4 ก.พ. 2021 เวลา 13:45 • ปรัชญา
#อดีตของ อองซานซูจี
อองซานซูจี เธอเป็นที่หนึ่งในหญิงที่ทรงอิทธิพลในประเทศเมียนมาร์ และเคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพปี 1991 ซึ่งเรื่องราวเธอเริ่มต้นจาก
เธอคือใคร?
อองซานซูจี เธอเกิดในย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเธอใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศ ก่อนจะกลับมาอาศัยอยู่ในบ้านเกิด จนกลายเป็นนักเคลื่อนไหว และนักต่อต้านการปกครองในช่วงสมัยของ อูเนวิน
หลังจากการต่อต้านระบบการปกครองต่าง ๆ จึงทำให้หลังจากนั้น เธอถูกกักบริเวณในบ้านพักเป็นเวลากว่า 15 แต่ถึงอย่างนั้น ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน เธอก็ยังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1991 เนื่องจากความเห็นชอบที่เป็นผ่องต้องกันจากประชาชนร่วมด้วย
กระทั่งในตอนท้าย ซูจี ที่ได้รับการปล่อยตัวจากการกักบริเวณในบ้าน เธอก็ได้เข้ารับตำแหน่ง ในรัฐสภา หลังจากที่ พรรค NLD ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในปี 2016 ด้วยเหตุนี้ ซูจี จึงได้รับบทบาทใหม่ภายในประเทศ ซึ่งตามพฤตินัยแล้ว เธออยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐสภา
1
Aung San Suu Kyi greeting supporters from Bago State in 2011
ย้อนกลับไปในช่วงแรกเริ่มของชีวิต พ่อ ซูจี ผู้ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศเมียนมาร์ในช่วงหนึ่ง แต่ทว่าเขาก็ได้ถูกลอบสังหาร ในปี 1947 ส่วนแม่ของเธอ ขิ่นกี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตประจำประเทศอินเดียในปี 1960
จึงทำให้ เธอต้องย้ายไปเรียนในโรงเรียนมัธยมที่อินเดียนับแต่นั้น หลังจากเรียนจบ ซูจี ก็ได้ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย อ็อกซ์ฟอร์ด ด้านปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์
ระหว่างที่เรียนอยู่นั้นเธอก็ได้พบกับ ไมเคิล อริส ผู้เชี่ยวชาญ ชาวอังกฤษเกี่ยวกับ การศึกษาของภูฏาน ทั้งสองสานสัมพันธ์กันด้วยดีเสมอมา จนกระทั่งตกลงแต่งงานกัน และมีลูกด้วยกัน 2 คน ชื่ออเล็กซานเดอร์ และคิม
การเปลี่ยนแปลง
ครอบครัวของเธอ ใช้ชีวิตในช่วงทศวรรษ 1970 และ 80 ไปกลับระหว่าง ประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดีย
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เธอก็ต้องเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อดูแลแม่ที่ป่วยหนัก ซูจี ดูแลจนกระทั่ง ท่านเสียชีวิตลง ความสับสนวุ่นวายและจุดพลิกผันในชีวิตจึงเกิดขึ้น
ซึ่งในช่วงนั้น อูเนวิน ขึ้นเป็นผู้นำเผด็จการในเมียนมาร์ จนนำมาซึ่งจุดปลุกระดมและกระตุ้นให้เกิดการประท้วง เกี่ยวกับนโยบายของเขา ซูจี จึงได้เห็นการเข่นฆ่าของผู้ประท้วง ที่ต่อต้าน อูเนวิน และกฎเหล็กของเขา
การต่อต้าน
ด้วยเหตุนี้เธอ จึงเริ่มเข้าร่วมกลุ่มต่อต้าน โดยมีประเด็นเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนสำคัญ ในวาระการประชุมของเธอ
หลังจากความเห็นและความพยายามของเธอ ได้ถูกแพร่ออกไป สหภาพเมียนมาร์ ที่มี อูเนวิน อยู่เบื้องหลัง จึงสั่งให้ ซูจี ต้องกักบริเวณอยู่ในบ้านพัก อีกทั้งยังตัดการสื่อสารใด ๆ กับโลกภายนอก
แม้ว่ากองทัพของสหภาพ จะตั้งข้อเสนอให้เธอออกนอกประเทศไป เพื่อให้พ้นจากการกักตัว แต่เธอก็เลือกที่จะปฏิเสธ โดยเธอยืนยันว่า “การต่อสู้ของเธอจะดำเนินต่อไป จนกว่ารัฐบาลทหาร จะปล่อยตัวประเทศไปสู่รัฐบาลที่เห็นอกเห็นใจพลเรือนและนักโทษ” หลังจากนั้นการเมืองภายในจึงเริ่มคลี่คลายลง
เหมือนเข้าสู่ความสงบ
และเมื่อ ซูจี ได้รับการปล่อยตัวจากการกักบริเวณ ในปี 1995 และปีถัดมา เธอ จึงได้เข้าร่วมกับพรรค NLD สามปีต่อมาเธอได้ก่อตั้งคณะกรรมการตัวแทน และประกาศว่า จะเป็นองค์กรปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ
จึงทำให้รัฐบาลทหารสั่งกักบริเวณเธออีกครั้ง ในปี 2000 และได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤษภาคม 2002
ในปี 2003 พรรค NLD ได้ปะทะกันบนท้องถนนกับกลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาล ซูจี จึงถูกจับและถูกกักบริเวณในบ้านอีกครั้ง แต่ทว่า สิ่งที่เธอได้พูดในการชุมนุมนั้นได้กระตุ้นให้ประชาคมระหว่างประเทศเรียกร้องและทำให้เกิดเหตุที่ต้องปล่อยตัวเธอออกมา
