14 ก.พ. 2021 เวลา 12:21 • ธุรกิจ
วันก่อนลูกสาววัยสี่ขวบกับผมไปร้านสะดวกซื้อแถวบ้านเพื่อเลือกช็อคโกแลตเป็นของขวัญในการเก็บกวาดชั้นหนังสือของตัวเอง (แม้ว่าหลังจากนั้นก็ทำรกอีกก็ตาม)​ เธอหยิบช็อคโกแลตแท่งยี่ห้อหนึ่งมาจากชั้นวางแล้วเดินไปจ่ายเงิน เธอยิ้มแทบอดใจไม่ไหวที่จะได้หักช็อคโกแลตเป็นชิ้นเล็กๆเข้าปาก (ความสุขของเด็กนั้นเรียบง่ายเสมอ) ผมแกล้งยื่นมือไปขอ “ป๊าขอชิ้นหนึ่งได้ไหม?” เธอหันมาทำตาขวางพร้อมบอกว่า “ป๊าไม่ได้ช่วยหนูเก็บ เอาไปนิดเดียวพอ” แล้วเธอก็หักช็อคโกแลตมาให้ผมหน่อยหนึ่งจริงๆ
ชิ้นในมือเป็นช็อคโกแลตทรงบิดเบี้ยว ที่ทำให้ผมนึกถึง Tony’s Chocolonely ช็อคโกแลตแท่งที่หักยังไงก็ไม่เท่ากัน เพราะเขาออกแบบมาแบบนั้น และมันก็มีเหตุผลรองรับที่ดีซะด้วย
1
Tony’s Chocolonely เป็นบริษัทผู้ผลิตช็อคโกแลตสัญชาติดัตช์ที่ก่อตั้งในปี 2005 พวกเขาเปิดตัวช็อคโกแลตแท่งที่มีการแบ่งส่วนอย่างไม่เท่ากันออกมา ซึ่งถ้าใครเคนทานพวก Hershey พวกนี้จะรู้ว่าแท่งหนึ่งมันแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกันให้หักแบ่งกันง่ายและเท่าเทียม แต่ถ้าใครอยากลองหักช็อคโกแลตของ Tony’s Chocolonely จะต้องบ้าตายอย่างแน่นอน
หลายคนงง, หลายคนบ่น
1
แต่พวกเขาไม่ใช่แค่อยากทำให้มันแตกต่างเพียงเพราะอยากแตกต่างหรอกนะครับผม พวกเขามีเหตุผลที่เป็นหัวใจของแบรนด์เลยก็ว่าได้ ตามเป้าหมายของบริษัทบอกว่า
“Crazy about chocolate, serious about people - A 100% Slave-Free Chocolate industry - That’s our goal”
ก่อตั้งโดย Maurice Dekker ที่มีอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์และ Teun van de Keuken ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุชาวดัตช์ซึ่งสร้างชื่อเสียงในการสืบสวนการค้าและการผลิตที่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมอาหาร มันเป็นโปรแกรมที่เกิดขึ้นจากแคมเปญที่พวกเขาทำเกี่ยวปัญหาการเรื่องแรงงานเด็กผิดกฎหมายไม่ต่างจากแรงงานทาสในอุตสาหกรรมช็อคโกแลตในแอฟริกาตะวันตก
2
โดยในตอนแรกๆนั้น Teun van de Keuken ใช้ตัวช็อคโกแลตแท่งอันนี้ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว ผ่านกระบวนการออกมาเป็นแท่งและวางขายให้กับลูกค้า เขาอยากสื่อให้ทุกคนรู้ว่ามันสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานเด็กแบบผิดกฎหมายเลย
ล็อตแรกของช็อคโกแลตขายหมดอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงจากการสนับสนุนของลูกค้าที่ชื่นชอบในไอเดีย
Dekker เลยก่อตั้งเป็นบริษัทขึ้นมา โดยใช้ชื่อของ Teun van de Keuken มาย่อเป็น “Tony” และการค้นหาเส้นทางการผลิตช็อคโกแลตแบบไม่ใช้แรงงานเด็กแบบผิดกฎหมายอย่างโดดเดี่ยว “lonely” เลยกลายเป็น Tony’s Chocolonely
การออกแบบช็อคโกแลตแท่งแบบที่มีการแบ่งกันอย่างไม่เท่าเทียมนั้นแสดงให้เห็นถึงอุตสาหกรรมช็อคโกแลตที่มีการแบ่งสัดส่วนที่ไม่เท่าเทียมกัน เอาเปรียบกันจนทำให้เกิดการใช้แรงงานเด็กแบบผิดกฎหมายในสายงานการผลิตด้วย แถมไม่พอถ้าสมมุติว่าเอาช้อคโกแลตแท่งของ Tony’s Chocolonely มาวางดู จะเห็นว่ามันเป็นแผนผังประเทศการผลิตช็อคโกแลตในแอฟริกาตะวันตกด้วย Cote d’Ivoire, Ghana, Togo, Benin, Nigeri และ Cameroon
1
เป้าหมายของส่ิงที่ช็อคโกแลตแท่งนี้ที่หักยังไงก็ไม่เท่ากันจะสื่อก็คือการให้ลูกค้าที่ซื้อไปนั้นได้หยุดและคิดสักหน่อยถึงช็อคโกแลตที่กำลังจะหยิบเข้าปาก และให้เห็นด้วยว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงๆในโลกของเรา และยังเกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้
2
ลูกค้าก็ยังงงและบ่นอยู่, แต่ทุกครั้งที่ลูกค้าบ่น เขาก็จะมีโอกาสได้พูดถึงเป้าหมายของช็อคโกแลตแท่งนี้ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เท่ากันของความไม่เท่าเทียม
1
บทเรียนจากเรื่องนี้ก็คือว่าแบรนด์สามารถแสดงจุดยืนและเล่าเรื่องราวของตัวเองไปในสินค้าได้เลย, แล้วแบรนด์ของคุณหล่ะ มีอะไรให้เล่าบ้าง?
"รู้ทันการตลาด เพิ่มโอกาสธุรกิจ" อย่าลืมกดติดตาม กด Like กด Share "#ใดใดในโลกล้วนคือการตลาด" ไว้ด้วยนะครับ
.
ต่ายและทีมงานจะมาแนะนำสาระ ความรู้ เกี่ยวกับการตลาดมาแบ่งปันให้อีกเร็วๆนี้ครับผม
.
กด See First ติดตามคอนเทนต์ใหม่ๆจากเราได้ที่ Facebook : ใดใดในโลกล้วนคือการตลาด
.
.
#ใดใดในโลกล้วนคือการตลาด #MarketingJinglebells
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา