22 ก.พ. 2021 เวลา 01:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"แอนโทไซยานิน" สารต้านอนุมูลอิสระสามสี
แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นรงควัตถุชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปในพืช ทั้งส่วนของดอก และผล
พบมากในผักและผลไม้ที่มีสีน้ำเงิน สีแดง และสีม่วง เช่น กะหล่ำปลีม่วง, มันเทศสีม่วง, ชมพู่มะเหมี่ยว, ชมพู่แดง, ลูกหว้า, ข้าวแดง, ข้าวนิล, ข้าวเหนียวดำ, ถั่วแดง, ถั่วดำ, หอมแดง, ดอกอัญชัน, เผือก, หอมหัวใหญ่สีม่วง, มะเขือม่วง, พริกแดง, องุ่นแดง-ม่วง, แอปเปิ้ลแดง, ลูกไหน, ลูกพรุน, ลูกเกด, บลูเบอรี่, เชอรี่, แบล็กเบอรี่, ราสเบอรี่, สตรอเบอรี่ เป็นต้น
1
แอนโทไซยานิน จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มักใช้เป็นสารให้สีตามธรรมชาติ มีโครงสร้างประกอบด้วย
1. แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidins) หรืออะไกลโคน (Aglycone)
2.น้ำตาล
3. กรด (อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)
2
สีของแอนโทไซยานินจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH)
โดยจะมีสีแดง🔴ในสภาพที่เป็นกรด (pH<7)
มีสีม่วง🟣เมื่อเป็นกลาง (pH=7)
และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน🔵ในสภาพที่เป็นด่าง (pH>7)
สารแอนโทไซยานิน มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ลดอาการอักเสบ ลดคอเลสเตอรอล และต้านไวรัส
1
ทำให้มีการนำสารชนิดนี้มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงามมากขึ้น
ผักผลไม้สีแดง🔴 มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ซึ่งมีสารไลโคปีน เบตาไซซีน และกรดเอลลาจิก ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดไขมันในเส้นเลือด รวมทั้งช่วยดูแลสุขภาพของหัวใจและช่วยให้ผิวสวยเปล่งปลั่งอีกด้วย
**สีแดง เป็นสีที่ส่งผลกับอารมณ์โดยตรง ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ร้อนแรง และตื่นตัว จึงกระตุ้นความอยากอาหารได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณภาพจาก sites.google.com
ผักผลไม้สีม่วง🟣 และน้ำเงิน🔵 อุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ และแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ในการบำรุงเส้นผมให้เงางาม และสามารถช่วยป้องกันเซลล์จากการอักเสบต่างๆ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดริ้วรอย ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ชะลอการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดและการเกิดโรคหัวใจ
**สีน้ำเงินและสีม่วง โดยธรรมชาตินั้นพบได้น้อยในอาหารหรือพืชผลต่างๆ ทำให้สามารถช่วยลดความอยากอาหารได้ดี  เพราะเมื่อเรามองดูอาหารที่มีสีเหล่านี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่าแปลก และไม่คุ้นตาเท่าไหร่
ขอบคุณถาพจาก jelly.in.th
#ประโยชน์ของสารแอนโทไซยานิน
1. ช่วยดูดซับอนุมูลอิสระ : เนื่องจากแอนโทไซยานินทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการเมทาบอลิซึม (Metabolism) ภายในสิ่งมีชีวิต
ทำให้สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
โดยพบว่าแอนโทไซยานินมีประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซี และวิตามินอี ถึง 2 เท่า
2. ใช้เป็นสีย้อมอาหาร : ผลิตภัณฑ์สีผสมอาหารแอนโทไซยานินจะอยู่ในรูปแบบผงและของเหลว
สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ เมื่อจะทำอาหาร หรือจะผสมกับส่วนของไข่ขาว เพื่อใช้เป็นสารช่วยให้ความคงตัวแทนการใช้แป้ง อีกทั้งยังเพิ่มความคงตัวให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีค่า Water activity ต่ำ
** Water activty เป็นค่าที่แสดงระดับพลังงานของน้ำ มีความสำคัญต่ออายุการเก็บรักษา การเสื่อมเสีย และความปลอดภัยของอาหาร
3. ใช้เป็นส่วนผสมในแชมพู ครีมนวดผม : ช่วยกระตุ้นให้รากผมสร้างผมได้มากขึ้นถึง 3 เท่า
1
4. ใช้เป็นส่วนผสมในสารกันแดด : ช่วยให้ผิวหนังดูอ่อนกว่าวัย ชะลอความเสื่อมสภาพของผิวหนัง
2
เนื่องจากสารแอนโทไซยานินจะไปช่วยยับยั้งความเสียหายของผิวหนังจากกระบวนการออกซิเดชันที่เกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต และถ้าใช้ร่วมกับวิตามินอีจะทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และสารนี้สามารถใช้ทำสบู่ได้อีกด้วย
5. ช่วยในการผสมเกสร : เนื่องจากแมลงจะชอบสีสันของดอกไม้ เช่น
ผึ้งชอบดอกสีน้ำเงิน หรือสีเหลือง และมีลายเส้นของดอกไม้ที่โดดเด่น
ผีเสื้อชอบดอกสีแดง และสีชมพู
นกชอบดอกสีแดง และสีส้ม
ส่วนด้วงและค้างคาวชอบดอกสีไม่สดใส และไม่ฉูดฉาด
6. ช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต : เนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลตมีความยาวคลื่นสั้น จึงมีพลังงานสูง และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยจะไปขัดขวางการจำลองแบบของ DNA มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของยีน และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้
**ปริมาณของแอนโทไซยานินที่มนุษย์สามารถบริโภคได้เฉลี่ยสูงสุด คือ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
จริงๆแล้วผักผลไม้สามารถแบ่งสีได้ทั้งหมด 5 สี นะคะ
1. สีแดง
2. สีส้มและสีเหลือง
3. สีเขียว
4. สีน้ำเงินและสีม่วง
5. สีขาวและสีน้ำตาล
อย่าลืมกินให้ครบทุกสีด้วยนะคะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา