็นมาโดน Rover ตอนตกได้นั่นเอง
1
ภาพจำลอง Sky Crane ขณะกำลังย่อนยาน Perseverance ลงบนพื้นผิวของดาวอังคาร – ที่มา NASA/JPL-Caltech
เมื่อ Perseverance ลงจอดเสร็จสิ้นมันก็จะเริ่ม Surface Operation ของมันทันที เช่น การ Deploy อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และการเดินทางบริเวณ Jezero Crater ของมันเพื่อไขปริศนาของดาวอังคารต่าง ๆ ทั้งนี้ทีมวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ได้ร่างเส้นทางสำรวจของ Perseverance จากภาพถ่าย Mosaic ซึงสร้างมาจากข้อมูลของยาน Mars Reconnaissance Orbiter (MRO) เอาไว้แล้วด้วย
1
ภาพถ่ายพื้นผิวบริเวณ Jezero Crater จากยาน MRO พร้อมกับเส้นทางสำรวจสำหรับยาน Perseverance – ที่มา NASA/JPL-Caltech
Perseverance มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาหลักฐานของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารในอดีตและเพื่อทดลองเทคโนโลยีใหม่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ TRN, MEDLI ซึ่งเป็นชุดเซนเซอร์สำหรับการทำ EDL, เฮลิคอปเตอร์ลำแรกบนดาวอังคาร Ingenuity หรือแม้แต่การส่งตัวอย่างดาวอังคารกลับโลก
1
Mars 2020 จึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาเช่นกันนั่นเอง เพราะมันจะช่วยเปิดทางให้มนุษยชาติเดินทางมาดาวอังคารในอนาคตได้นั่นเอง
โฆษณา