8 ก.พ. 2021 เวลา 09:28 • อาหาร
สรรพคุณ “ผักโขม” ที่ป๊อปอายกินแล้วแข็งแรง
สีเขียวเข้มของผักโขม
บ่งบอกว่ามีสารคลอโรฟีลล์สูงมากๆเลย
"เราต้องแข็งแรงเหมือนป๊อปอาย"
สีเขียวเข้มของผักโขมบ่งบอกว่ามีสารคลอโรฟีลล์สูงมากๆเลย
สามารถช่วยล้างฟอกออกซิเจนในเซลล์
และมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์สูงทั้งผักโขมยังมีกากใย
ที่ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายดีอีกด้วยแล้วทำไมเราจะไม่หาเมนูอร่อยๆจากผักโขมมากินกัน?
บางคนอาจไม่รู้ว่าเราสามารถเดินเก็บผักโขมตามสวนหรือในที่ว่างโดยนึกไม่ถึงว่ามันเป็นชนิดเดียวกับที่เขาขาย
โดยตลาดเมื่อดิฉันแต่งงานใหม่ๆผู้ที่เข้าครัวทำอาหารให้กินคือ
คุณแม่ของสามีที่เราเรียกว่า”อาม่า”กลับบ้านมาวันหนึ่งเห็นอาม่าเดินท่อม ๆ
เก็บผักที่ขึ้นอยู่ตามขอบรั้วหน้าบ้านและบริเวณที่ว่างใกล้เคียงถามดูจึงรู้ว่ากำลังเก็บผักโขมมาต้มแกงจืด
ให้เรากินนั่นเอง
ใครที่แน่ใจว่ารู้จักผักโขมที่ขึ้นตามข้างทางหรือที่รกร้างก็อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าไปเด็ดเอามากินไปซื้อที่ตลาดราคาไม่กี่สตางค์เพราะไม่ใช่ของราคาแพง
เพาะก็ง่ายขึ้นก็เร็วแถมยังแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ดจากต้นแก่ที่ปลิวไปทั่วในสวนที่บ้านดิฉันนั้นมีผักโขมให้เด็ดกินไม่ได้ขาด
ผักโขม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis
จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น
และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน
ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน)
ผักโขม (อังกฤษ: amaranth) มักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง
ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏการใช้คำว่า spinach อย่างชัดเจน
หากพูดถึงผักใบเขียวที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเมนูไหนก็ตาม
ผักชนิดนี้ก็ทำให้รู้สึกชอบในการรับประทานผักได้
ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครปฏิเสธ “ผักขม” หรือที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกผิดเป็น “ผักโขม” ไปได้เลย
ประโยชน์ของผักขม(ผักโขม)
1. ผักขม(ผักโขม) สามารถนำมารับประทานเพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง และช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
2. ใช้ในการช่วยบำรุงน้ำนม เหมาะสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน
ที่มีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก
เพราะผักขม(ผักโขม)
ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่หลังคลอด
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงผักขมมีวิตามินเอ วิตามินซี
ที่จะช่วยให้น้ำนมของคุณแม่หลังคลอดสมบูรณ์ขึ้น
3. มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักและลดความอ้วนได้เป็นอย่างดี
เพราะการรับประทานผักขมจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้เร็วและนาน
อีกทั้งยังช่วยชะลอการดูดซึมไขมันในร่างกาย
4.ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนสำหรับสตรี เนื่องจากผักขม(ผักโขม)
จะมีส่วนช่วยในการลดการหดเกร็ง
ของกล้ามเนื้อในบริเวณช่องท้อง
5. ใช้ในการบำรุงร่างกายสำหรับคุณแม่หลังคลอด และช่วยให้ทารกน้อยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
6. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง
7. ผู้สูงอายุที่รับประทานผักขม(ผักโขม) จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากผักขมมีฤทธิ์ช่วยชะลอการตายของเซลล์ต่างๆ
ในร่างกายเมื่อรับประทานเป็นประจำ
8. สำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ การรับประทานผักขม(ผักโขม) ถือเป็นผักที่แนะนำให้รับประทานกันอย่างมาก เนื่องจากมันอุดมไปด้วยโปรตีนสูง
9. ช่วยบำรุงสุขภาพของดวงตา และช่วยป้องกันความเสื่อมที่อาจเกิดกับดวงตาได้ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง
10. มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน พร้อมทั้งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้มีสุขภาพที่แข็งแรง เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
11. ช่วยในการกระตุ้นการขับถ่ายในแต่ละวัน
เนื่องจากผักขม(ผักโขม)
อุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือกากใยอาหารปริมาณมาก
12. เหมาะสำหรับสาวๆ ที่ต้องการบำรุงผิวพรรณ
เพราะผักขม(ผักโขม) มีสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ชะลอการแก่และตายของเซลล์
13. สำหรับผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อ
หรืออยู่ในช่วงของการงดรับประทานเนื้อทุกชนิด
แนะนำให้รับประทานผักขม(ผักโขม)
เพราะผักขมมีส่วนประกอบของโปรตีนในปริมาณค่อนข้างสูง
แต่ควรรับประทานควบคู่กับอาหารจำพวกเต้าหู้ถั่วเหลือง
เพื่อให้ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์
14. มีส่วนช่วยในการบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหัวใจ
และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้
15. ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของเลือดออกตามไรฟันบ่อยๆ
ควรรับประทานผักขม(ผักโขม)
เพราะในผักขมมีส่วนประกอบของวิตามินซี ปริมาณมาก
จึงช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟันได้
16. ในผักขม(ผักโขม) จะอุดมไปด้วยวิตามินเค
ซึ่งสารชนิดนี้มีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุด
ซึ่งในผู้ป่วยที่รับประทานกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด
เช่น aspirin, warfarin ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก
เนื่องจากฤทธิ์ของผักขมจะไปต้านฤทธิ์กับกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดหนืดเกินไปได้
17. สารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่มีอยู่ในผักขม(ผักโขม)
มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
รวมถึงความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย
ไอเดียการใช้ผักขม(ผักโขม)เพื่อสุขภาพ
"ไอเดียการใช้ผักขม(ผักโขม)เพื่อสุขภาพ"
นอกจากผักขม(ผักโขม)
จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายในหลากหลายด้านแล้ว
การรู้จักนำมาใช้ให้ถูกต้องและถูกวิธีจะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกายของคนรับประทานมากยิ่งขึ้น
ซึ่งไอเดียการใช้ผักขมเพื่อรักษาและป้องกันโรคนั้น ดังนี้
1. การนำรากผักขมมาต้มน้ำเพื่อใช้อาบ
จะช่วยรักษาอาการคันที่ผิวหนัง
2. ตำรากผักขมแล้วนำมาพอกปิดแผลที่เป็นหนอง
ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
3. อีกทั้งยังสามารถนำมาพอกเพื่อรักษาฝีกลากเกลื้อน
และแผลน้ำร้อนลวกได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องล้างทำความสะอาดราก
ผักขมก่อนนำมาใช้
4. นำผักขมมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผัก
จะช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร รักษาลิ้นเป็นฝ้าละออง
ระงับความร้อน แก้พิษ แก้ช้ำใน แน่นท้อง
และใช้เป็นยาบำรุงน้ำนมได้เป็นอย่างดี
ข้อควรระวังในการใช้ผักขม(ผักโขม)
1. ในผักขมจะมีกรดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กรดออกเซลิคอยู่ค่อนข้างสูง ซึ่งสารชนิดนี้จะมีส่วนทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กในตัวมันได้ นอกจากว่าจะกินผักขมอย่างถูกวิธี
2.ไม่ควรรับประทานผักขมดิบ แต่ควรนำมาปรุงให้สุกก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการทำลายกรดออกเซลิค
3. การบีบมะนาวลงบนผักขมที่ปรุงสุกแล้ว จะช่วยให้ร่างกายของคนเราสามารถดูดซึมเอาธาตุเหล็กได้ดีกว่าเดิม
4. สำหรับผู้ที่เป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และในกลุ่มผู้ที่สะสมปริมาณของแคลเซียม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักขมในปริมาณมาก
5. ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับประทานยาในกลุ่มยา
ต้านการแข็งตัวของเลือด
เช่น aspirin, warfarin (เช่นโรคหัวใจ)
6. ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก
เนื่องจากฤทธิ์ของผักขมจะไปต้านฤทธิ์
กับกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดทำให้เลือดหนืดเกินไปได้
อาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือด
 
มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
มีข้อดีเยอะๆ ก็มีข้อเสียเหมือนกัน รับประทานมากๆ ไม่ดีแน่ ผักโขมมีกรดออกซาลิก (Oxalate)
ขัดขวางการดูดซึมธาตุแคลเซียม ผู้ที่กำลังรับประทานบำรุงเสริมแคลเซียมอยู่ไม่ควรรับประทานผักโขม ผักปวยเล้ง
จะทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมลดลง มีโอกาสไม่ดูดซึม ทำให้เกิดนิ่วได้
ดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ
ปรารถนาดี?จาก "มนุษย์?ขาดผัก"
#นิสัยรักสุขภาพทำให้คนข้างๆสุขภาพดีไปด้วย
#นิสัยรักสุขภาพ เป็นโรคติดต่อชนิดใหม่
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เต็ม สมิตินันทน์), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, USDA National Nutrient Database for Standard เอกสารอ้างอิง
เรียบเรียงข้อมูล (มนุษย์ขาดผัก) 🌱☘️🍃
โฆษณา