24 ก.พ. 2021 เวลา 10:07 • ธุรกิจ
บทสรุป ของ Facebook กับ ประเทศออสเตรเลีย ในเรื่องการเรียกเก็บเงินค่าเนื้อหาของข่่าวที่ได้จากสื่อของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งออสเตรเลีย ถือเป็นประเทศแรกที่เรียกเก็บเงินจากทาง Facebook และ Google
เมื่อเช้าได้ฟังข้อสรุปของทาง Facebook และ ออสเตรเลีย ในการฟัง Clubhouse ในห้อง ๆ หนึ่งของผู้สัดทัดกรณีทางด้านไอทีท่านหนึ่งในกรณีที่เมื่อปีที่แล้ว ทางรัฐบาลออสเตรเลียกำลังออกกฏหมายเรียกเก็บเงินค่าเนื้อหาข่าวจากสื่อ ที่นำไปลงใน Facebook และ Google ซึ่งทางรัฐบาลออสเตรเลียถือว่าเป็นการเรียกร้องที่มีความยุติธรรมที่สุด
ทาง Google ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ในการจ่ายค่าเนื้อหาของข่าวดังกล่าว แต่ทาง Facebook เองได้มีการตอบโต้ โดยงดการนำเสนอข่าวทุกข่าวของออสเตรเลียโดยทันที เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียค่าเรียกเก็บในครั้งนี้
เรามาดูเหตุและผลกัน ว่าทำไมทางรัฐบาลออสเตรเลียถึงคิดเช่นนั้น ส่วนตัวผมเอง ก็เข้าใจทั้ง 2 ฝ่ายนะครับ เพราะต่างคนต่างทำหน้าที่ของสื่อ ที่ะจำนำเรื่องราว และ ข่าวสารต่าง ๆ ไปสู่ประชาชน เพื่อให้ได้รับรู้ข่าวสาร และ กระจายไปให้ได้มากที่สุด
ประเด็นอยู่ที่ว่า ข่าวที่ทางสื่อ Social เอาไปลงนั้น ๆ มันมีต้นทุนในการทำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ลงไปในพื้นที่ทำข่าว ทำ content ช่างไฟ ค่าเดินทางต่าง ๆ รวมไปถึงค่าแรงในการตัดต่อ ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นข่าว 1 สกู๊ป ต้องมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย ซึ่งทางแหล่งข่าวเอง ถือว่ามีต้นทุนในการทำข่าวออกมา แล้วอยู่ดี ๆ สื่อทาง Social ก็เอาไปลง เอาไปโพสแบบฟรี ๆ สร้างยอดผู้เข้าชมให้กับสื่อของตัวเอง
ทางรัฐบาลออกเตรเลียเอง จึงเล็งเห็นว่ามันจะไม่เป็นการยุติธรรมที่ทางสื่อ Social จะนำข่าวไปใช้แบบฟรี ๆ
ส่วนทางด้าน facebook เองที่ตอบโต้ทางประเทศออสเตรเลีย โดยการหยุดนำเสนอข่าว หรือ หยุดโพสเนื้อหาข่าวต่าง ๆ นั้น ก็ถือว่าเป็นการยุติธรรม เพราะถ้าให้คิดก็ประมาณว่า ถ้าขายข่าว เราก็ไม่ซื้อ ก็ไม่ไม่เอามาลงเท่านั้นเอง คนที่ได้รับผลกระทบก็คงจะเป็นประชาชน ที่ถูกปิดกั้นข่าวสารต่าง ๆ สำหรับผู้ที่เสพข่าวจากทาง facebook ซึ่งถือเป็นการปิดกั้นข่าวสารอย่างหนึ่งเหมือนกัน
สุดท้าย ผลสรุปของการตกลงและเจรจากัน จึงได้ข้อยุติลงที่ว่า ทาง Facebook จะยอมจ่ายค่าเนื้อหาของข่าวบางข่าวเท่านั้น หรือ ตามแต่ที่ทาง Facebook เห็นสมควร ว่าเนื้อหาของข่าวนั้น ๆ ควรค่าแค่การจ่ายหรือไม่ ไม่ใช่ว่าจ่ายให้ทุกกรณี
ซึ่งก็ถือว่าเป็นการยุติธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย และ เป็นการจบกันด้วยดี win win ทั้งคู่ ประชาชนเองก็จะได้รับข่าวสารที่ดี ที่เป็นประโยชน์ และ ได้ผ่านการคัดกรองมาอย่างดีแล้ว
ประเทศต่าง ๆ ก็น่าจะทำกันบ้างนะครับ ไม่ใช่ว่าเอาข่าว เอาเนื้อหาของคนทำมาลงกันฟรี ๆ เพื่อเรียยอดไลค์ยอดคนดู เปรียบเสมือนการละเมิดลิขสิทธิ์เลย ต่อ ๆ ไป อาจจะเห็นหลาย ๆ ประเทศเริ่มทำตามกันบ้างก็ได้นะครับ เงินทองจะได้ไม่รั่วไหลไปให้สื่อ Social ต่าง ๆ ที่เข้ามาแสวงหาผลปรโยชน์จากตรงนี้
โฆษณา