16 ก.พ. 2021 เวลา 09:14 • การเกษตร
การผลิตพืชอินทรีย์ เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐาน Organic Thailand
การผลิตพืชให้ได้ตามมาตรฐาน เกษตรกรผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจถึงหลักการปฏิบัติและข้อกำหนดของมาตรฐานการรับรอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายครับ
1
หลักการผลิตพืชอินทรีย์
"ห้าม"
• ห้ามใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนที่ได้จากการสังเคราะห์
• ห้ามใช้พืช หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากการดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
"ควร"
• ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• ปลูกพืชผสมผสาน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ลดการเข้าทำลาย
ของศัตรูพืช และเพื่อเกื้อหนุนต่อระบบนิเวศ
• เน้นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในพื้นที่ มากกว่า
การนำเข้ามาจากภายนอกพื้นที่
ข้อกำหนด 10 ประการ เพื่อได้การรับรองผลิตพืชอินทรีย์
1. พื้นที่และแหล่งน้ำ
"พื้นที่"
• เป็นพื้นที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมี หรือโลหะหนัก ไม่อยู่ติดกับ
โรงงาน ที่ทิ้งขยะ หรือเขตชุมชน
• ไม่ควรอยู่ติดแปลงปลูกพืชที่มีการใช้สารเคมีในอัตราสูง ยกเว้นมีพื้นที่มาก
เพียงพอ สามารถทำแนวกันชนป้องกันได้
"แหล่งน้ำ"
น้ำที่ใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ การทำความสะอาดผลผลิต และอุปกรณ์ที่ใช้หรือที่
เกี่ยวข้องในการผลิต จะต้องเป็นน้ำสะอาด โดยแหล่งน้ำอาจมาจากน้ำใต้ดิน สระ
แม่น้ำลำคลอง หรือน้ำชลประทานก็ได้ แต่จะต้องไม่มีความเสี่ยงในการปนเปื้อน
สารพิษ โลหะหนัก หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโทษ
1
2. การวางแผนการจัดการ
มีการวางแผนระบบการผลิตพืช รวมทั้งเลือกระบบปลูก และชนิดพืชให้เหมาะสม
กับ ฤดูกาลผลิต และสภาพพื้นที่ ได้แก่ เลือกใช้พันธุ์ต้านทาน การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชร่วมพืชแซม ในพื้นที่ หรือใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน
3. เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์
• ห้ามใช้พันธุ์พืชที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรมและหรือผ่านการฉายรังสี
• เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ควร มาจากระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ยกเว้นในกรณีที่พืชชนิดนั้นยังไม่มีการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์
• ในช่วงระยะเริ่มต้นของการผลิตพืชอินทรีย์สามารถใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตจำหน่ายโดยทั่วไปได้แต่ห้ามนำมาคลุกหรือจุ่มสารเคมีก่อนปลูก
1
4. การจัดการและการปรับปรุงบำรุงดิน
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามที่มาตรฐานกำหนดรวมทั้งต้องมีการปฏิบัติและมาตรการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
5. การจัดการศัตรูพืช
มีมาตรการ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช (โรค แมลง และวัชพืช) ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ รวมทั้งในระบบการผลิตพืชที่สอดคล้อง ตามมาตรฐานกำหนด เช่น ใช้ชีววิธี สารธรรมชาติจากพืช วิธีกล และวิธีเขตกรรม การควบคุมวัชพืช ด้วยแรงงานคน ปลูกพืชคลุม ใช้เศษพืชหรือพลาสติกคลุมดินใช้เครื่องตัด
หรือรถตัดหญ้า
6. การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
• ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ในหลักการจัดการเก็บเกี่ยว
• สถานที่ปฏิบัติงานมีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ
• ไม่นำผลผลิตพืชทั่วไปมาปะปน
• วัสดุที่ใช้บรรจุและพาหนะที่ใช้ในการขนย้ายผลิตผลมีความเหมาะสมการจัดการหลังเก็บเกี่ยว ควรทำความสะอาด และคัดแยกผลผลิตอินทรีย์ในภาชนะที่สะอาดถูกสุขอนามัย
7. การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษาและการขนส่ง
"การเก็บรักษา"
1. สถานที่เก็บรักษาผลผลิตพืชอินทรีย์ มีพื้นที่เพียงพอ สะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และสามารถป้องกันจุลินทรีย์ แมลงและศัตรูพาหะนำโรค
2. มีการเก็บรักษาผลผลิตไม่ให้ปะปนกับผลผลิตทั่วไป และแยกผลิตผลพืชอินทรีย์ ออกจากผลิตผลพืชทั่วไปอย่างชัดเจน
"การขนส่ง"
1. ภาชนะบรรจุ และพาหนะในการขนส่งสามารถป้องกันความเสียหายของผลผลิต และการสูญเสียความเป็นอินทรีย์
2. มีการป้องกันความเสียหายของผลิตผลและการสูญเสียความเป็นอินทรีย์ระหว่าง การขนส่ง
8. การบันทึกข้อมูลการผลิต
1. มีบันทึกหลักฐานและ /หรือเอกสารแสดงการผลิตพืชอินทรีย์แยกจากการผลิตพืชทั่วไปอย่างชัดเจน
2. มีการจัดทำประวัติ แผนที่ แผนผังฟาร์มที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
3. มีการจัดทำแผนการผลิตและจดบันทึกการปฏิบัติงานภายในฟาร์มที่มีข้อมูล
สำคัญเกี่ยวกับการผลิตพืชอินทรีย์ ได้แก่ การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยวทุกรอบการผลิตอย่างต่อเนื่องครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน
9. การทวนสอบ
1. มีบันทึกหลักฐานและ / หรือเอกสารที่สามารถทวนสอบได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต
2. มีการจัดเก็บบันทึกและ/หรือเอกสารการผลิตไว้ตรวจสอบอย่างน้อย 1 รอบการรับรอง
10. การแสดงฉลากและการนำไปใช้
เมื่อเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และข้อกำหนด 1 -9 แล้วจะได้รับใบรับรองและเครื่องหมายรับรองโดยสามารถนำไปใช้ในการแสดงฉลาก
ใบรับรอง
ใช้ใบรับรองแสดงหรือกล่าวอ้างเพื่อการจำหน่ายตรงกับชนิดพืชที่ได้รับการรับรองในแปลงปลูก
2. ปริมาณผลผลิตที่จำหน่ายจะต้องสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยว
3. ขนาดพื้นที่ปลูกในใบรับรองจะต้องเท่ากับขนาดพื้นที่ปลูกจริง
10 ข้อ เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกันครับ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปครับ
หน่วยงานที่รับรอง กรมวิชาการ ทั่วไปประเทศใกล้บ้านท่านครับ
โฆษณา