ข้อโต้แย้ง
แต่ทว่า หลังจากนั้น ซูจี ก็ถูกจับอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ ถูกตั้งข้อหาอาชญากรรม โดยเธออนุญาตให้ชายนิรนามใช้เวลาร่วมสองคืนที่บ้านของเธอ ซึ่งเป็นการละเมิดเงื่อนไขการกักบริเวณของเธอ . ผู้บุกรุกคนนี้สืบทราบภายหลังว่าเป็น ชาวอเมริกันชื่อ John Yettaw เขาจึงถูกตั้งข้อหา และถูกคุมขัง
ในปีเดียวกันนั้น องค์การสหประชาชาติ ก็ได้ออกมาประกาศว่า “การกักขังนางซูจีเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายภายใต้กฎหมายของประเทศเมียนมาร์”
ซูจี จึงได้เข้ารับการพิจารณาคดีและถูกตัดสินให้จำคุก 3 ปี แต่ด้วยประเด็นปัญหาหลาย ๆ ด้าน เธอจึงถูกลดโทษลงเหลือเพียง 18 เดือน และเธอได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ทางการเมืองต่อไปได้
ระหว่างกักตัว
แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ผู้คนภายในประเทศหลายคนและประชาคมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ก็เชื่อว่าคำตัดสินดังกล่าว มีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ ซูจี เข้าร่วมการเลือกตั้งรัฐสภา ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในปีถัดไป (เป็นช่วงคาบเกี่ยวที่ ซูจี ยังคงถูกคุมขังอยู่)
ด้วยเหตุนี้ การบังคับใช้กฎหมายการเลือกตั้งฉบับใหม่ จึงเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน ในเดือนมีนาคม 2010: ที่ห้ามมิให้อาชญากรเข้าร่วมการเลือกตั้ง และอีกฉบับหนึ่งห้ามไม่ให้ใครก็ตามที่แต่งงานกับชาวต่างชาติหรือมีบุตรที่เป็นหนี้ความจงรักภักดีต่ออำนาจจากต่างชาติ
สำหรับเรื่องนี้แม้ว่าสามีของซูจีจะเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1999 แต่ลูก ๆ ของเธอก็ถือสัญชาติอังกฤษกันอยู่ทั้งคู่
ข้อกำหนดใหม่
แต่เพื่อสนับสนุน ซูจี พรรค NLD จึงปฏิเสธที่จะจดทะเบียนพรรคใหม่ ภายใต้กฎหมายใหม่เหล่านี้ อย่างไรก็ตามการกระทำนั้น ก็แทบจะไม่ได้รับการคัดค้านในการเลือกตั้งจากฝ่ายรัฐบาลเลย อีกทั้งยังชนะการเลือกตั้งได้อย่างง่ายดาย แม้จะมีข้อหาฉ้อโกงตามมา
หลังจากนั้น หกวัน ซูจี ก็ถูกปล่อยตัว ประกอบกับ พรรค NLD ประกาศว่าจะเลือกตั้งอีกครั้ง จึงทำให้ ซูจี ได้ลงทะเบียนอย่างเป็นทางการเพื่อชิงที่นั่งในรัฐสภา
หลังจากการหาเสียงที่เหนื่อยยาก ข่าวที่ออกอากาศทาง MRTV ของรัฐ ก็ได้ยืนยันชัยชนะของเธอ และในวันที่ 2 พฤษภาคม 2012 ซูจี จึงได้เข้ารับตำแหน่ง
Aung San Suu Kyi arrives to give a speech to the supporters during the 2012 by-election campaign at her constituency Kawhmu township, Myanmar on 22 March 2012.
หลังจากนั้น หนึงปี ซูจี ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคอีกครั้ง ประเทศจึงจัดการเลือกตั้งรัฐสภาใหม่ ซึ่งถือเป็นกระบวนการลงคะแนนที่เปิดกว้างที่สุดในรอบหลายทศวรรษ
และไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พรรค NLD ก็สามารถประกาศชัยชนะอย่างถล่มทลายโดยได้ที่นั่ง 378 ที่นั่งในรัฐสภา
ในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2016 พรรคจึงได้เลือกประธานาธิบดีคนใหม่นั้นก็คือ ฮถินจอ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของ ซูจี มานาน
ชายที่ถูกเลือก
แม้ว่า ซูจี จะยังคงถูกห้ามออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ
จึงทำให้ตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เธอมีบทบาทมากขึ้นในกิจการงานของประเทศ ซูจี ยังได้ออกมาแสดงเจตจำนงต่อสาธารณะว่า
“จะปกครองแบบ "เหนือประธานาธิบดี" จนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” เธอกล่าวหลังจากที่เธอได้อยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาแล้ว
ดังที่ Aung San Suu Kyi มักกล่าวไว้ว่า “ฉันพยายามอธิบายว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่ระบอบที่สมบูรณ์ที่สุด แต่มันคือโอกาสที่จะลิขิตชะตากรรมของคุณ”
*** แบมขอจบตอนนี้ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะคะ แล้วแบมจะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวของเธอต่อให้ได้อ่านกันอีกในตอนต่อไปนะคะ***
แปลและเรียบเรียงโดยเรื่องเล่าจากดาวนี้
ที่มา:
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา