27 ก.พ. 2021 เวลา 02:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การหากองทุนผลตอบแทนดี และยั่งยืนในช่วงการปรับฐานครั้งใหญ่
คงปฎิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลังโควิดที่ผ่านมา กองทุนหุ้น Growth เป็นที่สนใจของนักลงทุนจำนวนมาก เนื่องจากสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กองทุนหลายๆ กองที่มีพื้นฐานที่แข็งแรง แต่สร้างผลตอบแทนได้น้อยถูกเมินไป
พอเกิดการปรับฐานครั้งใหญ่ในช่วงนี้ ทำให้นักลงทุนหน้าใหม่ เริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่าของ กองทุน "High Risk, High Return" ยิ่งผลตอบแทนสูง ก็ย่อมแลกมากับความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน ดังนั้นใครที่ไม่สามารถทนกับความผันผวนได้ ยังมีเวลาที่จะมาปรับพอร์ต ลงทุนยังกองทุนที่เสี่ยงน้อยกว่า เพื่อให้เรา "กินอิ่ม นอนหลับ" ได้
ภาพ ชี้เป้าลงทุน
ผมจะมานำเสนอวิธีการคัดเลือกกองทุน โดยเราจะไม่ดูเพียงผลตอบแทนเท่านั้น แต่จะเลือกจากปัจจัยอื่นๆ มาเป็นองค์ประกอบด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นจะทำให้เรา "เสี่ยงน้อยลง" แต่อาจจะแลกมาด้วย "ผลตอบแทนที่น้อยลง" เช่นกัน
เครื่องมือที่ผมใช้วันนี้ จะใช้เว็บของ Finnomena ที่มีระบบการคัดกรองกองทุนไทย สามารถคลิกตามที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย
การเปรียบเทียบกองทุนจากเว็บ Finnomena.com
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับปัจจัยที่เราต้องการมา Filter ในการค้นหากองทุนกันก่อน
1️⃣ SD หรือ Standard Division
SD คือ ค่าความผันผวนของอัตราผลตอบแทนกองทุน
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าผลตอบแทนกอง A เฉลี่ย 1 ปี อยู่ที่ 10%
และมี SD เฉลี่ย 1 ปี อยู่ที่ 2%
แสดงว่า กอง A ในช่วง 1 ปี มีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง (10-2)% จนถึง (10+2)%
(อันนี้เป็นเพียงการอธิบายคร่าวๆ เท่านั้น สำหรับผู้ที่สนใจผมขออธิบายเพิ่มเติมที่ด้านล่างโพสต์ต่อนะครับ)
2️⃣ Sharpe Ratio
Sharpe Ratio คือ อัตราผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยง
ในกรณีที่เราจะเปรียบเทียบกองทุน เราจะดูเพียงผลตอบแทนอย่างเดียวไม่ได้ เพราะแต่ละกองทุนมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น นำกองทุนพันธบัตรรัฐบาล เปรียบเทียบกับกองทุนหุ้นทั่วโลก ก็จะพบว่าความเสี่ยงต่างกัน ผลตอบแทนจึงต่างกัน
2
ดังนั้นเราจึงใช้ Sharpe Ratio ในการดูว่า กองทุนไหนให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงได้ดีกว่ากัน
Sharpe Ratio ยิ่งมีค่ามากกว่า 1 ยิ่งดี หากกองใดมี Sharpe Ratio มากกว่าแสดงว่ากองทุนนั้นให้อัตราผลตอบแทนต่อ 1 หน่วยความเสี่ยง ได้ดีกว่าอีกกองทุนหนึ่ง
3️⃣ Max Drawdown
Max Drawdown คือ ผลขาดทุนสูงสุดในอดีตเมื่อเทียบกับจุดที่เคยได้ผลตอบแทนสูงที่สุด ตรงจุดนี้จะทำให้เราทราบว่าเราจะต้องรับมือกับผลขาดทุนสูงสุดของกองทุนนี้ประมาณเท่าไร
ภาพตัวอย่าง Max Drawdown จากเว็บ https://ichi.pro/
ค้นหากองทุนที่ใช่สำหรับเรา
เริ่มต้นหากองทุนด้วย การดูจากประเภทของกองทุนที่แบ่งแยกออกเป็น ตราสารหนี้, กองทุนแบบผสม, อสังหา ฯลฯ โดยเริ่มต้นจากกองทุนที่เราสนใจ
ในตัวอย่างนี้ ขอใช้การค้นหากองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยทั่วไป นะครับ
โดยเลือก คัดกรองจากประเภทของกองทุนรวม -> เลือกตราสารทุน (หุ้น) -> เลือหุ้นไทยทั่วไป
เลือกประเภทกองทุนรวมเพื่อ Filter จากเว็บ Finnomena.com
จากนั้นระบบจะแสดงกองทุนหุ้นไทยทั่วไป ขึ้นมาทั้งหมด ในที่นี้จะจัดเรียงตามผลตอบแทน 1 ปี จากมากไปหาน้อย
โดยปกตินักลงทุนมือใหม่จะคัดเลือกกองทุนจาก Past Performance เป็นหลัก และสรุปเอาว่ากองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังดี แสดงว่ากองทุนนั้นน่าลงทุน ซึ่งจริงๆ ผลงานในอดีตก็ไม่ได้สามารถการันตีผลงานในอนาคตว่าจะดีตลอดไป
กองทุนไทยทั่วไป จัดเรียงตามผลตอบแทน 1 ปี จากมากไปหาน้อย - Finnomena
เพื่อที่จะหากองทุนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด นอกเหนือจาก Performance แล้ว เราจะเพิ่มตัวกรองเข้าไปอีก 3 ตัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผมได้อธิบายเอาไว้ข้างต้น ดังนี้
เพิ่มตัวกรอง SD, Sharpe Ratio, Max Drawdown - Finnomena
แล้วเราจะใส่ค่าอะไรลงไปในตัวกรองทั้ง 3 ตัวดี ผมมีวิธีทางลัดให้ดูง่ายๆครับ
เพื่อที่จะหาค่าเฉลี่ยต่างๆ คือ SD, Sharpe ratio, Max Drawdown ในกลุ่มกองทุนนั้นๆ ทาง Finnomena ได้มีจัดทำไว้ให้แล้ว เราเพียงแต่นำค่าเฉลี่ยในกลุ่มกองทุนเหล่านั้นมาใส่ หรือปรับเพิ่มลดตามความต้องการของเรา
วิธีการคือ เข้าไปที่กองทุนไทยทั่วไปสักกองหนึ่ง แล้วเลือกแถบผลการดำเนินงาน
ช่องสี่เหลี่ยมขวามือ จะแสดงค่า SD, Sharpe Ratio และ Max Drawdown ของกองทุนนั้น รวมถึง "ค่าเฉลี่ยในกลุ่ม"
ยกตัวอย่าง กองทุนไทยทั่วไป จะมีค่าเฉลี่ยในกลุ่มดังนี้
- SD 1 ปี เฉลี่ยในกลุ่ม 30%
- Sharpe ratio 1 ปี เฉลี่ยในกลุ่ม -0.04
- Max Drawdown 1 ปี เฉลี่ยในกลุ่ม -23.79%
(ผมยกตัวอย่างเพียง 1 ปี แต่ถ้าไปลองทำจริง ควรใช้ 3 ปี และ 5 ปี มาเปรียบเทียบด้วย)
ผลการดำเนินงานและปันผล - Finnomena
นำทั้ง 3 ค่ามาใส่ในช่องคัดกรองอีกครั้งหนึ่ง
ในคราวนี้กองทุนที่ได้จะเปลี่ยนไปแล้ว
ผลงานกองทุนภายใต้เงื่อนไข SD, Sharpe Ratio, M. DD - Finnomena
ค่าทั้ง 3 เราสามารถปรับเพิ่มลดได้ตามความเหมาะสม เพราะค่าที่เรานำมาใช้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยของกลุ่มเท่านั้น ไม่ใช่ค่าที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนของเรา
ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะปรับเพิ่มค่า SD หรือความผันผวนได้ โดยเพิ่มจาก "น้อยกว่า 30%" เป็น "น้อยกว่า 45%" เพื่อมีโอกาสที่เราจะเจอกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และผันผวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
หรืออาจจะปรับเพิ่ม Max Drawdown เพราะเราเป็นนักลงทุนที่อายุยังน้อย รับความเสี่ยงในการขาดทุนได้มาก รวมถึงสไตล์การลงทุนของเราเป็นระยะยาว โดยปรับเป็น Max drawdown เป็น "ไม่ต่ำกว่า -30%"
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา จะพบกว่ากองทุนที่ได้ผลตอบแทนต่อปีมากขึ้น
ผลงานกองทุนภายใต้เงื่อนไข SD, Sharpe Ratio, M. DD - Finnomena
จากการใช้ตัวคัดกรองทั้ง 3 ตัว ทำให้เรามีเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองกองทุนที่ดีกว่าเดิม แต่เครื่องมือทั้ง 3 ตัวเป็นเพียงปัจจัยบางส่วนที่ใช้คาดการณ์ศักยภาพในการเติบโตของกองทุน แต่ไม่สามารถฟันธงได้ 100% ว่ากองทุนที่ผ่านการคัดกรองเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนที่ดีไปโดยตลอด
สิ่งที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม คือ พื้นฐานของกองทุนต่างๆ ว่าสิ่งที่กองทุนลงทุนเป็นธุรกิจที่มีอนาคตหรือไม่ ถ้าทำเช่นนี้ประกอบกัน การลงทุนของคุณจะมีประสิทธิภาพและความยั่งยืนสูงที่สุด
เพิ่มเติม
SD หรือ Standard Division
จากตัวอย่าง ผลตอบแทนกอง A เฉลี่ย 1 ปี อยู่ที่ 10%
และมี SD เฉลี่ย 1 ปี อยู่ที่ 2%
หากดูเปรียบเทียบจากการแจกแจงปกติ หรือ Standard normal distribution
ตามหลักสถิติ ค่าผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปี ที่ 10% คือ จุดสูงสุด และกลางที่สุดของกราฟ Standard normal distribution
และจะมีความผันผวนในระดับ 1, -1, 2, -2, 3 และ -3 SD กระจายอยู่ด้านข้าง
หากจะมองความผันผวนที่กองทุนจะให้ผลตอบแทนได้แบบแม่นยำยิ่งขึ้น เราจำเป็นต้องคูณ 2 SD ใส่เข้าไป
เพราะจากนิยามทางสถิติ พบว่า พื้นที่ใต้กราฟบริเวณ 2 เท่าของ SD จะกินพื้นที่ทั้งหมด 95%
นั่นหมายความว่า เราจะทราบความผันผวนและความน่าจะเป็นที่อัตราผลตอบแทนที่เราคำนวณจะถูกต้องถึง 95%
ในที่นี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยกอง A ที่น้อยที่สุด บนการแจกแจง 95% (-2 SD) = 10 + (-2*2) = 6%
และผลตอบแทนเฉลี่ยกอง A ที่มากที่สุด บนการแจกแจง 95% (2 SD) = 10 + (2*2) = 14%
ดังนั้นกองทุน A ใน 1 ปี มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับเราได้ตั้งแต่ 6-14 %
ภาพ Standard normal distribution หรือการแจกแจงปกติ
โฆษณา