16 ก.พ. 2021 เวลา 12:16 • หนังสือ
เทคนิคการจดโน้ตขั้นเทพ
จากหนังสือ "ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ" - ทะคะฮะชิ มะชะฟุมิ
เสียดายที่ตอนเรียนผมไม่รู้เทคนิคนี้ ไม่งั้นคงวิเคราะห์และเข้าใจเนื้อหาเรียนได้ดีกว่านี้
2
ทั้งนี้ทั้งนั้นเทคนิคนี้ยังเหมาะกับคนวัยทำงานในการวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไขและเขียนสรุป ง่าย ๆ คือเทคนิคนี้เหมาะกับทุกช่วงวัยเลยครับ
1
Book Review
ผมได้ใช้เทคนิคนี้กับการสรุปหนังสือ "อิคิไก" เพื่อมาทำพอดแคสต์ ต้องฝึกฝนอีกเยอะเลย
Q : มาดูกันสิว่าสมุดโน้ตที่เราจดนั้นเป็นสมุดโน้ตแบบไหน
ที่ควรระวังคือ "สมุดโน้ตที่ฉุดรั้งความสามารถ"
• สมุดโน้ตมอมแมม
➝ ไม่ชวนให้หยิบมาอ่าน
• สมุดโน้ตหลากสี
➝ ไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญข้อมูลได้
• สมุดโน้ตอักขระ
➝ ต้องใช้เวลาอ่านนาน นึกภาพตามไม่ออก
• สมุดโน้ตตุ้ยนุ้ย
➝ จดหลายเรื่องจนหาเรื่องที่ต้องการไม่เจอ
• สมุดโน้ตเล่มจิ๋ว
➝ ไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
• สมุดโน้ตตัดแปะ
➝ ทำให้เรากลายเป็นคนวิเคราะห์ไม่เก่ง
• สมุดโน้ตแออัด
➝ อ่านทบทวนลำบาก เข้าใจเนื้อหาช้าลง
2
สมุดโน้ตที่คุณใช้อยู่ตอนนี้เป็นแบบไหนกันนะ?
☘เทคนิคจาก "กฎ 3 ข้อ" ในการจดโน้ต
3
1. เปลี่ยนมาใช้สมุดกราฟ
2.ใส่หัวเรื่อง
3. แบ่งพื้นที่หน้ากระดาษเป็น 3 ส่วน
➝ ข้อเท็จจริง
➝ สิ่งที่วิเคราะห์ได้
➝ แนวทางปฏิบัติ
📌ก ฎ ข้ อ ที่ 1 : เ ป ลี่ ย น ม า ใ ช้ ส มุ ด ก ร า ฟ
❓แล้วทำไม "คนเก่ง" ถึงใช้สมุดกราฟละ
ในหนังสือเล่มนี้ เขามีหลักฐานอ้างอิงเลยว่านักเรียนที่สอบติดมหาวิทยาลัยโตเกียวหรือที่ปรึกษามืออาชีพอย่างบริษัทแมคดินซีย์หรือบริษัทบีซีจี (บอสตันคอนซัลติ้งกรุ๊ป) จากการสำรวจพบว่า..
❜ ─ คนเก่ง ๆ เหล่านี้ล้วนใช้ "สมุดกราฟ" ─ ❛
เหตุผลที่ใช้
‣ สมุดกราฟช่วยให้สมองจัดระเบียบความคิดได้ดีขึ้น
‣ สมุดกราฟช่วยให้เราจัดโน้ตได้เป็นระเบียบว่าสมุดแบบไม่มีเส้น
‣ สมุดกราฟของคนเก่งที่ต่างจากคนไม่เก่งคือ "อ่านง่าย" เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีการวาดแผนภูมิและกราฟประกอบด้วย
‣ สมุดกราฟที่ดี มองปราดเดียว ก็เข้าใจเนื้อหาได้ทันที
‣ สมุดกราฟซุกซ่อนพลังงาน ทำให้เราพัฒนาตัวเอง
2
📌ก ฎ ข้ อ ที่ 2 : ใ ส่ หั ว เ รื่ อ ง
ใส่บนพื้นที่ว่างด้านบนที่มีขนาดกว้าง 3-5 เซนติเมตร หลายคน (รวมถึงผม) ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเขียนหัวเรื่อง มักจะตอบว่า "จำไม่ได้" หรือไม่ก็ใส่ "วันที่ลงไป" เฉย ๆ
⭐ ตรงนี้ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเลย
เป็นส่วนที่จะบอกว่าเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถ้าไม่มีหัวเรื่องเราจะเสียเวลาอ่านกว่าจะรู้เป็นเรื่องอะไร
1
📌ก ฎ ข้ อ ที่ 3 : แ บ่ ง พื้ น ที่ บ น ห น้ า ก ร ะ ด า ษ อ อ ก เ ป็ น ③ ส่ ว น
1
การแบ่งพื้นที่กระดาษออกเป็น 3 ส่วนนั้นเป็นลักษณะเด่นที่พบได้ในสมุดโน้ตของคนเก่ง ผมแอบไปค้นข้อมูลพบว่ามีเทคนิคการจดเลคเชอร์ของ Cornell Note อยู่จริงๆ ซึ่งที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
➝ 1. พื้นที่สำหรับจดประเด็นสำคัญ/ข้อเท็จจริง
➝ 2. พื้นที่สำหรับจดเนื้อหา/สิ่งที่วิเคราะห์ได้
➝ 3. พื้นที่สำหรับเขียนสรุป/แนวทางปฏิบัติ
3 ตัวอย่างจากหนังสือ ทำไมคนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ
ตัวอย่างการจดเลคเชอร์ 3 ส่วนแบบ Cornell ที่ผมไปค้นข้อมูลมา
✏แ น ว ท า ง วิ ธี จ ด โ น้ ต ใ ห้ ดี ขึ้ น
คนที่ไม่รู้วิธีจดโน้ตจะจดเป็นคำสั้น ๆ หรือเขียนประโยคไม่ปะติปะต่อกัน เวลาอ่านทวนจะนึกไม่ออกว่า "ทำไมข้อมูลนี้ถึงสำคัญ" หรือ "จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลยังไง"
มาลองใช้วิธีจดโน้ตให้มีประสิทธิภาพกัน เพราะหน้าที่สำคัญที่สุดของสมุดโน้ตคือ "ช่วยทบทวนความจำ"
👉 1. วิธีจัดย่อหน้าอย่างเป็นระเบียบ สมุดโน้ตจะดูสวยงามทันที
เส้นกราฟช่วยให้จัดย่อหน้าได้ง่ายขึ้น
👉 2. จัดแค่ 1 หัวเรื่องใหญ่ ๆ ต่อ 1 หน้า
ถ้าไม่เคยทำ ตั้งเป็นกฎตั้งแต่นี้เป็นต้นไปคนส่วนใหญ่มักทำคือเมื่อจดเรื่องหนึ่งเสร็จ ก็เว้นแล้วเขียนเส้นแบ่งเพื่อเขียนหัวเรื่องใหม่ในด้านล่าง
เขียนหัวหัวเรื่องแบบเดียวกับพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพื่อทำให้รู้ทันทีว่าเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ซึ่งเขียนด้านบนลงมา 3-5 ซ.ม. และมีประเด็นสำคัญด้วย ไม่ควรเกิน 3 ประเด็น
👉 3. ใช้ปากกา "ไม่เกิน 3 สี"
เคยเป็นไหมที่ตรงนั้นก็สำคัญ ตรงนู้นก็ด้วย เลยใช้ปากกาเน้นข้อความไปทั่ว จนในที่สุดก็แยกไม่ออกว่าประเด็นสำคัญอยู่ตรงไหน
ลองเปลี่ยนวิธีใช้ปากกาสี
🖌สีน้ำเงิน = ช่วยเขียนได้ลื่นไหล สามารถใช้สีนี้เป็นสีเดียวในการเขียน
🖋สีดำ = เขียนเนื้อหาหรือเขียนสิ่งที่วิเคราะห์ได้แยกจากข้อเท็จจริง
🖍สีแดง = ใช้เวลาแก้ไข/เขียนความคิดเห็น
👉 4. ใช้คำเชื่อมคู่กับ "ลูกศร 3 ชนิด"
การใช้คำเชื่อมควบคู่กับลูกศร 3 ชนิด
👉 5. ใช้คำที่อ่านแล้ว "เห็นภาพ"
อย่าจดเช่นเป็นคำ ๆ จนจบประโยค เขียนคำที่ช่วยให้เห็นภาพ เช่น
• คำนามชี้เฉพาะ เช่น บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ และยุคสมัย
• คำกริยา เช่น ถาม ตรวจสอบ ส่งอีเมล
• ตัวเลข เช่น เวลา ปี จำนวนคน
👉 6. ถ้าสรุปเนื้อหาลงสมุดกราฟดี สามารถนำไปเสนอข้อมูลได้ทันที
บางบริษัทจะเรียบเรียงในสมุดกราฟและส่งให้บริษัทในอินเดียทำพาวเวอร์พอยด์แทน
2
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรคาดหวังว่าจะใช้งานสมุดกราฟได้อย่างเชี่ยวชาญในทันทีหรือในชั่วข้ามคืน
👍สิ่งที่ควรทำคือ - ˏˋ ค่อย ๆ ฝึกฝนไป ˊˎ -
ค่อย ๆ ลองทำไปทีละเรื่องและเราจะพบว่าชีวิตการเรียนและการทำงานจะสนุกขึ้น
1
หวังว่าถ้าบทความนี้สามารถช่วยให้คุณใช้ "สมุดโน้ต" ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตได้ละก็ ผมจะรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ
ขอให้ทุกคนมีวันที่ดีครับ
ขอบคุณครับ
โฆษณา