10 ก.พ. 2021 เวลา 03:44 • สุขภาพ
กำมือไม่ได้ ชาปลายนิ้ว
เราเป็นอะไร???
ใคร...ที่ทำงาน โดนใช้มือกับข้อมือเยอะ แล้วเกิดอาการ ปวดมือ ปวดข้อมือ ชามือ ชาปลายนิ้วมือ นั่นคือโรคที่เกิดจากการทำงานค่ะ
https://www.paolohospital.com/th-TH
การทำงานแบบใช้มือและข้อมือเยอะเป็นแบบไหนล่ะ บางคนยังไม่เคยลองสังเกตลักษณะงานของตัวเองว่ามันทำให้เกิดโรคได้
การทำงานแบบใช้มือและข้อมือเยอะ คือ คนที่ทำงานออฟฟิตใช้คอมตลอดเวลา จับเม้าท์ คีย์คอมเยอะ หรือแม่ค้าที่ขายอาหาร มือจับตะหลิว มีดสับหมู นานๆ หรือนักกีฬา นักจิตรกรวาดรูปนานๆ ก็ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ค่ะ
http://www.naibann.com/chinese-cold-noodle-recipe/
https://today.line.me/th/v2/article/wgMO0Y
ซึ่งระยะเวลาในการก่อโรค อาจจะนานซักหน่อย คนที่ทำงานซ้ำๆ ในท่าเดิมๆ เป็นระยะเวลานานๆ มักจะบอกว่า ฉันทำงานมาตั้งนานไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย แต่ทำไมถึงมีอาการตอนนี้
อย่างที่บอกไปค่ะ แรกๆอาการปวดอาจจะหายได้ แต่เมื่อเราทำงานซ้ำๆ ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ในท่าทางเดิมๆ อาการปวดจึงกลับ จนทำให้เกิดอาการเรื้อรัง และการรักษาต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น
มาเข้าเรื่องกันเลยนะคะ โรคที่เกิดจากการทำงานดังกล่าวข้างต้น มีอยู่ 3 โรค ที่พบบ่อยๆ และเราสามารถรักษาอย่างไร ไปดูกันค่ะ
.
.
.
1.โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (carpal tunnel syndrome : CTS) หรือบางคนเรียกว่า โรคพังผืดข้อมือ
2.โรคปลอกหุ้มข้อนิ้วมืออักเสบ (De-Quervain’s disease)
3.โรคนิ้วล็อค (Trigger finger)
1
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
1
http://ihealthdb.blogspot.com/2010/12/carpal-tunnel-syndrome-cts.html?m=1
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยกลางคน จะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ถึงสองเท่า
โดยสาเหตุของโรคเกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ ซึ่งบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นอุโมงค์หรือโพรง ที่ประกอบไปด้วยผนังด้านหน้า ได้แก่ เอ็นที่เรียกว่า transverse carpal ligament ส่วนผนังด้านหลัง ได้แก่ กระดูกข้อมือ
เมื่อผนังนี้แคบลง ไม่ว่าจะจากสาเหตุใดๆ เช่นการอักเสบ การบวม การกดทับ จึงทำให้เส้นประสาท
มีเดียนถูกบีบรัด จนทำให้เกิดอาการปวดชาขึ้นมา
อาการและอาการแสดง
อาการหลักที่นำผู้ป่วยมา คือ อาการปวดหรือชา บริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
ในระยะแรกอาจจะมีการชาเป็นครั้งคราว และจะมีอาการมากขึ้น เมื่อทำกิจกรรมที่มีท่าทางเดิมๆ ค้างนานๆ ต่อมาจะมีอาการชาที่บ่อยขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมือร่วมด้วย เช่น หยิบจับของแล้วหล่น ติดกระดุมเสื้อลำบาก เป็นต้น จนกระทั่งมีอาการกล้ามเนื้อมือฟ่อลีบในที่สุด
2
ปัจจัยเสี่ยง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาชีพ การทำงานที่ต้องงอหรือแอ่นข้อมือ ค้างไว้นานๆ แล้วทำบ่อยๆ เช่น คีย์คอมพิวเตอร์ แม่บ้าน ชาวสวนยางพารา อาชีพเย็บปักถักร้อย ยูทูปเบอร์ เป็นต้น
การรักษาและการป้องกัน
1.การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
-ลดกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือ เป็นเวลานานๆ และหลีกเลี่ยงการทำงาน ที่ต้องใช้ข้อมือนาน
-รับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ
-ใส่อุปกรณ์พยุงข้อมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ
-ฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณข้อมือ
-การรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการประคบร้อน อัลตราซาวน์ การบริหารมือ ยืดเส้นประสาทมือ เป็นต้น
1
https://www.thanaphatclinic.com/therapeutic-ultrasound/
https://www.bigkidinoffice.com/content/5282/6-ท่าบริหารมือแบบง่ายๆที่ใครก็ทำได้
การแช่พาราฟินแว็ก
2.การรักษาด้วยการผ่าตัด
โรคปลอกหุ้มข้อนิ้วมืออักเสบ
https://www.huachiewtcm.com/content/6296/โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ
เป็นภาวะการอักเสบเรื้อรังของเส้นเอ็นบริเวณที่ลอดผ่านปลอกเส้นเอ็น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนัก และมีการเสียดสีมากกว่าบริเวณอื่น
เมื่อเกิดการทำงานมากๆ เส้นเอ็นเสียดสีนานๆ จนเกิดการอักเสบ ปลอดเส้นเอ็นตีบแคบมากขึ้น พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบในช่วงอายุ 30-60 ปี
ปัจจัยเสี่ยง
เกิดจากการทำงานที่ใช้นิ้วหัวแม่มือมากจนเกินไป ทำซ้ำๆ บ่อยๆ เป็นเวลานานๆเช่น คนที่ใช้เม้าส์เวลานานๆ กดมือถือด้วยนิ้วโป้งนานๆ แม่บ้านทำความสะอาด นักจิตรกร เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อาการหลักที่ผู้ป่วยพบ คือ มีอาการปวดบวมบริเวณโค่นนิ้วโป้ง และง่ามนิ้วระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง
การรักษาและการป้องกัน
1.การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
- ลดกิจกรรมที่ใช้นิ้วโป้งเป็นเวลานานๆ
- ทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ
- ใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ
- ฉีดยาสเตียรอยด์
- การรักษาทางกายภาพบำบัด ด้วยการ ประคบร้อน อัลตราซาวน์ บริหารนิ้วหัวแม่มือ
2.การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
โรคนิ้วล็อค
1
https://zeekdoc.com/post/นิ้วล็อค-trigger-finger-51
เกิดจากการหนาตัวของปลอกหุ้มเส้นเอ็นโค่นนิ้วมือ ทำให้เกิดการตีบแคบ มีผลให้เส้นเอ็นเคลื่อนไหวได้ยาก โรคนี้พบบ่อยในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย
ปัจจัยเสี่ยง
คนที่ต้องใช้งานนิ้วมือนานๆอาจจะงอหรือเหยียดนิ้วมือค้างไว้นานๆ เช่น แม่บ้าน แม่ลูกอ่อนที่อุ้มทารกนานๆ งานที่ต้องจับปากการนานๆ เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบ คือ ข้อนิ้วเหยียดไม่ออก และมีเสียงดังป๊อก เมื่อนิ้วเหยียดออก ในระยะแรกอาจจะมีแค่เสียงป๊อก แต่ยังไม่มีอาการปวด บางรายเป็นมากขึ้น จะมีอาการปวดร่วมด้วย หากเป็นนานๆไม่รักษา อาจทำให้ข้อนิ้วมือติดในท่างอเหยียดไม่ออกเลย
การรักษาและการป้องกัน
1
แนวทางหารรักษาคล้ายๆกับ สองโรคข้างต้น ค่ะ
1
Reference
แผ่นพับหน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสมุทรสาคร
โฆษณา