22 ก.พ. 2021 เวลา 10:22 • ธุรกิจ
อยากทำงานสายการบิน
ว่าแต่จะมีอะไรให้เราทำบ้างน๊าาา ⁉️⁉️
หากพูดถึงงานสายการบิน ทุกสายตาคงจับจ้องไปที่ นักบิน หรือ แอร์โฮสเตส ซึ่งก็แน่นอนว่า ตำแหน่งที่ว่านี้ก็มีการแข่งขันสูงลิบลิ่ว บางสายการบิน นี่ถึงขั้น อัตราส่วนสมัคร 100 รับ 1 คน 🤨
แต่รู้หรือไม่นอกจากงานบนฟากฟ้าแล้ว สายการบินยังมีงานอีกมากมาย ให้เลือกสรรโดยเฉพาะงานภาคพื้น ซึ่งเหมาะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ที่อยากเข้าสัมผัส งานวงการ การบิน 🛫
ก่อนเข้าเรื่อง ขอแบ่งงานให้บริการภาคพื้น ออกเป็น 2 สาย
1. สายงานให้บริการผู้โดยสารภายในอาคาร 👨‍👩‍👦‍👦
2. สายงานให้บริการอากาศยาน 🚥
ในตอนนี้เราจะมากล่าวถึง
" สายให้บริการผู้โดยสารภายในอาคาร " 🏣
ก่อนว่ามีอะไรให้ทำบ้าง ? ต้องรับผิดชอบอะไร ? รวมไปถึงจุดสูงสุดในสายงานนี้คืออะไร ?
👉 Ground staff 👈
พนักงานที่ทำหน้าที่ให้บริการผู้โดยสารภายในอาคารผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก เป็นตำแหน่งที่คนภายนอกรู้จักคุ้นเคย เป็นอันดับรองลงมาจากนักบินและแอร์โฮสเตส ถ้าเปรียบเทียบกับทหาร ก็คงเหมือนทหารเกณฑ์ รับตำแหน่งเป็นหนังหน้าไฟ กองหน้าเดนตาย ประตูบานแรกที่รอให้ผู้โดยสารแง้มมาใช้บริการ
เราสามารถเจอพวกเค้าเหล่านี้ได้ตามจุดสำคัญของสนามบินได้แก่ เคาเตอร์เช็คอิน บอรด์ดิ้งเกต เคาเตอร์ตั๋ว และ จุดรับกระเป๋า
เจ้าหน้าที่ ซึ่งทำงานใน 4 จุดสำคัญตามด้านบนนั้น ก็จะถูกเรียกโดยรวมว่า Ground staff
ในสายการบิน ที่มีขนาดใหญ่นั้น แต่ละตำแหน่งจะถูกแยกย่อยออกและทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
👉 พนักงานเช็คอิน
👉 พนักงานบอรด์ดิ้งเกต
👉 พนักงานขายตั๋วโดยสาร
👉 พนักงาน Lost and Found
ส่วนในสายการบินขนาดเล็ก สายการบินราคาประหยัด รวมไปถึง สถานีขนาดเล็ก Ground staff 1 คนอาจจะต้องทำได้ทุกตำแหน่ง ตามตารางงานที่ถูกมอบหมายในแต่ละวัน
👉 พนักงานเช็คอิน👈
🤚 หน้าที่
• ตรวจเอกสารการเดินทางของผู้โดยสาร 🛂 ให้ตรงตามเงื่อนไข ที่ถูกกำหนดโดย จังหวัดหรือประเทศ ต้นทาง-ปลายทาง ให้ข้อมูลคำแนะนำ ตรวจสอบ เพื่อให้ ผู้โดยสาร เดินทางอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักสากลกฏการบิน รวมไปถึงออกบัตรโดยสาร ( Boarding Pass )
นอกจากตรวจเอกสารแล้ว การตรวจสุขภาพจิตตัวเองก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ เป็นตำแหน่งที่รองรับอารมณ์ ทั้งสุข เศร้า เหงา รัก โลภ โกรธ หลง จากผู้โดยสาร ผสมปนเปกันในรอบวันที่ปฏิบัติงาน
ถ้าเจอผู้โดยสารมีความพร้อม เอกสารครบ อ่านกฏการเดินทางเงื่อนไขสายการบิน มาอย่างรัดกุม ก็สบายไป 😊
แต่ถ้าเจอผู้โดยสารที่ไม่สนใจอะไรเลย เอกสารไม่ครบ เงื่อนไขไม่อ่าน ที่บ้านจองให้ มาไม่ตรงเวลา น้ำหนักเกิน อันนี้เจ็บปวด เพราะหน้าที่ของ เคาเตอร์เช็คอินคือการ อธิบายในสิ่งที่ผู้โดยสารไม่อยากจะรับฟัง เช่น เอกสารไม่ครบเดินทางไม่ได้ กระเป๋าน้ำหนักเกินต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ให้ผู้โดยสารเต็มในรับฟังด้วยความสุขใจ เรื่องนี้จัดเป็นงานหิน
ไม่นับรวม เวลาเที่ยวบินมีปัญหา ดีเลย์ ยกเลิก เปลี่ยนเวลา เคาเตอร์เช็คอินก็จะต้องเป็น ด่านแรกคอยแก้ปัญหาให้ผู้โดยสารเสมอ
ตำแหน่งเคาเตอร์เช็คอิน จึงเป็นงานที่คนในอยากออกคนนอกอยากเข้า ประเภทที่ว่า ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา แต่ก็เป็นงานที่มีเสนห์ในตัว เรียกได้ว่าถ้ารอดในช่วงเริ่มต้นไปได้ และปรับสภาพจิตให้สมดุลปรับตัวจนกลายเป็นคนกร้านโลกได้แล้วก็อยู่กันได้ยาว
🤚 คุณสมบัติ
• สำหรับพนักงานเช็คอิน ที่ควรมีคือ บุคลิคภาพดี เป็นมิตรไมตรี ไหวพริบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทักษะการพูดและเจรจาใจเย็น อดทน สามารถทำงานเป็นกะและสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องมองโลกในแง่บวกได้ในทุกกรณี ทุ่งลาเวนเดอร์ต้องมี
🤚 สรุป
• เป็นตำแหน่งที่ใช้เริ่มต้นในสายงานการบิน เป็นตำแหน่งที่เปิดรับเยอะและบ่อยมากที่สุดเทียบกับต่ำแหน่งอื่น และเมื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ได้มากพอแล้วก็สามารถขยับขยายไปแผนกหรือสายการบินอื่นได้ไม่ยาก อีกทั้ง ตำแหน่ง นายสถานี 👤
ซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดของหน่วยงานให้บริการผู้โดยสารที่สนามบิน ส่วนใหญ่ ก็มักจะคัดเลือกคนมาจาก พนักงานเช็คอิน ด้วยเช่นกัน
ติดตามตอนต่อไป: 👉 พนักงานบอรด์ดิ้งเกต 👈
ขอบคุณที่อ่านกันจนจบ และ ขอขอบคุณมากไปกว่านั้นสำหรับกำลังใจอันสวยงาม ที่จะให้กันโดยการ กด Share หรือ Follow เพจ ด้วยนะครับผม 😜
สนใจสอบถาม อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม สงสัยตรงไหน ทักทายสอบถามได้เลยนะครับ มาคุยกัย 😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา