27 ก.พ. 2021 เวลา 04:38 • การศึกษา
คนที่ชอบดูถูกเทคนิคการออม มักเป็นคนที่ไม่เคย "ลงมือทำ" จริง
ถ้าพูดถึงเรื่องการออมเงิน เรามักจะเห็นมีคนแนะนำเทคนิคการออมมากมาย อย่างการ หักออมก่อนใช้ 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกเดือน, การออมตามวันที่ของปี เช่น วันที่ 1 ออม 1 บาท วันที่ 10 ออม 10 บาท วันที่ 100 ออม 100 บาท หรือ เทคนิคการออมแบบ 10+1 ที่จะทำให้คุณมีเงินเก็บ 7 หมื่นบาท ภายใน 1 ปี
2
โดยการเก็บเงินทุกวัน เริ่มต้นจากวันละ 10 บาทในวันแรกของปี จากนั้นต้องเพิ่มจำนวนเงินเก็บเข้าไปวันละ 1 บาท เช่น
- วันแรก เก็บ 10 บาท
- วันที่สอง เก็บ 11 บาท
- วันที่สาม เก็บ 12 บาท
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่หยุด
- วันที่ 30 เราจะมีเงินเก็บสะสม 735 บาท
- วันที่ 60 เราจะมีเงินเก็บสะสม 2,370 บาท
- วันที่ 90 เราจะมีเงินเก็บสะสม 4,905 บาท
- วันที่ 120 เราจะมีเงินเก็บสะสม 8,340 บาท
- วันที่ 180 เราจะมีเงินเก็บสะสม 17,910 บาท
และในวันสิ้นปี เราจะมีเงินเก็บสะสม 70,080 บาท
3
อย่างไรก็ตาม ผมมักจะเห็นคนมาแสดงความคิดเห็นกับเทคนิคการออมเงินเหล่านี้ประมาณว่า “วันที่ 180 ต้องเก็บเงิน 170 บาท แล้วคนที่ได้ค่าแรงแค่วันละ 300 บาท ควรเก็บยังไง ในเมื่อต้องเก็บมากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินได้”
2
บ้างก็บอกว่า “เป็นเรื่องมโนทั้งนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ จะเหลือเก็บแบบนี้ต้องรายได้เท่าไรกัน คนที่จะเก็บเงินเฉลี่ยเดือนละประมาณ 6,000 ได้ เงินเดือนไม่ใช่ค่าแรงขั้นต่ำแล้ว”
5
ซึ่งส่วนใหญ่คนที่คิดแบบนี้ มักเป็นคนที่ไม่เคยเริ่มต้นออมเงินเลย ยังไม่ทันได้ลอง “ลงมือทำ” ด้วยตัวเอง ก็ตัดสินไปแล้วว่ามันคือเรื่องมโน
ในทัศนะของผม การออมเงิน ไม่ใช่เเค่เรื่องของ การออมเงิน แต่มันเป็นเรื่องของ “นิสัย” และ “วิธีคิด” เกี่ยวกับเงินต่างหาก
1
คือ ถ้าเราเก็บได้ทุกวัน นิสัยการใช้เงินจะเปลี่ยนไป วิธีคิดจะกว้างไกลมากขึ้น ในวันที่ 180 คนที่เคยได้ค่าเเรง 300 เขาอาจจะไม่ได้เเค่ 300 แล้วก็ได้ เพราะคนเราพอมีเงินออม สมองมันจะคิดได้มากกว่า ทำงานค่าเเรง 300 นะ
1
จากประสบการณ์ออมเงินผม ผมได้ค้นพบว่า สิ่งที่ยากที่สุดของการออมเงินคือ การ “เริ่มต้น” ออมเงินให้มันได้เป็น “ก้อนแรก” ผมต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะเก็บเงิน 10,000 บาท แรกได้
แต่คุณเชื่อไหมว่า พอเราเก็บก้อนแรกได้ เราจะเริ่มเห็นความมหัศจรรย์ของเงิน เราจะเริ่มเห็นว่าเงินมันมีความสามารถในการดึงดูดเงินที่อยู่ใกล้ๆ เข้ามาได้ ยิ่งเงินก้อนนั้นมีจำนวนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้พลังของแรงดึงดูดสูงขึ้นเท่านั้น
คำถาม คือ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ?
คำตอบของผม คือ
1) เมื่อเราออมเงินได้จำนวนหนึ่ง เราจะเห็นความแตกต่างจากเงินที่เคยอยู่อย่างกระจัดกระจาย กลายเป็นเงินก้อนให้เราเห็นชัดเจน และเมื่อมันเป็นก้อน เงินก็จะ “ไหลออก” ยากขึ้น
เหมือนเวลาเรามีแบงค์ 1,000 ในกระเป๋า ถ้าเราไม่ใช้จ่าย มันก็จะยังเป็นแบงค์ 1,000 อยู่ได้เป็นระยะเวลาที่นานบางทีอาจอยู่ได้เป็นเดือน แต่เมื่อไหร่ที่เราแตกแบงค์ 1,000 นั้น จะพบว่าเงินจะไหลออกไปเร็วมากภายในเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง
2
2) เงินก้อนก็เหมือนลูก เราจะอยากเห็นมันเติบโตทุกวัน พอเรามีเงินก้อน วิธีการใช้จ่ายเราจะเริ่มเปลี่ยนไป อะไรที่ไร้สาระเราจะระวังขึ้น หรือ จากแต่ก่อนเวลาเห็นเศษเหรียญเราจะมองข้าม แต่เมื่อเรามีเงินก้อน เราจะเก็บเศษเหรียญนั้นมาเพิ่มในเงินก้อนอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนตัวผมจะมีเงินอยู่บัญชีหนึ่ง ผมตั้งชื่อมันว่าบัญชี “ดูดเงิน” บัญชีนี้ถ้าไม่มีเรื่องคอขาดบาดตาย ผมจะไม่มีทางถอนมันออกมาเด็ดขาดตลอดชีวิต เพราะเงินในบัญชีนี้จะคอยทำหน้าที่ดูดเงินเข้ามา ซึ่งตั้งแต่ผมมีบัญชี ดูดเงิน นี้ ผมก็มีเงินไหลเข้ามาอย่างง่ายดายทุกวัน
3
3) วิธีการใช้เงินของเราจะเริ่มเปลี่ยน คุณจะเริ่มจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ เวลาจะใช้จ่ายเราจะคิดมากขึ้น จากเดิมเวลาจะจ่ายเงินเราจะไม่ค่อยคิดว่าเราจ่ายไปกับอะไร แต่พอเรามีเงินเก็บ เราจะเริ่มคิดแล้วว่า สิ่งที่จ่ายออกไป คือ การบริโภค หรือ การลงทุน
พูดง่ายๆ คือ คิดทุกครั้งว่าจ่ายแล้วคุ้มไหม จ่ายแล้วเงินละลายหายไป หรือ จ่ายแล้วมีโอกาสได้ผลตอบแทนกลับมา
4) มีความมั่นใจมากขึ้น เพราะเวลามีเงินออม เราจะกล้าเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆ จากเดิมตอนไม่มีเงินออม เราจะไม่กล้าไปทำอะไรใหม่ๆ เพราะถ้าเกิดพลาดขึ้นมา เราอาจจะเดือดร้อนได้ แต่เมื่อมีเงินออมเราจะกล้าลองทำงานใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากงานที่เราทำอยู่ปัจจุบันมากขึ้น เพื่อโอกาสในการเพิ่มรายได้
5) นอกจากเราจะกล้าลองทำงานใหม่ๆ แล้ว การเงินออมจะทำให้เรามีต้นทุนในการต่อยอดเพื่อเริ่มต้นทำงานใหม่ที่มีรายได้เพิ่มได้ง่ายขึ้น โอกาสที่เราจะมีรายได้มากกว่าเดิมก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
ลองคิดดูว่า ถ้าคุณเริ่มมีเงินเก็บสัก 20,000 คุณคงไม่อยากทำงานรับค่าแรง 300 แล้ว คุณจะเริ่มมองหาช่องทางมากขึ้น จากเดิมทำงานเลิก 5 โมง ก็กลับบ้านนอน คุณอาจจะเริ่มมองหางานเสริมโดยการไปซื้อเสื้อผ้าตัวละ 10 บาท จากตลาดนัดมาลองโพสต์ขายในกลุ่มเฟซบุ๊กสักตัวละ 30 บาท หลังเลิกงาน อย่างน้อยก็ได้กำไร 20 บาท ทำให้มีรายได้มากขึ้น
แล้วเมื่อคุณมีกำไรจากการขายของ มันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่คุณจะสามารถขยับไปขายสินค้าที่มีกำไรมากขึ้น เพราะคุณมีต้นทุนที่จะลองทำอะไรใหม่ๆ
ยิ่งเรามีเงินเก็บมากเท่าไหร่ ความเหนื่อยยากในการหาเงินก็ของเราก็จะน้อยลงเท่านั้น
- ถ้าการเก็บเงิน 10,000 บาท เราต้องเหนื่อยระดับ 10
- การเก็บเงินให้ได้ 30,000 บาท ความเหนื่อยเราจะลดลงเหลือระดับ 9
- การเก็บเงินให้ได้ 50,000 บาท ความเหนื่อยเราจะลดลงเหลือระดับ 8
- และ การเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท ความเหนื่อยเราจะลดลงเหลือระดับ 6
ยิ่งมีเงินเก็บ “มากขึ้น” เท่าไหร่ ระดับความยากและความเหน็ดเหนื่อยที่จะหาเงินเพิ่มก็จะ “น้อยลง” เท่านั้น เพราะเงินเก็บที่เรามี จะเป็นต้นทุน และ กำลังเสริมที่ช่วยให้เราหาเงินต่อไป
1
เห็นไหมว่าเมื่อคนเรามีเงินเก็บ จะทำให้เรามี “วิสัยทัศน์” มากขึ้น มองได้ไกลขึ้นว่าเดือนหน้า ปีหน้า เราจะทำอะไรบ้างเพื่อ “พัฒนาชีวิต” ของตัวเอง
แต่ถ้าวันนี้ไม่มีเงินเก็บเลยสักบาท ความคิดของเราก็จะอยู่แค่ “วันนี้ ” จะกินอะไร “พรุ่งนี้” จะทำยังไง ให้ตัวเองยังอยู่รอดก็เท่านั้น ไม่มีทางไกลไปจากนี้
1
ผมถึงบอกว่า ถ้าลองเริ่มต้นออมเงินวันละเล็กละน้อย ในวันที่ 180 คนที่เคยได้ค่าเเรง 300 เขาอาจจะไม่ได้เเค่ 300 แล้วก็ได้นะครับ
2
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่…
- บริหารเงินไม่เป็น จนไม่มีเงินเก็บ
- โดนคนอื่นเอาเปรียบเรื่องเงินเป็นประจำ
- อยากลงทุน แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร
1
หนังสือเล่มนี้ มีคำตอบ “จงคบค้ากับความร่ำรวย”
ราคา 325 บาท รวมส่ง
วิธีการสั่งซื้อ
2.กด “สั่งซื้อ”
3.เลือกจำนวน และ กด “ยืนยันคำสั่งซื้อ”
จากนั้น ชำระเงิน ตามเลขบัญชีที่ให้ไว้ใน Inbox
โฆษณา