8 ก.พ. 2021 เวลา 13:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
#วิธีใช้อาวุธ TradingView
เพื่อการ "หนีดอย"​ ตอนที่ 3
มาตั้งค่าอาวุธ Indicators ต่างๆให้พร้อมรบในทุกสินทรัพย์
💭บทความนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่า ตัวผมเองตั้งค่าอะไรบ้าง
ในตัว Tradingview และวิธีการตั้งค่าต่างๆนั้นทำยังไง
แบบ Step by Step ให้คุณผู้อ่านได้ดูกัน
1. ดู "หุ้น" ให้ดู "ภาพใหญ่" แล้วไป "ภาพย่อย"
ผมมักจะเริ่มจาก Timeframe ระดับ Month แล้วไป Week
แล้วไปจบที่ Day มันจะทำให้เราเห็นภาพรวมว่า "หุ้น" ตัวนี้
อยู่ในเทรน "ขาขึ้น" หรือ "ขาลง" หรือ "Sideways"
ถามว่าดูภาพย่อยๆระดับ ชั่วโมง นาที ได้มั้ย คำตอบคือ "ได้" ครับ
แต่ว่ามันผันผวนเกินไป และไม่ค่อยแม่นยำผิดพลาดได้สูง
3
คลิกที่ลูกศร จะมี Timeframe ให้เราเลือกเยอะเลยครับ
ถ้าลงทุนระยะยาวแบบผม ให้สนใจ Month, Week, Day เป็นหลักครับ
ส่วนคนสายเก็งกำไร อาจจะใช้หน่วยที่ไวกว่านั้น เช่น 1 hour, 15 min
2
หุ้น PTTGC สำหรับกรณีศึกษาในบทความนี้
จะเห็นว่าภาพใหญ่ระดับ "เดือน" PTTGC ดูเป็น Sideways ใช่มั้ยครับจากกราฟ แบบนี้ใครจะถือยาวๆ จะพบว่าราคาอาจไม่วิ่งไปไหน แต่เป็นลักษณะหุ้นวัฏจักรมากกว่า เน้นเล่นเป็นรอบ จะได้กำไรมากกว่า ซื้อแล้วถือยาวๆ
3
💭โดย 1 แท่งเทียน = 1 เดือน
หุ้น PTTGC ระดับ Timeframe : Month
ซูมเข้ามาถึง "ระดับสัปดาห์" ก็จะพบว่า มีช่วงที่เป็น Sideway ก่อน ตอนกลางก็เป็น "ขาขึ้น" แล้วก็กลายเป็น "ขาลง" ขณะที่ปัจจบัน มีแนวโน้ม Sideways ไปทางขาขึ้น
1
💭โดย 1 แท่งเทียน = 1 สัปดาห์
หุ้น PTTGC ระดับ Timeframe : Week
ทีนี้เรามาเจาะลึกลงไปเป็นรายวันอีกทีให้เป็นภาพ ก็ดูเหมือนเป็น Sideways ช่วงแรกจนถึง ก.พ. 2020 ก่อนที่จะดิ่งลง และฟื้นตัวขึ้นถึงช่วงพ.ค. 2020 ต่อมาก็วิ่งเป็น sideways อีกรอบถึงปลายปี ก่อนที่จะกลับมาเป็นขาขึ้นแล้วจบที่ sideways ในปัจจุบัน ณ ก.พ. 2021
💭โดย 1 แท่งเทียน = 1 วัน
หุ้น PTTGC ระดับ Timeframe : Day
2. ดู "โมเมนตัม" ของหุ้นด้วย Relative Strength Index (RSI)
เพื่อจับจังหวะการซื้อ-ขาย
มาดูวิธีการเพิ่มเครื่องมือนี้จากรูปด้านล่างครับ
วิธีการเพิ่ม RSI ใน Tradingview ให้คลิกที่ไอคอน "fx Indicators" จากนั้นพิมคำว่า "Relative Strength Index" แล้วคลิกที่ข้อความ
RSI จะปรากฎออกมาอยู่ด้านล่างของกราฟแท่งเทียน
ดูวิธีการใช้ RSI แบบเจาะลึก ได้ที่ www.blockdit.com/posts/6016351319b6bf0bb73f780c
5
3. ดู "เทรน" ระยะสั้น กลาง และ ยาว แถมใช้เป็น "แนวรับ/แนวต้าน" ได้ ด้วย Moving average (MA)
1
💭คำถามที่มักเจอคือ ใช้ MA กี่วันดีที่สุด คำตอบคือ ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ กลยุทธ์การลงทุนของแต่ละคน แต่สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
...1.เส้นระยะสั้น มักใช้ 5-10 วัน แต่ผมชอบ 25 วัน เพราะลดความผันผวนได้ดีกว่า
...2.เส้นระยะกลาง มักใช้ 50,75,100 วัน ใช้ดูแนวโน้มระดับหลักเดือน หรือ หลายๆเดือนได้ดี เหมาะกับสาย Trend Follower ไม่ต้องเฝ้าจอทั้งวัน
...3.เส้นระยะยาว มักใช้ 200 วัน เป็นเส้นแสดงแนวโน้มการเคลื่อนไหวรอบใหญ่หลักปี บอกสภาวะของแนวโน้มขาขึ้นและขาลงอย่างชัดเจน
2
💭มาดูวิธีการเพิ่มเครื่องมือนี้จากรูปด้านล่างครับ
วิธีการเพิ่ม MA ใน Tradingview ให้คลิกที่ไอคอน "fx Indicators" จากนั้นพิมคำว่า "Moving Average" แล้วคลิกที่ข้อความ
