24 ก.พ. 2021 เวลา 10:50 • ไลฟ์สไตล์
อยากหย่าทำอย่างไร?
1
"ไม่มีใครคนไหนแต่งงานเพื่อที่จะหย่า" แต่เมื่อชีวิตคู่ได้เดินมาถึงทางตัน และหมดทางเยียวยาให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมแล้ว "การหย่า" อาจเป็นวิธีหนึ่งสำหรับการยุติปัญหาทั้งหมด และเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ตามทางของตัวเอง
1
อยากหย่าทำอย่างไร?
ตามกฎหมายไทย การหย่ามี 2 รูปแบบ
1. การหย่าโดยที่คู่สามีภรรยาตกลงยินยอมกันทั้งสองฝ่ายและมีการร่างสัญญาลงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ทรัพย์สิน และหน้าที่การเลี้ยงดูบุตร
2. การหย่าโดยคำสั่งของศาล ซึ่งเกิดจากการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำการยื่นองต่อศาลเพื่อขอหย่าด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น สามีหรือภรรยามีชู้ มีการทำร้ายร่างกาย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้อีกฝ่ายเดือดร้อน
การจดทะเบียนหย่า
1. การจดทะเบียนหย่าในสำนักงานเขตเดียวกัน
 
คู่หย่าต้องทำเป็นหนังสือสัญญาหย่า โดยมีข้อตกลงในเรื่องการแบ่งทรัพย์สิน หนี้สิน การปกครองบุตร การจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร และอื่น ๆ โดยติดต่อที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้
หลักฐานที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัว
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า
- ใบสำคัญการสมรสของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
- กรณีหย่าตามคำพิพากษา ต้องใช้คำพิพากษาถึงที่สุดที่มีคำรับรองถูกต้อง
- พยานบุคคล 2 คน
2. การจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมต่างสำนักทะเบียน (สำนักงานเขตหรืออำเภอ)
คู่หย่าสามารถร้องขอให้ดำเนินการได้ แต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อสำนักทะเบียนแห่งที่สองได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
หลักฐานที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวของคู่หย่า
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า
- ใบสำคัญการสมรส
- พยานบุคคล 2 คน
- สัญญาหย่า
- เอกสารการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
- สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
3. การจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ให้คู่หย่านำคำพิพากษาของศาล พร้อมใบสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด มาขอบันทึก ณ สำนักทะเบียน (สำนักงานเขตหรืออำเภอ) แห่งใดก็ได้
หลักฐานที่ต้องใช้
- บัตรประจำตัวผู้เกี่ยวข้อง
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านผู้เกี่ยวข้อง
- สำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งศาลรับรองแล้ว
- ใบสำคัญการสมรส
- สูติบัตรบุตร (ถ้ามี)
- พยานบุคคล 2 คน
- เอกสารเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่า
"กรณีที่การหย่าเกิดจากการยินยอมของทั้งสองฝ่าย"
1. เตรียมเอกสาร (เอกสารตามย่อหน้าบน)
2. ยื่นเรื่องต่อนายทะเบียน
ในการหย่านั้นทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อหน้านายทะเบียนพร้อมกันก็ได้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไปก่อนไปหลังก็แล้วแต่ความสะดวก เมื่อไปถึงแล้วก็ตกลงเรื่องทรัพย์สินและการเลี้ยงดูบุตรผ่านหนังสือสัญญาในการหย่า ซึ่งในส่วนนี้จะทำการร่างหรือตกลงกันมาก่อน
3. ลงนามในหนังสือสำคัญการหย่า
นอกจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแล้ว ยังต้องให้พยานทั้ง 2 คน รวมถึงนายทะเบียนลงนามด้วยจึงจะถือว่าการหย่าเสร็จสมบูรณ์
"กรณีการฟ้องหย่า"
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติมิชอบ เช่น มีชู้ ทำร้ายร่างกาย ทำให้เดือดร้อนหรือเสื่อมเสีย คู่สมรสก็มีสิทธิฟ้องหย่า เพียงแต่ต้องรวบรวมหลักฐานเพื่อไปแสดงต่อศาลและมีหลายขั้นตอน ได้แก่...
1
- การจัดทำคำฟ้อง
- การระบุพยาน
- ยื่นหลักฐาน
- ขึ้นศาลเพื่อทำการสืบพยาน
ในส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าขึ้นศาล ค่าทนายซึ่งฝ่ายโจทก์ต้องเป็นฝ่ายว่าจ้างเอง แต่ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องเงินก็สามารถขอความช่วยเหลือจากทนายความอาสาผ่านสภาทนายความ หรือสำนักงานอัยการของแต่ละจังหวัดได้ การฟ้องหย่านั้นจะเป็นการใช้อำนาจของศาลเพื่อจัดการเรื่องต่าง ๆ เช่น การแบ่งทรัพย์สิน และอำนาจในการเลี้ยงดูบุตร
แบบสัญญาหย่า
#สาระจี๊ดจี๊ด
หย่าแล้วอยากสมรสใหม่ต้องทำอย่างไร?
คุณสามารถแต่งงาน และจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ เพียงแต่ต้องรอให้พ้นจากวันที่จดทะเบียนหย่าไปแล้วไม่น้อยกว่า 330 วัน
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
สิ่งที่อยากให้คุณคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ไม่ใช่เรื่องของกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของใจคุณเองล้วน ๆ ถามใจของคุณเองให้ดีว่า... "พร้อมหรือไม่กับการหย่าร้าง" ไตร่ตรองถึงเหตุผล และลองคิดดูว่า... "คุณจะรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาไหวหรือไม่"
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา