27 ก.พ. 2021 เวลา 13:47 • ธุรกิจ
LVD 102: พลังแห่งพฤติกรรมเล็กๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ (#LVD_AtomicHabit ตอนที่ 1)
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมก็อยากชวนทุกท่านมาคุยเรื่องการสร้างนิสัยดีใหม่ๆกันหลังจากที่เราเกือบจะผ่าน 2 เดือนแรกของปีมาแล้ว ระหว่างที่คุยกันก็อยากให้ทุกท่านคิดถึงเป้าหมายปีใหม่ที่ตั้งกันว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง เรื่องการสร้างนิสัยใหม่เป็นหนึ่งในหัวข้อฮิตที่คุยกันได้ไม่รู้จบ แต่สำหรับครั้งนี้ ผมค่อนข้างรู้สึกพิเศษ เพราะผมกำลังจะชวนทุกท่านคุยถึงหนังสือชื่อดังที่ผมอ่านเป็นเล่มแรกของปีนี้และประทับใจจริงๆอย่าง Atomic Habit ที่จริงๆก็มีหลายคนหรือหลายเพจมารีวิวแล้ว แต่ถึงยังไงก็อยากชวนทุกท่านมาตุยกันกับซีรีย์ Atomic Habit ด้วยกันครับ ตามมาเลยครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
หนังสือ Atomic Habit เขียนโดยคุณ James Clear นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนนิสัยที่มีผลงานมากมายใน Jamesclear.com โดยส่วนตัวผมไม่ได้คิดว่าคุณ James Clear นำเสนอเรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้วแต่มาย่อยจนง่ายและมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแนวคิดเป็นการกระทำมากกว่า สำหรับซีรีย์ Atomic Habit ผมคิดว่าน่าจะมีซัก 3-4 ตอน สำหรับตอนนี้เป็นตอนแรกที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ Atomic Habit ด้วยกันครับ
1
พลังแห่งการทบต้น พลังของนิสัยเล็กๆ
ความเชื่อพื้นฐานที่สุดของ Atomic Habit คือ ความเชื่อในพลังของการทำสิ่งเล็กๆเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างถาวร เพราะว่าพลังวิเศษของการทำสิ่งเล็กๆผ่านนิสัยที่ดีก็เหมือนกับพลังของดอกเบี้ยทบต้น ทุกๆความสำเร็จเล็กๆจากนิสัยของเรา จะต่อยอดกันไปเรื่อยๆแบบทบต้น และเปลี่ยนแปลงตัวเราทีละน้อยแต่ต่อเนื่อง จนเปลี่ยนตัวเราเป็นอีกคนอย่างที่เราแทบไม่รู้สึกตัว ลองคิดดูนะครับว่า การวิดพื้นสิบครั้ง ไม่เคยสร้างร่างการที่สวยงามให้คุณทันที แต่การวิดพื้นทุกวันหลายปีน่าจะทำได้อย่างไม่ต้องสงสัย การอ่านหนังสือจบหนึ่งเล่มก็อาจแทบไม่ให้ไอเดียอะไรใหม่ๆกับคุณเลย แต่ระยะยาวมันค่อยๆเปิดความคิดให้คุณไปสู่ความคิดใหม่ๆได้ เมื่อทำอย่างต่อเนื่อง
ข่าวดีคือนิสัยดีเล็กๆเหล่านี้ คือ ดอกเบี้ยทบต้นทางพฤติกรรม แต่ข่าวร้ายก็คือ พฤติกรรมแย่ก็ให้ผลแบบทบต้นเช่นกัน ความเครียดของคุณในวันทำงานดึกๆซักวัน อาจไม่ส่งผลอะไรเลยกับร่างกายหรือความสัมพันธ์ของคุณ แต่ความเครียดต่อเนื่องเป็นปีๆ พาโรคร้ายมาให้คุณ ทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับคนที่คุณรักอย่างไม่น่าเชื่อ เช่นเดียวกับ ความคิดลบๆในหัวเช่นการโทษตัวเอง ก็อาจจะไม่ส่งผลอะไรในระยะสั้น แต่เราก็เห็นข่าวการฆ่าตัวตามจากภาวะซึมเศร้าที่ล้วนมีสาเหตุเริ่มต้นจากเรื่องร้ายๆเล็กๆรอบตัวเรา
1
“นิสัยที่ดีจึงทำให้ตัวเราเป็นเพื่อนกับเวลา”
คิดง่ายๆว่าทุกๆวันคุณดีขึ้น 1% ในหนึ่งปี คุณจะเก่งขึ้นถึง 37 เท่า (1.01^365=37.78) แต่ถ้าเป็นนิสัยที่ไม่ดี ที่ทำให้คุณแย่ลงแค่วันละ 1% เช่นกัน ความสามารถที่คุณมีจะแทบเข้าใกล้ศูนย์ (0.99^365=0.03) นั้นหมายความว่า เวลากลายเป็นศัตรูสำหรับเราไปแล้ว
1
ความแตกต่างระหว่างคนที่ทำสำเร็จและคนที่ทำไม่สำเร็จ
อะไรคือความต่างระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ทำไม่สำเร็จ คำถามที่ถามกันอยู่ตลอด ซึ่งสิ่งที่เราคิดถึงเป็นเรื่องแรกๆน่าจะเป็นเรื่องการตั้งเป้าหมาย แต่ในหนังสือเล่มนี้กลับบอกว่าการตั้งเป้าหมายไม่ใช่เรื่องสำคัญที่แบ่งแยกคนที่สำเร็จและไม่สำเร็จ... ด้วยวิธีคิดที่เจ็บแสบว่า ผู้แพ้และผู้ชนะต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ อยากประสบความสำเร็จ
ถ้าไม่ใช่เป้าหมาย... แล้วอะไรละที่ทำให้คนสำเร็จต่างกับคนที่ไม่สำเร็จ
“What seperates winners from losers is the system of continuous small improvements that the winners implement which help them achieve their goal.”
คำตอบของคุณ James Clear คือ ระบบต่างหากครับ การตั้งเป้าหมายมีปัญหายังไง
1. อย่างที่บอกไปแล้วว่า ทั้งผู้แพ้และผู้ชนะต่างก็มีเป้าหมายเหมือนกัน นักกีฬาทุกคนที่ลงแข่งโอลิมปิกก็มีเป้าหมายเหมือนกันคือ อยากได้เหรียญทอง แต่จริงๆแล้วมีแค่คนเดียวที่จะได้เหรียญทอง และคนๆนั้นคือคนที่เตรียมพร้อมและมีระบบ
2. เป้าหมายสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เพียงชั่วคราว เป้าหมายอาจช่วยให้คุณลดความอ้วนได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้คุณรักษาน้ำหนักไว้ได้ ถ้าคุณไม่มีระบบหรือวิธีปฎิบัติในการจัดการน้ำหนักที่ดี เป้าหมายอาจจะช่วยแก้ผลลัพท์ที่ไม่ดีให้เป็นดี แต่ปัญหาของเราจริงๆคือ กระบวนการถึงผลลัพท์ต่างหาก
3. เป้าหมายจำกัดความสุข เพราะสมองจะเราว่า คุณจะได้รางวัลคือความสุขเมื่อคุณบรรลุเป้าหมายเท่านั้น การ Focus ที่เป้าหมายมากไป อาจทำให้คุณเจอเส้นกั้นระหว่างความสุขกับการลงมือทำ จะดีกว่าถ้าเราสามารถมีความสุขระหว่างทำ แล้วผมเชื่อว่าเราจะมีแรงไปถึงเป้าหมายได้ดีกว่า
4. เป้าหมายอาจขัดแย้งกับความก้าวหน้าระยะยาว ถ้าที่มาของแรงจูงใจของคุณคือเป้าหมายแล้วละก็ จงระวังให้ดีว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับแรงจูงใจเมื่อคุณบรรลุเป้าหมาย เมื่อแรงจูงใจหมดลงหลังจากที่คุณพยายามอย่างหนักเพื่อเป้าหมายที่ผ่านไปแล้ว การพัฒนาอาจหยุดลวทันทีที่คุณเข้าสู่เส้นชัย คุณจะหยุดซ้อม คุณจะหยุดเรียนรู้ และนั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่า “Yo-Yo Effect”
วัตถุประสงค์ของเป้าหมาย คือ เพื่อชนะเกมส์ แต่วัตถุประสงค์ของระบบ คือ เพื่อให้คุณยังอยู่ในเกมส์
The purpose of setting goals is to win a game but the purpose of building systems is to continue playing the game
3
เอาละครับ เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า พลังของสิ่งเล็กๆแบบทบต้น ไม่ได้อยู่ที่การตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ แต่อยู่ที่ระบบและกระบวนการที่เราสร้างให้กับสมองและร่างกาย ผมก็ขออนุญาตเบรกตรงนี้ก่อนเพื่อไม่ยาวเกินไป สำหรับตอนต่อไป เราจะมาคุยกันต่อกับ การสร้างนิสัยกับตัวตนของคุณมีความสัมพันธ์กันอย่างไร รวมไปถึงเทคนิคการสร้างนิสัยตามแบบ Atomic Habit กัน ถ้าชอบฝากกดไลค์ กดแชร์ ให้เพื่อน แล้วมาติดตามกันต่อในตอนต่อๆไปครับ
#LVD_AtomicHabit
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา