21 ก.พ. 2021 เวลา 13:32 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มุมมองทองคำ ประจำสัปดาห์
วันอาทิตย์ที่ 21 ก.พ. 2021
1
"เมื่อทองคำ ลงไปต่ำกว่า 1,800 อีกครั้ง"
🌟บทความที่ 4 ของมุมมองทองคำประจำสัปดาห์จาก "หนีดอย"
สัปดาห์ที่ผ่านมาถือว่าทองคำได้หลุด 1,800 อีกครั้ง (ระหว่าง 15-19 ก.พ. 2021)
โดยระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมา ทองคำทำจุดสูงสุดที่ 1,826 USD/Oz.
และทำจุดต่ำสุดที่ 1,760 USD/Oz. ราคาผันผวนราวๆ $66
โดยล่าสุดราคาทองคำปิดที่ $1,783
1
🌟มุมมองทองคำ ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆคือ
1. ปัจจัยทางเทคนิค
2. ปัจจัยทางพื้นฐาน
เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจเข้าลงทุนทองคำได้ครับ
2
#ปัจจัยทางเทคนิค
💭หลังจากทองคำทำจุดต่ำสุดที่ 1760 ก่อนหน้านี้ ซึ่งถือว่าต่ำสุดของปีนี้เลยก็ว่าได้ ทองคำก็กลับไปปิดที่ 1783 โดยยังไม่กลับไปยืนเหนือ 1800 อีกครั้งเหมือน 2 สัปดาห์ก่อน และอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย (MA) 200 วัน(เส้นสีม่วง) ที่ 1857 ใน Timeframe ระดับ Day จะเห็นว่า แนวโน้มระยะสั้นยังคงเป็น Downtrend หรือขาลงอยู่ครับ ไม่ว่าจะเป็น MACD อยู่ในช่วงติดลบ และ RSI อยู่ที่ 36 โดยประมาณ ในความเห็นผมคิดว่า "ทองคำอาจปรับลงได้อีก"
3
💭ทองคำมีแนวรับที่สำคัญคือ 1730 โดยประมาณ และแนวรับสำคัญที่ 1660 โดยมีแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาคือ 1800
3
💭เมื่อเปรียบเทียบกับ US dollar index ของภาพกราฟฝั่งขวา โดยล่าสุดปิดที่ 90.36 เป็นการปรับตัวลดลงมาจากสัปดาห์ก่อนที่ 90.42 จุด
#ปัจจัยทางพื้นฐาน
💭เนื่องจากทองคำนั้นสัมพันธ์กับ Real Yield โดยล่าสุดมีการปรับตัวสูงขึ้น อยู่ที่ -0.812% ขณะที่สัปดาห์ก่อนอยู่ที่ -1.014% ซึ่งผมมองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะครับ (ดูจากกราฟดีดขึ้นมาชัดเจน)
💭โดย Real Yield ดูได้จาก U.S. 10 Year TIPS
ซึ่งมีสมการคือ Real yield = Nominal yield - Expected inflation rate
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล - ความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ
(ข้อมูลจาก www.cnbc.com/quotes/US10YTIP)
💭ข้อมูลถัดมาที่อยากให้ดูคือ การถือครองทองคำย้อนหลังของ SPDR® Gold Shares กองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับข้อมูลการถือครองของ SPDR Gold Shares (GLD)
💭จะพบว่ามีการลดการถือครองลงมาเป็น 1,127.64 ตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้วที่ปริมาณ 1,142.22 ตัน โดยทั้งเดือนมกราคมมีการขายออกไป 10.61 ตัน ซึ่งพอๆกับปริมาณการขายในช่วงเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว และเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีขายออกไป 32.49 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเยอะครับ เมื่อเทียบกับสถิติในรูป
1
การเปลี่ยนแปลงการถือครองทองคำของกองทุน SPDR GOLD SHARE : 21 FEB 2021
กราฟเปรียบเทียบปริมาณถือครองทองคำ กับ ราคาที่เข้าซื้อขาย : 21 FEB 2021
สรุปรายเดือน/รายปี ปริมาณการถือครองทองคำกองทุน SPDR Gold Share : 21 FEB 2021
💭นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานต่อมาที่ส่งผลต่อราคาทองคำได้อีกก็มาจาก
1. การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 1.35% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2563 ซึ่งถือเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ในการถือครองทองคำครับ เพราะไม่มีผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเหมือนพันธบัตร เลยเกิดการเทขายทอง
2. ทางสหรัฐฯเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยยอดค้าปลีกเดือนมกราคมที่ผ่านมา พุ่งขึ้น 5.3% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการที่ชาวอเมริกันได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรการเยียวยาวงเงินเกือบ 9 แสนล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐเมื่อช่วงปลายเดือนธ.ค. 2563
💭จากข้อมูลทั้งหมดทั้งทางเทคนิคที่ยังไม่มีสัญญาณขาขึ้นระยะสั้นชัดเจน แถมหลุด 1,800 และทางพื้นฐานที่ยังไม่มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นต่อทองอย่างชัดๆ ภาพรวมจึงออกมาไปในทางลบกดดันต่อราคาทองคำในระยะสั้น ทำให้กรอบราคาของทองคำกลับมาซื้อขายกันช่วง 1,760-1,800 USD/Oz. หรืออาจลงไปต่ำกว่าเช่น 1730 USD/Oz.
💭มุมมองของผมในระยะยาวที่ Fed ยังคงทำ QE จากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง มีผลทำให้เงินสกุลดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำในระยะ 2-3 ปีนี้ ที่สามารถขึ้นมาอยู่ในระดับ 2000 USD/Oz. ได้เป็นอย่างน้อย หรือมากกว่า แม้ช่วงนี้ทองคำจะถูกกดดันอย่างหนักจากปัจจัยข้างต้น
💭โดยมีแนวรับที่น่าเข้าสะสมทองคำที่ระดับ 1730, 1765, 1785, หรือ 1800 เพื่อคงปริมาณทองคำอยู่ในพอร์ทการลงทุนราวๆ 5-15%
1
💭กรณีที่คนมีแล้วอยากจะขายรินกำไรออก ก็มีแนวต้านตั้งแต่ 1,840, 1865, 1890, 1900, 1920, 1965 ครับ ที่พอทยอยขายได้
4
💭หากอ่านบทความนี้แล้ว ใครที่ต้องการลงทุนทองในกองทุนทองคำ ก็มีอยู่หลายกองครับ จะเป็นแบบ Hedge ค่าเงิน อย่าง SCBGOLDH หรือมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินก็ได้ หรือจะเลือกแบบไม่ Hedge ก็ได้เช่นกันครับ อย่าง SCBGOLD
💭สำหรับคนที่ต้องการลงทุนในกองทุนทองคำที่ไม่ Hedge ค่าเงิน หากเงินบาทอ่อนค่าและราคาทองคำขยับขึ้น ก็เหมือนได้กำไรทั้งค่าเงิน และกำไรส่วนต่างจากราคาทองคำ
💭 กลับกันหากเงินบาทแข็งค่า เราก็จะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนครับ ซึ่งหลังจากไบเดนได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ และมีนโยบายการค้าที่ดูสนับสนุนเงินทุนไหลเข้าเอเชีย ก็อาจส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปอีก ซึ่ง ณ ที่เขียนบทความ ค่าเงินบาทก็อยู่ที่ 29.97 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้วครับ
💭 ผมเลยอยากแนะนำให้เลือกเป็นกองทุนที่ Hedge ค่าเงินมากกว่า แต่สุดท้ายก็แล้วแต่การตัดสินใจครับ ส่วนจะเป็นกองไหนก็ได้นะครับ ไม่จำเป็นต้อง SCB เท่านั้นครับ
💭ภาพกราฟภาพแรกสุดที่เห็นมาจาก Tradingview.com
หรือสามารถโหลด app ชื่อ Tradingview มาใช้ได้ครับ
เป็น 1 ใน app แนะนำ ที่ทุกคนควรมี
มีแบบ version ฟรี ที่จำกัดการใช้เครื่องมือ
กับ version เสียเงิน ที่มีฟังก์ชันให้ใช้งานมากขึ้นแบบไม่มีกั๊ก
💭หากใครสนใจว่า เราควรมี App ไหนบ้าง
ที่ช่วยเราด้านการลงทุน
ผมได้รวบรวม 18 App ที่ "ต้องมี" ในการลงทุน
สำหรับพันธบัตร กองทุน หุ้น(ไทยและเทศ)
ETFs ทอง คริปโต ค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(ยกเว้น อสังหาริมทรัพย์)
ในรูปแบบ iOS สามารถคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้เลยที่ >>> blockdit.com/articles/600ad03130959805a11ae4d8
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
 
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา