14 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ความล้มเหลวของกิจการ 7-Eleven ในอินโดนีเซีย
2
7-11 คือร้านสะดวกซื้อที่มีสาขามากที่สุดในโลก มีเครือข่ายมากมาย ทั้งในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และในประเทศไทย
6
แม้ว่าธุรกิจในประเทศเหล่านี้ จะปังเป็นพลุแตก แต่กับไม่ใช่กับ 7-11 ในอินโดนีเซียที่พบกับความล้มเหลวไม่เป็นท่า..
3
นับตั้งแต่ 7-11 ย่างกรายเข้ามาเป็นร้านสะดวกซื้อชั้นนำ ไม่ว่าคนกลุ่มใด ก็สามารถบริโภคสินค้าภายในร้านแบรนด์นี้ได้
1
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า 7-11 ไม่ได้ขายสินค้าที่สะดวกแก่ผู้ซื้ออย่างเดียว แต่ยังขายในสิ่งที่สะดวกต่อการขาย อยากขายอะไรก็ขาย เรียกได้ว่าตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ
5
ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ พิซซ่า ตลอดจนรับชำระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าเทอมของนิสิตนักศึกษา ไปจนถึงส่งพัสดุ
4
เมื่อทุกอย่างครบครัน จึงเป็นจุดดึงดูดให้ใครต่อใครเข้ามาใช้บริการ จนโมเดลธุรกิจสากกระบือยันเรือรบประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
1
แต่ถึงกระนั้น โมเดลดังกล่าวนี้กับใช้ไม่ได้กับประเทศหมู่เกาะแห่งอาเซียนอย่าง “อินโดนีเซีย”
4
เพราะ 7-11 เข้าไปตีตลาดอินโดตั้งแต่ปี 2009 และหลังจากนั้นเพียง 8 ปี หรือในปี 2017 ร้าน 7-11 ก็ถูกปิดตัวลงไปเกือบ 200 สาขา
2
โดยเจ้าของแฟรนไชส์อย่าง “7 and I Holdings Company” ในญี่ปุ่น ให้เหตุผลว่า บริษัทพีที โมเดิร์น อีเตอร์นาซิโอนัล ประกาศยุติกิจการทั้งหมด เนื่องจากประสบภาวะขาดทุน และยังบอกอีกว่า กำลังหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เพื่อกลับมาฟื้นฟูกิจการอีกครั้ง
2
จากเหตุการณ์ดังกล่าว นับเป็นความย้อนแย้งที่ใครๆ ต่างก็ตั้งข้อสงสัย เพราะตัวอย่างในเมืองไทยที่มีประชากร 69 ล้านคน กิจการ 7-11 ก็บูมแล้วบูมอีก มีแคมเปญอะไรก็ขายดีหมด
3
ในขณะที่อินโดนีเซียมีประชากรถึง 267 ล้านคน มากกว่าประชากรไทยเกือบ 4 เท่า ทำไม 7-11 ถึงไม่ประสบความสำเร็จ
5
นั่นก็เพราะ เหตุผลเหล่านี้..
3
1. ที่อินโดนีเซีย 7-11 ถูกออกแบบมาในลักษณะของร้านคาเฟ่ ดึงดูดลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น ให้เข้ามานั่งในร้าน เพื่อขายเครื่องดื่ม และใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฟรี ช่วงแรกๆ แม้จะได้รับความนิยมจากหนุ่มสาวชาวอินโดเป็นอย่างดี แต่ไม่นานนักการบริการรูปแบบนี้กลับกลายเป็นดาบสองคมมาทิ่มแทงตัวเอง
6
เพราะปกติ ร้านสะดวกซื้อทั่วไป จะมีรายได้มาก ก็ต้องมีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก แต่โมเดลร้านคาเฟ่ กลับตรงกันข้าม เพราะราคาของการบริการดูสูง ส่งผลให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในปริมาณน้อย และไม่นานก็กลายเป็นความไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินมากพอเพื่อใช้บริการกับ 7-11
6
2. ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านสะดวกซื้อ และร้านขายของชำ ซึ่งมีสถานที่เดียวในประเทศที่มีข้อยกเว้นคือ ‘เกาะบาหลี’ มิหนำซ้ำภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังมีอัตราที่สูงถึง 150% ซึ่งในประเทศอื่นๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือสินค้าที่ทำรายได้ให้กับ 7-11 เป็นอันดับต้นๆ
10
3. การแข่งขันที่ร้อนแรงของอุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อในอินโดนีเซีย ซึ่ง 3 ปีก่อนหน้าที่ 7-11 จะเข้าไปให้บริการในอินโดนีเซีย มีร้านสะดวกซื้อให้บริการอยู่แล้วกว่า 12,000 แห่ง และในปี 2016 เพิ่มมาเป็น 40,000 แห่ง โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว
7
และรู้ไหมว่า 7-11 ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่ครองตลาดอยู่แล้วอย่าง Indomaret ครองสัดส่วนในตลาด 47% Alphamart ครองสักส่วนตลาด 38% ในขณะที่ 7-11 กินเค้กไป 0.7% เท่านั้น
9
อย่างไรก็ดี โมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ใช่ว่าจะการันตีว่าจะประสบความสำเร็จในทุกที่ได้เสมอไป
7
เพราะดินแต่ละพื้นที่ก็ล้วนแล้วแตกต่างกัน จะให้ปลูกพืชชนิดเดียวกันแล้วจะได้กินสมใจ ก็ใช่ว่าจะเหมือนกันไม่..
23
Follow Us On “Facebook” https://www.facebook.com/swivelth
1
Follow Us On “Instragram” https://www.instagram.com/swivel.th/
1
Reference
1
Picture
Writen by DragonD
1
โฆษณา