8 ก.พ. 2021 เวลา 06:56 • สุขภาพ
เซลล์สมองกระจกเงา
1
เคยสังเกตไหมว่า เวลาเราเห็นเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างๆ ไขว่ห้าง หรือกอดอกแล้ว ทำไมเราถึงมีแนวโน้มทำตามโดยไม่ตั้งใจ มันเป็นพฤติกรรมที่เกิดการเลียนแบบโดยไม่รู้ตัวหรือเป็นพฤติกรรมติดต่อ
พฤติกรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าในสังคมมนุษย์ มีการพยายามเลียนแบบเพื่อเหตุผลบางอย่างที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งนั่นคือที่มาของการค้นหาความจริงกับ “ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา” ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาพฤติกรรมของเด็กๆ รวมไปถึงการแก้ไขอาการอัมพาตครึ่งซีกและบำบัดอาการออทิสติก
อะไรคือเซลล์กระจกเงา
เมื่อไม่นานนี้ นักวิทยาศาสตร์ในอิตาลี ( Giacomo Rizzolatti and Laila Craighero ) ซึ่งทำงานอยู่ มหาวิทยาลัยปาร์มา ในประเทศอิตาลี ได้ศึกษาวิจัยเรื่องของเซลล์สมองกระจกเงา ( The Mirror-Neuron System ) ลงเผยแพร่ในวารสารทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ( Review of Neuroscience )
ตีพิมพ์เมื่อปีค.ศ. 2004
ค้นพบว่าในสมองของมนุษย์เรานั้นมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “Mirror Neuron” หรือ “เซลล์สมองกระจกเงา” ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ เช่นการตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การได้เห็นภาพ และการได้กลิ่น ซึ่งเซลล์กระจกเงาจะทำงานอัตโนมัติโดยไม่มีการควบคุมไปจนกว่าสมองโตเต็มที่ในช่วงอายุ 20 ปี
1
ตัวกระตุ้นที่เรารับผ่านประสาทสัมผัสเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมถึงมนุษย์ โดยเฉพาะผ่านการกระทำของผู้อื่น
ถ้าเราต้องการที่จะอยู่รอด เราต้องเข้าใจการกระทำของคนอื่น ถ้าปราศจากสิ่งนี้ ก็ไม่มีสังคมมนุษย์
ั มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นคือสามารถเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบผู้อื่น
ซึ่งเราสามารถอธิบายจากทฤษฏีเซลล์กระจกเงา
การศึกษาวิจัยครั้งแรกได้ทำการศึกษาในลิง ต่อไปจึงทำการศึกษาในคน ได้ข้อสรุปความสัมพันธ์ระหว่างเซลล์กระจกเงาและภาษา
จากการทดลองในลิงพบว่าเซลล์เฉพาะบริเวณหนึ่งในสมองส่วนพรีมอเตอร์ คอร์เทค ( premotor cortex area F5) จะถูกกระตุ้นเมื่อลิงใช้มือเคลื่อนไหว เช่นหยิบจับสิ่งของ และ เซลล์ก็ถูกกระตุ้นเช่นเดียวกันเมื่อมันเห็นลิงตัวอื่นใช้มือเคลื่อนไหวแบบเดียวกัน
สมมุติฐานนี้เรียกเซลล์เหล่านี้ว่า เซลล์กระจกเงา
( mirror neurons ) นั่นคือมันสะท้อนการเคลื่อนไหวและการทำงานของคนอื่น
นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่ง ( Hari , Cochin ) ก็ได้ยืนยันกลไกของเซลล์กระจกเงาแบบเดียวกัน ในมนุษย์
มีการใช้เครื่องตรวจสนามแม่เหล็กหรือที่เรียกกันว่า MRI. ( Functional magnetic resonance imaging ) เพื่อศึกษาตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อได้สังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของผู้อื่นเช่นปาก มือ เท้า ก็พบว่าบริเวณของสมองที่เรียกว่าพรีมอเตอร์ คอร์เทค ( Premotor cortex ) จะถูกกระตุ้นตามตำแหน่งของกล้ามเนื้อนั้น
แสดงตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของปากของผู้อื่น
แสดงตำแหน่งของสมองที่ถูกกระตุ้นเมื่อสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของมือและแขนของผู้อื่น
การพบครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวในการค้นคว้าวิจัยบทบาทของเซลล์ชนิดนี้ทั้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ การแพทย์ จิตวิทยาและสังคมวิทยารวมทั้งส่งผลให้เกิดความรู้รุ่นใหม่ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองของมนุษย์อย่างมากมาย
ทฤษฎีเซลล์กระจกเงาในระยะเริ่มแรกถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องการพัฒนาเด็ก เพราะสมองของเด็กนั้นมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้เด็กเห็นและทำให้เด็กเกิดการลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการขัดเกลาคนในสังคม ขณะเดียวกันการพยายามที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่นยังมีส่วนนำมาพัฒนาควบคู่กับการเข้าถึงภาวะจิตใจของผู้อื่นอีกด้วย กลายเป็นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพของมนุษย์