ผมต้องทำทั้งหมด 4 ครั้ง เพราะต้องการ 4 เส้น คือ 25,50,100 และ 200 วัน
1
MA 4 เส้น 25,50,100,200 สีส้ม,ฟ้า,เหลือง,ม่วง ตามลำดับ
คลิกตรง "ฟันเฟือง" ที่หมายถึง "Setting" เพื่อปรับเปลี่ยนตัวเลข "วัน" ได้ตามที่เราต้องการ
Setting เพื่อปรับเปลี่ยนการตั้งค่าตัวเลข สี และอื่นๆ ของเส้น
ในหมวดหมู่ Inputs เราสามารถพิมพ์เปลี่ยนค่า "ตัวเลข" ได้ และ Style กรณีอยากเปลี่ยนสีความหนาของเส้น
ดูวิธีการใช้ MA แบบเจาะลึก ได้ที่ www.blockdit.com/posts/60139ef65c74760d0075eef6
2
4. ดูความคึกคักของตลาดจากด้วย "Volume"
หากตลาดนั้นไร้ซึ่งผู้คนจับจ่ายใช้สอย ตลาดนั้นย่อมไร้ความคึกคัก หุ้นก็เช่นกัน หากมีปริมาณซื้อขายเข้ามามากกว่าปกติ ราคาขณะนั้น ย่อมมีความผันผวน จะเป็นการทำให้เราหุ้นพุ่งขึ้นไปสูง หรือ ดิ่งลงเหว ก็เป็นได้ในช่วงตลาดที่คึกคัก
วิธีการเพิ่ม Volume ใน Tradingview ให้คลิกที่ไอคอน "fx Indicators" จากนั้นพิมคำว่า "Volume" แล้วคลิกที่ข้อความ
ภาพข้างใต้จะเห็นว่า Volume มีส่วนสำคัญที่บอกเป็นนัยให้เราได้ว่า
-ราคาหุ้นร่วงลงไปได้มาก ถ้าปริมาณการซื้อขายมาก
-ราคาหุ้นแทบไม่ไปไหน ถ้าปริมาณการซื้อขายเบาบาง
-ราคาหุ้นเริ่มขึ้นไปได้มาก ถ้าปริมาณซื้อขายกลับมามากอีกครั้ง
ภาพ "ลูกศร" ชี้ให้เห็นช่วง "Volume" ที่คึกคัก, เบาบาง, กลับมาคึกคัก-
สุดท้ายถ้าอยากปิดเครื่องมือพวกนี้ ให้คลิกที่ไอคอนรูป "ตา" เพื่อไม่ให้รกสายตาเราได้ครับ
กดคลิกที่รูป "ตา" เพื่อ "ปิด" เครื่องมือที่เราตั้งขึ้นมา และ คลิกอีกครั้งที่ "ตา" เพื่อ "เปิด" เครื่องมือที่เราอยากกลับมาดูใหม่ แต่หากไม่อยากใช้งานแล้วก็กดเครื่องหมาย "x" เพื่อลบเครื่องมือนั้นทิ้งได้เลย
สรุปหลักการ "ตั้งค่าอาวุธ Indicators ต่างๆให้พร้อมรบ" อีกครั้ง
1. ดู "หุ้น" ให้ดู "ภาพใหญ่" แล้วไป "ภาพย่อย" ด้วย Timeframe ต่างๆ
2. ดู "โมเมนตัม" หุ้นว่า "ขายมากไป" หรือ "ซื้อมากไป" จาก Relative Strength Index (RSI) หากเข้าโซนขายมากไป เราควร "ซื้อ" และ หากเข้าโซนซื้อมากไป เราควร "ขาย"
3. ดู "เทรน" ระยะสั้น กลาง และ ยาว แถมใช้เป็น "แนวรับ/แนวต้าน" ได้ ด้วย Moving average (MA)
4. ดู "ความคึกคักของตลาด" ด้วย "Volume"
3
ก็พอถือว่าเป็นแนวทางสำหรับ "การเริ่มต้น" ที่ใครอยากใช้กราฟเทคนิค เข้ามาจับจังหวะการลงทุน ซึ่งจริงๆ เรามีเครื่องมืออีกมาก แต่ผมว่า รู้มาก ก็อาจธาตุไฟเข้าแทรกได้ เลยเอาเท่านี้ไปก่อนนะครับ หากมีโอกาสจะมาเพิ่มเติมเครื่องมือน่าใช้ให้อีก
1
ผมได้ทยอยเขียนวิธีการใช้งาน Tradingview เอาไว้ก่อนหน้านี้ และรวมเป็น Series : #วิธีใช้อาวุธ TradingView หากใครสนใจสามารถเข้ามาดูเพิ่มเติมได้ที่ www.blockdit.com/series/601ccdcbd9cc0807961ced17
3
ปล. สำหรับคนใช้ tradingview แบบฟรี อาจมีข้อจำกัดในการใช้เครื่องมือหลายๆอันพร้อมกัน แนะนำให้ลบเครื่องมือทิ้ง แล้วเพิ่มเครื่องมือใหม่เข้าไปแทนนะครับ สำหรับตัวผมเองซื้อใช้แบบ Pro+ ครับ เพราะชอบ Tradingview มากๆหลังทดลองใช้ฟรีมา 14 วัน
1
หากใครสนใจว่า เราควรมี App ไหนบ้างที่ช่วยเราด้านการลงทุน
ผมได้รวบรวม 18 App ที่ "ต้องมี" ในการลงทุน
สำหรับพันธบัตร กองทุน หุ้น(ไทยและเทศ)
ETFs ทอง คริปโต ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(ยกเว้น อสังหาริมทรัพย์)
ในรูปแบบ iOS สามารถคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้เลยที่
1
เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา