27 ก.พ. 2021 เวลา 06:48 • ประวัติศาสตร์
ยุควิกตรอเรียน ยุคสมัยที่โลกเพิ่งรู้จักกับการผลิตแบบอุตสาหกรรม ก่อนหน้านั้น ในยุครีเจนซี่ ชีวิตดำเนินไปอย่างเชื่องช้าสำหรับเหล่าชนสามัญ
แต่แล้วเมื่อผู้คนรู้จักกับโรงงาน ไอควัญจากปล่องขนาดใหญ่ลอยม้วยไปทั่วท้องทุ่ง เหล่าชาวไร่ชาวนาต่างพากันเข้ากรุง และพบว่าความสะดวกสะบายที่วาดฝันไว้ มิได้มีให้แด่ตนแม้แต่น้อย
ภาพจาก https://theconversation.com/air-pollution-in-victorian-era-britain-its-effects-on-health-now-revealed-87208
กาาเข้ามาของอุตสาหกรรม มิได้ส่งผลแค่เพียง เหล่าชาวบ้านตาดำๆเพียงเท่านั้นหากแต่ส่งผลต่อทุกชนชั้น
ระบอบสังคมที่เคยมีเพียงเจ้าและไพร่ในยุคก่อน ถูกอุตสาหกรรมย่ำยีจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม นั่นคือการเพิ่มเข้ามาของชนชั้นกลางผู้มั่งมี
ชนชั้นกลางเหล่านี้มีมานานหลายศตวรรษตั้งแต่ที่ผู้คนรู้จักการเดินเรือ แต่เมื่ออุตสาหกรรมเข้ามา ไอควันและเครื่องจักรถูกนำมาถักผ้าแทนมือคน พวกเขาก็เริ่มีบทบาทมากขึ้น จากการลงทุน
ทุกสิ่งเปลี่ยนไปเพราะพลังแห่งการบริโภคของพวกเขา
เมื่อมีเงินทองจนล้นมือ จากที่เกิดมาไม่มีอะไรกลายเป็นเติใหญ่แล้วมั่งมี ชนชั้นกลางที่เพิมจำนวนมากขึ้นเหล่านี้จึงต้องการใช้เงิน
เกิดความจ้องการ demand และ supply อย่างบ้าคลั่ง ส่งผลให้เงินอังกฤษอย่าง Pound แข็งค่า ภายในเวลาเพียงไม่นาน
ภาพจาก http://victorian-era.org/victorian-poor-and-middle-class.html
แม้นจะร่ำรวยเพียงใด คนเหล่านี้ หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับราชวงศ์ใดๆก็จะถูกเรียกว่าชนชั้นกลางต่อไป คนเหล่านี้จึงพยายามหาซื้อในสิ่งที่จะมา "อวด" คนอื่นว่าตนเป็นผู้ "มังคั่ง" อย่างแท้จริง
ความมั่งคั่งของพวกเขาคือความกระหายการซื้อหาสิ้นค้าแปลกใหม่อย่างไม่สิ้นสุด(ฟังดูคุ้นๆนะครับ) บ้างอยากได้ สีย้อมผ้าแบบใหม่ที่ห่ยากและมีราคาแพง ยกตัวอย่างเช่น สีเขียว ที่หลายท่านอาจเคยได้ยินมาว่า ทำมาจากสารหนู
หรือจะเป็นของเล่นพิศดารให้ลูกๆ เครื่องชามหรูหราและแก้วใส่น้ำชาอย่างดี อาหารค่ำราคาแพง ยกตัวอย่าเช่น เค้กราตรีที่สิบสองที่ผมเคยเล่าไป หากอยากรู้เพิ่มเติมล่ะก็ ว่างๆ ลองไปอ่านกันได้นะครับ กดที่ลิงค์นี้เลยครับ https://www.blockdit.com/posts/601a8089e88d7a178abf6c53
เอาล่ะ เข้าเรื่องของเรากันต่อ อีกอย่างหนึ่งที่คนชั้นกลางต้องการก็คือ คนรับใช้
ในยุคนั้น หนึ่งในสามของหญิงที่มีอายุ 15 ถึง 20 ปีเข้าทำงานเป็นคนรับใช้ และ ใช้ชีวิตอยู่กับความยากจน ข้นแค้น
และแม้นยุควิกตรอเรียจะเต็มไปด้วยความหรูหราอู้ฟู้ แต่ผู้คนจำนวนมากต้องอยู่ภายใต้ความกดดันแห่งความยากจน จากการที่คนอพยพเข้ามาอยู่ในเมือมากมายทำให้ต้องขวานขวายหางานทำอย่างเอาเป็นเอาตาย หลายคนจากบ้านมาและกลายเป็นคนข้างถนน งานหายาก เพราะคนงานล้นจาก demad ที่ตลาดต้องการ
และแม้นจะมีงานทำก็ต้องทำงานติดต่อกันหลายต่อหลายชัวโมง สภาพการงาเช่นนี้ มีปรากฏให้เห็นมาตลอดแม้จะผ่านช่วงวิกตรอเรียมาแล้วก็ตาม แม้นในปัจจุบันผู้คนจะมีสวัสดิการรัฐมาช่วยเหลือ แต่ในโลกนี้ ก็ยังคงมีสถานสงเคราะห์และองค์กรช่วยเหือผู้ยากไร้อยู่ไม่ขาด
แสดงว่า หลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น เรายังคงเดินอยู่บนเส้นทางอันแล้นแค้นและน่าสังเวชเช่นนี้อยู่หรือครับ
ภาพจาก http://victorian-era.org/victorian-era-factories.html
อย่างไรก็ตามแต่ ชีวิตก็มิได้แย่ไปเสียอย่างนั้นทั้งหมดหรอกนะครับ จากการที่อุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรือง ส่งผลให้การผลิตและนำเข้าสินค้ามีราคาถูกลง ส่งผลใหสามารถผลิต supply ได้มากขึ้น อาจมากเกินกว่า demand ที่ต้องการจริงๆด้วยซ้ำ
ดังนั้น ชนั้นแรงงานจึงมีโอกาศจะซื้อหาข้าวปลาในราาถูกลง(ถึงมันจะผลิตจากน้ำมือพวกเขาเองก็ตาม)
ภาพจาก https://www.nationalarchives.gov.uk/education/resources/1833-factory-act/
ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่ทำงาน แต่เหล่าพ่อแม่ก็มักส่งลูกไปทำงานเช่นกัน ด้วยว่า แม้แต่ข้าวปลามาประทังชีวิตก็ไม่มีแล้ว หากต้องเลี้ยงลูก ไปด้วยก็คงลำบากอีก พวกเขาคงคิดว่า "สู้ส่งมันไปทำงาน และช่วยกันทำมาหากินไม่ดีกว่าหรือ"
และแม้นว่า จะมีการประกาศพระราชบัญัติโรงงานที่เขียนขึ้นในช่วง ปีทศวรรษที่ 1830 อันมีใจความถึงการจำกัดเวลาทำงานของเด็กและสตรีออกมาแล้วก็ตาม(แต่กลับไม่ออกกฏหมายห้ามเสียอย่างงั้น!!) กว่าจะจัดการให้ดีขึ้นมาได้ ก็อีกกว่า 50 ปีต่อมาหรือราวปลายรัชสมัยของพระนางวิกตรอเรียแล้วล่ะครับ
แต่ อย่างที่ผมบอกไป แสงสว่างย่อมมีในชีวิต แม้นจะไม่มีเงินซื้อข้าวปลา และสิ่งหนึ่งที่คนรำ่รวยและยากไร้มีไม่ต่างกัน(จริงหรือ) นั่นคือ ความบันเทิงเริงใจ
ในแต่ละเมือง โรงละครถูกสร้างขึ้นแน่นอนนจนมิอาจเข้าถึง แต่สำหรับพิพิธภัณย์และห้องสมุดเล่า มีคนมจบุญที่มีเงินมากลงทุนไปกับการสร้างสิ่งเหล่านี้ให้คนได้มาใช้ มีการเริ่มเล่นกีฬาอย่าง เทนนิสและโครเก้มากขึ้น
และมีการเปลี่ยนกฏกีฬาเก่าๆของชาวอังกฤษอย่างรับี้และโครเก้เพื่อไว้สอนพวกลกชนชั้นกลางในโรงเรียน แต่นอกจากเหล่าชนชั้นกลาง ทางรัฐในยุควิกตรอเรีย หลังจากออกกฏการจำกัดเวลาทำงานของเด็ก ก็เริ่มให้ความสำคัญกับเด็กมากขึ้น เช่น จัดตั้งคณะการศึกษา และการให้โบสถ์เปิดสอนหนัง โดยเด็ทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาในวัยสิบขวบไม่แบ่งชนชั้น
ภาพจาก https://victorianchildren.org/victorian-schools/
ไม่ใช่แค่ทางรัฐ แต่ดูเหมือนผู้คนก็เริ่มให้ความสำคัญกับเด็กๆมากขึ้น เช่นกัน เหล่ากวีเริ่มแต่งหนังสือเด็ก ที่โด่งดังก็เช่น Chrismas carol ของ Chales dicken และ Alice’s Adventures in Wonderland ของ Lewis Carroll
ยุควิกตรอเรีย ก็เหมือนกับการเริ่มเปลี่ยนแปลง เราลองผิดลองถูกมาสารพัด เราทำร้ายคนไปมาก เราสร้างค่านิยมแห่งทุนและสร้างให้เกิดชนชั้นอย่างชัดเจน ยุควิกตรอเรียเปลียนแปลงหลายอย่าง
แต่ก็อย่าลืมว่า การเปลี่ยนแปลงแม้นอาจนำมาซึ่งสิ่งอันมิน่าอภิรมใจ อย่างภาพหน้าเศร้าของเหล่าเด็กๆที่ต้องไขน๊อตในโรงงาน หรือภาพคนนอนบนถนน ขณะที่ตึกค้างๆ ชายหนุ่มกับภรรยาสาวกับจิบน้ำชายามบ่าย มิได้สนใจผายตาออกมาจากกระจกกรอบทองของตนเลย
แต่ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป ยุควิกตรอเรีย ทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจว่า เด็กๆนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่เพียงไร พวกเขาควรได้รับกาดูแลมากขึ้น
วิทยาการมากมายถูกค้นพบ และพัฒนาในยุคนี้ รถยนต์ รถไฟ และแนวคิดใหม่ๆที่นอกเหนือจากในปึกกระดาษเก่าๆหนานับพันหน้าที่วางฝุ่นจับอยู่ในศาสสถาน เราเริ่มเรียนรู้มากกว่าในยุคใดก่อนหน้า และทุกอย่าง เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ
ในเวลาเพียง 90 กว่าปีของยถควิกตรอเรีย (1837-1901) โลกได้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และ "ความปกติใหม่" อย่างสมบูรณ์แล้ว
ภาพจาก https://www.insider.com/then-and-now-victorian-england-landmarks-2019-8
โฆษณา