นอกเหนือจากการนำไปใช้พัฒนาเด็กแล้วในปัจจุบันทฤษฎีเซลล์กระจกเงายังถูกนำไปใช้ในการบำบัดรักษาโรคได้อีกด้วย เช่น อัมพาตครึ่งซีก และโรคออทิสติก
มีการนำทฤษฏีเซลล์กระจกเงามาใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตโดยทำควบคู่ไปกับการฝึกกายภาพบำบัดซึ่งแนวทางในการใช้ก็คือพยายามควบคุมบริเวณที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น โดยระยะเวลาในการฟื้นฟูโรคอัมพาตพบว่าการฟื้นตัวจะมีผลดีในระยะแรก 2-3 เดือนที่เริ่มมีอาการ
จากการทดลองโดยเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 76 ปี และเป็นอัมพาตไม่รุนแรง ยังมีเซลล์สมองที่ดีบางส่วนหลงเหลืออยู่
แล้วให้ผู้ป่วยดู วีดีโอและเทป เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นกิจวัตรประจำวันและทำการฉายซ้ำ พบผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นตามลำดับ
แนวคิดในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตโดยทฤษฎีนี้มีอยู่ว่า ในบรรดาเซลล์ที่ตายไปนั้น จะมีเซลล์ที่ดีบางส่วนหลงเหลืออยู่ และเซลล์เหล่านี้ถ้าหากมีการกระตุ้นที่ถูกวิธีจะสามารถฟื้นตัวและกลับมาใช้งานได้ ซึ่งเราพบว่า เมื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นและทำอะไรที่ทำอยู่แล้วทุกวันจนเคยชิน น่าจะเป็นการกระทำที่น่าจะช่วยให้การฟื้นตัวดีที่สุด
ความที่เซลล์กระจกเงาเกิดจากการร่วมมือของกลุ่มเซลล์ประสาทบริเวณกล้ามเนื้อลายซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ดังนั้นหากเกิดการกระทำขึ้นที่บริเวณใด เซลล์ประสาทจะตื่นตัวไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำจริง เกิดจากการเลียนแบบหรือเกิดจากการจินตนาการ
 
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเซลล์สมอง กระจกเงาอาจนำมาใช้อธิบายว่า
ทำไมเด็กเล็ก1-2 ขวบที่ดูทีวี วิดีโอซีดี มากๆเช่น 8 ชั่วโมง/วัน จึงมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาและสังคม พูดช้า มีภาษาแปลกๆ ไม่ค่อยทำตามสั่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่าเซลล์กระจกเงาในสมอง ถูกกระตุ้นจากการเคลื่อนไหวหรือการสื่อสารที่ผิดธรรมชาติ เช่นการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูนหรือหุ่นร่วมกับถูกกระตุ้นด้วยการสื่อสารทางเดียวคือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ภาพเหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมองเด็ก และแสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน
เรื่องที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เด็กป่า ( Farewell child ) คือเด็กเล็กที่พลัดหลงเข้าไปใช้ชีวิตกับฝูงสัตว์ในป่า เช่นลิง สุนัขป่า ในหลายๆประเทศมักจะพบเหมือนกันว่า เมื่อเด็กได้รับการช่วยเหลือออกมาภายหลัง เด็กกลุ่มนี้มักจะพูดไม่ได้ มีพัฒนาการทางภาษาและสังคมล่าช้า ส่งเสียงร้อง และมีท่าทางคล้ายสัตว์ป่าที่เด็กได้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ด้วย เป็นไปได้หรือไม่ว่าเซลล์สมองกระจกเงาของเด็กเหล่านี้ ถูกกระตุ้นด้วยการสื่อสารและพฤติกรรมของสัตว์ป่า ภาพและพฤติกรรมของสัตว์ป่าหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมอง และเด็กก็แสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน จนเกิดเป็นความผิดปกติขึ้น
นอกจากนี้อาจนำใช้สำหรับการอบรมเลี้ยงดูลูก ดังที่ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุเคยกล่าวไว้ว่า " พ่อแม่คือกระจกเงาของลูก " ถ้าพ่อแม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ไม่มีเหตุผล ภาพหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมองลูก และแสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน
และอาจใช้อธิบายว่าครูมีความสำคัญมากเพียงไรต่อสังคมและระบบการศึกษา เพราะครูคือกระจกเงาการเรียนรู้และการสอนของลูกหลานที่เรารัก
ถ้าครูเป็นคนใฝ่รู้ ชอบที่เรียนรู้อย่างมีความสุข และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ชอบค้นคว้า ชอบอ่านหนังสือ ภาพเหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมองเด็ก แต่ครูมีลักษณะตรงกันข้าม ไม่มีจิตวิญญาณครู ไม่มีเหตุผล ประพฤติตนไม่เหมาะสม ภาพเหล่านี้ก็สะท้อนเข้าไปในสมองเด็ก และแสดงออกมาในลักษณะเดียวกัน
โฆษณา