20 ก.พ. 2021 เวลา 22:15 • สุขภาพ
บาโธลินซีสต์
ใน#โรคของอวัยวะเพศหญิง
โรคหรือบางภาวะของอวัยวะเพศหญิง มีอยู่มากมายหลายโรคด้วยกัน
วันนี้ขอยกตัวอย่าง บาร์โธลินซีสต์ หรือถุงน้ำบาร์โธลิน ที่พบบ่อยมาเล่าก่อนนะคะ
^__* และเช่นเดียวกับสองโพสต์แรกในซีรีส์ สุขภาพของคุณผู้หญิง คุณผู้ชายจะกดผ่านเลยก็ได้ค่ะ
*คำเตือน ตอนนี้จะเริ่มน่ากลัวขึ้นมาอีกเล็กน้อย (เริ่มเข้าใกล้ความจริง)
คุณผู้ชายใจเสาะแนะนำว่า..ผ่านค่ะ
1
1. ถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน
ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินหรือศัพท์ทางแพทย์คือ Bartholin's Cyst
Bartholin’s cyst คืออะไร
เรามาดูเรื่องลักษณะกายวิภาคและเนื้อเยื่อวิทยาของอวัยวะส่วนนี้ของคุณผู้หญิง
กันก่อนค่ะ
2
ภาพต่อมบาร์โธลิน
1
ภาวะปกติ ต่อมบาร์โธลินอยู่ที่ตำแหน่งประมาณ5, 7 นาฬิกาของแคมเล็ก ขนาดประมาณ เล็กกว่าหรือเท่ากับ 1 เซ็นติเมตร จึงคลำไม่ค่อยพบค่ะ ขอขอบคุณภาพจาก Am Fam Phisician 2019, Jun 15;99(12):760-766
ดูคำอธิบายข้างล่างค่ะ
*สำหรับลักษณะภายนอก องค์ประกอบ ชื่อของส่วนย่อยของอวัยวะ และ
หน้าที่การทำงานต่าง ๆ มี blockditor น่ารักเขียนไว้แล้ว
ที่นี่👇👇👇 ขอขอบคุณ คุณWasabi มาเป็นอย่างสูงค่ะ
และที่นี่👇👇👇ขอขอบคุณ คุณหมอพ.แพร์ ด้วยเป็นอย่างสูงค่ะ
จึงขออนุญาตกล่าวถึงรายละเอียดทางกายวิภาคและเนื้อเยื่อวิทยาหรือ
จุลย์พยาธิวิทยา(histology)
โดยสรุปเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวของกับ
โรค/ภาวะ นี้ เลยก็แล้วกันนะคะ
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง
1)แคมเล็ก (Labia Minora, LM) และ
2)ช่องคลอด(Vagina, Vg)
*แคมเล็ก(LM) เป็นกลีบเล็กๆ อยู่ด้านในของแคมใหญ่
​มีหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกเข้าสู่ช่องคลอด
และ
** ช่องคลอด (Vg)เป็นช่องอวัยวะภายในที่ตั้งอยู่ระหว่างช่องปัสสาวะกับช่องทวารหนัก ยาวประมาณ 7 – 8 เซนติเมตร เป็นช่องสำหรับผ่านของตัวอสุจิเพื่อเข้าไปปฏิสนธิกับไข่บริเวณปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ รวมถึงเป็นทางออกของทารกในขณะคลอด
(คัดลอกบางส่วนมาจากเพจคุณหมอ พ. แพร์นะคะ ขอขอบคุณ)
ส่วนสำคัญของ Vg คือ ผนังภายในของช่องคลอด หรือเรียกทางจุลพยาธิวิทยา
ว่า "เยื่อบุช่องคลอด" (Vaginal mucosa)
เยื่อบุนี้เป็นเยื่อบุที่มีลักษณะทางกายวิภาค(มหพยาธิวิทยา) ที่ยืดหดตัวได้
มีเซลล์ชนิด squamous epithelium (อ่านว่า สแควมัส อีพิธีเลียม)
บุผนังด้านในของเยื่อบุอีกที(รูปที่หนึ่ง)
จากภาพจะเห็นเยื่อบุชนิด squamous cell epithelium อยู่ด้านบน เรียงตัวหลายชั้น เป็นเยื่อบุที่แข็งแรงมาก ส่วนต่อมและท่อที่เห็นในภาพด้านล่างคือ gardner duct cyst ค่ะ ขอบคุณภาพจาก วิกิพีเดีย Credit: By Ed Uthman from Houston, TX, USA - Gartner Duct Cyst (low power)Uploaded by CFCF, CC BY 2.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=30104334
สแควมัส อีพิธีเลียม(ขอย่อว่า sq epith) เป็นเซลล์เยื่อบุที่แข็งแรง ทำหน้าที่ปกป้อง
เยื่อบุของช่องคลอด ให้ปราศจากอันตรายของเชื้อโรค และหรือแรง/การกระทบ
จากการมีเพศสัมพันธ์
นอกจากเยื่อบุชนิด sq epith cells นี้แล้ว บริเวณปากช่องคลอดยังมี ต่อมขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ขับน้ำเมือกมาเลี้ยงช่องคลอด เรียกว่า"ต่อมบาร์โธลิน"
(Bartholin Grand)
ซึ่งมีหน้าที่หลั่งเยื่อเมือกอย่างมากมายมาปกป้องเยื่อบุช่องคลอด ผนังช่องคลอด
และยังสามารถปกป้องไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด
คืบคลานเข้าไปส่วนลึกภายในของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่สำคัญ คือโพรงมดลูก
ท่อนำไข่ และ รังไข่
ในภาวะปกติ ต่อมบาร์โธลิน นี้จะเล็กแทบไม่สามารถคลำได้ แต่เมื่อเกิดภาวะอุดตัน
ของท่อระบายเยื่อเมือก หรือเกิดมีตำหนิบางอย่างของการเจริญพันธุ์ของเนื้อเยื่อบริเวณนี้
ที่ทำให้มีรอย/รูเปิดของต่อมผิดปกติ
เกิดการขังของน้ำเมือก นาน ๆ เข้าจนเกิดเป็นถุงน้ำ จะทำให้สามารถคลำต่อมนี้ได้
(รูปที่สอง)
ในภาวะปกติ ต่อมบาร์โธลิน นี้จะเล็กไม่สามารถคลำได้ เครดิตภาพจาก Am Fam Physician. 2019 Jun 15;99(12):760-766.
คนไข้จึงมักมาพบแพทย์ด้วยเรื่องการคลำเจอถุงน้ำ การปวดหน่วงที่อวัยวะเพศ และ/หรือถ้าเกิดการอักเสบจากเชื้อโรคบริเวณนี้ ซึ่งมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย ก็สามารถเกิดเป็นฝีหนองที่ถุงน้ำหรือต่อมบาร์โธลินนี้ได้
1
สาเหตุของ Bartholin's Cyst
ต่อมบาร์โธลินเป็นต่อมขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่ว โดยปกติจะไม่สามารถคลำพบได้
เพราะขนาดเล็กมาก(ขนาดราว ๆ 1 เซนติเมตร)
ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตสารหล่อลื่นส่งผ่านทางท่อเล็ก ๆ ไปสู่ช่องคลอด หากท่อดังกล่าวเกิดการอุดตันจะทำให้สารหล่อลื่นนี้ไม่สามารถไหลออกมาเพื่อหล่อลื่นช่องคลอด จึงอาจทำให้เกิดสะสมของสารหล่อลื่นและบวมขึ้นเป็นถุงน้ำได้ในเวลาต่อมา
อาการของ Bartholin's Cyst
คนไข้จะคลำได้ว่าต่อมบาร์โธลินด้านใดด้านหนึ่งเกิดการบวมขึ้นเป็นถุงน้ำหรือซีสต์
พบได้ในเกือบทุกช่วงวัยของเพศหญิง ตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์ไปจนถึงวัยก่อนหมดประจำเดือน
1
บางกรณีที่เกิดการอุดตันที่บริเวณปากต่อมบาร์โธลิน จะทำให้สารหล่อลื่นที่ถูกผลิตออกมาไหลกลับไปภายในต่อม ทำให้อาการบวมขึ้นแต่ยังไม่ปวด
เรียกว่าถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน
แต่หากของเหลวที่สะสมภายในถุงน้ำเกิดการติดเชื้อ จะทำให้เกิดหนองและกลายเป็นฝีได้ เราเรียกว่า ต่อมบาร์โธลินอักเสบ
1
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันของท่อลำเลียงสารเมือกในช่องคลอด ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกิดได้จากการเติบโตที่ผิดปกติของผิวหนัง การได้รับการบาดเจ็บ หรือการระคายเคือง
ในบางกรณีอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในแท้
หนองในเทียม รวมถึงการติดเชื้ออีโคไล
(E. coli) หรือแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
หากก้อนนูนหรือถุงน้ำมีขนาดเล็ก ไม่มีการอักเสบ เราอาจไม่รู้หรือสังเกตุได้ เพราะมักไม่มีอาการเจ็บปวด
แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้นอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเอาถุงน้ำออก
ซึ่งวิธีผ่าตัดนี้ ไม่ยุ่งยาก สามารถทำการผ่าตัดแบบเคสผู้ป่วยนอก และกลับบ้านได้เลยในวันเดียวกัน
วิธีการรักษา
ถุงน้ำบาร์โธลิน หรือ Bartholin's Cyst การรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดและอาการที่เกิดขึ้นจากการอักเสบ
ในบางครั้งการดูแลตนเองที่บ้าน เช่นนั่งแช่น้ำอุ่น ก็สามารถทำให้หายเองได้
หรืออาจใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยลดการติดเชื้อของต่อมบาร์โธลิน
เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยมักรุ้สึกตึง หน่วง หรือคลำได้ถึงก้อนเนื้อที่บวมขึ้นแถวตำแหน่งอยู่ใกล้บริเวณปากช่องคลอด และมักจะมีอาการร่วมด้วยดังนี้ได้แก่
1. รู้สึกเจ็บปวดบริเวณก้อนที่นูน
2. รู้สึกไม่สบายตัวขณะเดินหรือนั่งลง
3. รู้สึกเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
4. มีไข้
1
ถ้ามีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่ก้อนนูนใกล้ปากช่องคลอดนี้ และอาการไม่ดีขึ้นหรือใหญ่ขึ้น มีไข้ ควรรีบพบแพทย์
หรือหากผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40 ปี พบว่ามีก้อนนูนเกิดขึ้นในบริเวณปากช่องคลอดก็ยิ่งควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ได้โดยเฉพาะโรคร้ายแรงเช่นโรคมะเร็งของต่อมนี้เอง หรือของอวัยวะใกล้เคียง
*การป้องกัน Bartholin's Cyst
การเกิด Bartholin's Cyst ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่พบวิธีที่ป้องกันได้อย่างสิ้นเชิง
1
แต่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงอาจลดความเสี่ยงได้โดยการรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ก็อาจช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิด Bartholin's Cyst ได้
และเมื่อสงสัยว่าตนเองมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง
การรักษาโดยวิธีผ่าตัด แพทย์มีวิธีดังนี้
1. การผ่าตัดเอาหนองออก
หากผู้ป่วยใช้วิธีดูแลตนเองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการเจ็บปวดรุนแรง ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเอาหนองออกโดยอาจให้ยาชาก่อนการผ่าตัด
และจะทำการใส่ท่อระบายหนองที่ค้างอยู่ภายใน
ซึ่งแพทย์อาจคาท่อระบายหนองไว้เพื่อระบายหนองจนหมด ร่วมกับสั่งจ่ายยา
แก้ปวดให้ผู้ป่วยรับประทาน
2. การผ่าและเย็บปากถุงน้ำบาร์โธลิน (Marsupialization)
ในกรณีที่เกิด Bartholin's Cyst ซ้ำอีก แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีผ่าตัดเปิดปากถุงน้ำออกแล้วเย็บปากถุงน้ำกับขอบแผล
(รูปที่สาม)
ขอวาดเองนะคะ ก้อนกลม ๆ คือ Bartholin cyst(ซ้ายมือ) ขวามือ เมื่อเอาถุงน้ำ Bartholin cyst ออกแล้ว จะเย็บเปิดปากถุงไว้ก่อน เรียกการผ่าตัดแบบนี้ว่า marsupialization
โดยแพทย์จะรักษาอาการอาการอักเสบที่เกิดขึ้นโดยให้ยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด
วิธีนี้เป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลาไม่นานและผู้ป่วยสามารถกลับบ้านภายในวันเดียวกัน
 
การผ่าตัดเอาต่อมบาร์โธลินออก หากรักษาด้วยวิธีการข้างต้นแล้วอาการผิดปกติ
ยังไม่หายไป แพทย์อาจแนะนำให้ตัดต่อมบาร์โธลินออก แต่พบได้น้อยโดยต้องผ่าตัดภายใต้การวางยาสลบและทำการผ่าตัดในโรงพยาบาลเท่านั้น
นอกจากนี้ ในกรณีที่พบว่าผู้ป่วยมีอาการอักเสบหรือเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาปฎิชีวนะตามที่แพทย์อาจสั่ง เพื่อช่วยลดการอักเสบ
อ้างอิง
2. Am Fam Physician. 2019 Jun 15;99(12):760-766.
Keywords
# Bartholin gland
# Bartholin cyst
# Bartholin abscess
# Marsupialization operation

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา