21 ก.พ. 2021 เวลา 00:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เปิดนิยาม 'ทุเรียน' โมเดล เศรษฐกิจไทยฟื้นช้าสุดในอาเซียน
นักเศรษฐศาสตร์ประสานเสียง เศรษฐกิจไทยพื้นช้ากว่าอาเซียน ด้านซีไอเอ็มบีไทย ชี้ เศรษฐกิจไทย เข้าสู่ โมเดล "ทุเรียน" แข็งนอกอ่อนใน หลังพึ่งพาท่องเที่ยวเกินไป สอดคล้องกสิกร มองเศรษฐกิจไทยฟื้นช้า โควิดกระทบในประเทศอ่อนแอ หนี้พุ่ง
5
เปิดนิยาม 'ทุเรียน' โมเดล เศรษฐกิจไทยฟื้นช้าสุดในอาเซียน
ผลกระทบจากโควิด-19 ไปทั่วโลกฉุดเศรษฐกิจทั่วโลกเมื่อปีที่ผ่านมา และยังแพร่ระบาดระลอกใหม่ต่อเนื่องในช่วงต้นปีนี้ ทำให้การคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจทั่วโลกในปีนี้เริ่มปรับลดลง ถึงแม้ว่าจะมีความหวัง การกระจายวัคซีนให้กับประชาชนในหลายประเทศแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่า “การขยายเศรษฐกิจไทยในปี 2564 และปี 2565”ยังเผชิญการฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน
1
“อมรเทพ จาวะลา”ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า ปี2564 เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่โมเดล “ทุเรียน” อีกครั้ง เป็นโมเดลทุเรียน 2.0 กรอบนอก นุ่มใน โดยกรอบนอก คือปัจจัยต่างประเทศ อุปสงค์ต่างประเทศดูดี จากการส่งออก
1
ส่วนภายในยังนุ่ม จากปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การลงทุน การบริโภคภายใน กลุ่มเอสเอ็มอี ที่ยังมีปัญหาภายใต้การท่องเที่ยวที่ยังไม่กลับมา ดังนั้นคาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียงระดับ 2-3% เท่านั้น และจะเห็นการฟื้นตัวได้เต็มที่ปี 2565
1
สวนทางกับประเทศอื่นๆในอาเซียน ที่เศรษฐกิจปีนี้จะฟื้นตัวกลับมาได้เท่ากับช่วงก่อนโควิดแล้ว ขณะที่ไทยฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อน เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเน้นการท่องเที่ยวมาก
4
ดังนั้นปีหน้าน่าจะเร่งตัวขึ้น จากการฉีดวัคซีนที่จะมีมากขึ้น และการท่องเที่ยวน่าจะกลับมา และช่วยให้การกระจายรายได้ได้ดีมากขึ้น อีกด้านที่เป็นโจทย์สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทย คือ ประเทศไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเชิงคุณภาพดีขึ้นได้อย่างไร
1
“โมเดลทุเรียนที่ว่า ยังสะท้อนเศรษฐกิจที่เปราะบาง เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงอยู่มาก โดยเฉพาะหากโควิด-19อีกรอบ แล้วหากวัคซีนมาคนจะกล้าฉีดหรือไม่ จะฉีดให้ผู้สูงอายุ หรือเด็กได้หรือไม่ดังนั้นมองว่าระดับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้ไม่ดี”
“อเล็กซานเดอร์ วอน เซอ มูเล็น” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธนาคารดอยซ์แบงก์ มองภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ คาดว่าจีดีพีจะกลับมาฟื้นตัว และเติบโตสู่ระดับ 3.8%
โดยคาดว่าจะเห็นการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาไทยและอาเซียนมากขึ้น หลังผ่านสถานการณ์โควิด-19 ที่คาดว่าจะกลับมาลงทุนได้ชัดเจนราวไตรมาส 4 ปีนี้
1
ภายหลังนักลงทุนมองเห็นผลกระทบจากโควิด-19ชัดเจน ทำให้อาจเห็นเงินไหลเข้าของต่างชาติ ที่มองโอกาสในการขยายธุรกิจเข้ามาสู่ไทย โดยเฉพาะในเขตอีอีซี และในภูมิภาคเอเชียเพิ่มในระยะข้างหน้า
4
โดยเฉพาะการย้ายฐานจากสหรัฐ ยุโรป เข้ามาในภูมิภาคเอเชียได้มากกว่าภูมิภาคอื่นๆถึง 2เท่าตัวซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการหนุน ให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและไทย มีโอกาสเติบโตมากขึ้น จากเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆที่เข้ามาหลังจากโควิด-19ผ่านพ้นไป
1
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย หรือ KResearch ที่เปิดห้อง “คุยกันเบาๆทิศทางเศรษฐกิจไทยปีนี้ ต่างก็มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังฟื้นตัวช้า เพราะการพึ่งพารายได้การท่องเที่ยวสูงมาก
“ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมุมมองว่าจีดีพีปี 2564 ขยายตัวที่ 2.6% ตามเดิม อย่างไรก็ตามยังมีหลายประเด็นที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า ตามหลังประเทศอื่นๆในอาเซียน
โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวที่สูงกว่า ขณะที่ยังต้องติดตามการควบคุมโควิด-19 ตลอดจนการกระจายวัคซีนจนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดแนวทางการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่ขณะนี้มองไว้ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปี 2564 ราว 2-4 ล้านคน
1
ดังนั้นคาดว่ากว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปที่ระดับก่อนโควิดได้ คงใช้เวลาถึงปี 2565-2566 เพราะโควิด-19 ในรอบนี้กระทบภาคธุรกิจจริงตรงๆ ต่างจากปี 2540 ที่มีจุดกำเนิดจากธุรกิจการเงิน
1
อีกทั้งการฟื้นตัวของธุรกิจหลังผ่านพ้นช่วงโควิด-19 คงไม่ทั่วถึง และยังมีโจทย์เชิงโครงสร้างรออยู่ อีกทั้งสังคมสูงอายุ ตลาดผู้บริโภคเล็กลง ปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ เป็นต้น
ส่วนแนวโน้มหนี้ครัวเรือน คาดว่ามีโอกาสเห็นมากกว่ากว่าระดับ 91% ต่อจีดีพีได้ หากเทียบกับไตรมาส 3 ปีก่อนที่ 90% ด้านธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินว่า น่าจะคงดอกเบี้ยยาวที่ 0.50% เพราะลดดอกเบี้ยไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาหนี้
1
"เกวลิน หวังพิชญสุข" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกรณีพื้นฐานไว้ที่ประมาณ 2 ล้านคน โดย “ภาคท่องเที่ยว” และธุรกิจค้าปลีก เป็นอุตสาหกรรมที่เปราะบางและน่าเป็นห่วง
จากการประเมินว่า รายได้ท่องเที่ยวอาจสูญเสียไปในช่วงปี 2563-2564 ราว 4.5 ล้านล้านบาท จากช่วงก่อนโควิด-19ในปี 2562 ส่วนยอดขายค้าปลีกอาจสูญเสียไปในช่วงปี 2563-2564 ราว 2.3 แสนล้านบาทจากก่อนโควิด-19 ในปี 2562
สำหรับภาคท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมในจังหวัดที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติมาก ขณะที่ปัญหาโควิด-19 ในครั้งนี้คงทำให้โรงแรม 30-40% อาจต้องออกจากตลาดไป หรือจำนวนไม่น้อยกว่า 4,000 แห่ง เน้นไปที่โรงแรมในกลุ่มราคาประหยัด (Budget) หรือราคาระดับกลาง (Midscale)
2
ในส่วน “ธุรกิจค้าปลีก” โดยเฉพาะร้านค้าเอสเอ็มอีในห้างที่มีจำนวน 30% ของเอสเอ็มอีภาคการค้าทั่วประเทศ ที่เป็นผู้ประกอบการเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า แม้โควิด-19 ระลอกใหม่จะไม่ปิดห้างสรรพสินค้าแต่คนเลี่ยงเดินห้าง สะท้อนกำลังซื้ออ่อนแอลง
ดังนั้นเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังไม่แน่นอน คนมีความเสี่ยงความไม่มั่นคงการมีรายได้และการมีงานทำ ทำให้คนระวังการใช้จ่าย อาจกระทบผู้ประกอบการค้าปลีก ยอดขายตก รายได้ไม่เข้า
1
สำหรับประเด็นเรื่อง Vaccine Passport ยังไม่อาจคาดหวังได้มาก เพราะยังไม่มีหลักฐานว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออีกครั้ง ดังนั้นประโยชน์คงเกิดกับเฉพาะบางประเทศที่รับความเสี่ยงได้ มาก กว่าจะเป็นประโยชน์ในระดับโลก
นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า โจทย์เฉพาะหน้า คือ การดูแลปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจและครัวเรือน คาดว่าในปีนี้จะยังเห็นผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน ในกลุ่มสินเชื่อเอสเอ็มอีและสินเชื่อลูกค้าบุคคลรายย่อยที่คงไต่ระดับขึ้น จากในปี 2563 เพิ่มขึ้นมากใกล้ระดับ 50% แล้ว
1
โดยสินเชื่อของกลุ่มเอสเอ็มอีไต่ระดับจาก 27.6% เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49% และลูกค้าบุคคลรายย่อย ไต่ระดับจาก 14.7% เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 36% แม้ว่าตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะยังไม่สะท้อนมาก เพราะยังอยู่ในช่วงมาตรการผ่อนปรนการจัดชั้นหนี้ของธปท.ก็ตาม
1
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เปราะบางนั้น ภาครัฐคงจะมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม อาทิ Asset Warehousing เพียงแต่อาจไม่เร็ว เพราะยังต้องรอรายละเอียดในหลายประเด็น ขณะที่หากมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ แนะนำให้รีบหารือกับสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องรอให้เป็นเอ็นพีแอล
โฆษณา