28 ก.พ. 2021 เวลา 12:20 • ประวัติศาสตร์
เจาะลึก "จดหมายลาสวรรคตของรัชกาลที่ 5" ผ่านหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งฝรั่งเศสที่ผมตามหามานานแสนนาน
5
ถ้าจะให้เล่าถึงสิ่งละอันพันละน้อยที่ผมได้ค้นพบหลักฐานจากหนังสือพิมพ์โบราณฝั่งยุโรปสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีอายุถึง 128 ปี ผมมักจะนึกถึง L’Univers illustre ฉบับวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2436
1
ทำไมผมต้องนึกถึงหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ และหนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีความพิเศษอย่างไร วันนี้ผมจะลงลึกให้ท่านผู้อ่านทราบครับ
1
ในช่วงปี พ.ศ. 2436 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่ง เหมือนจุดชี้เป็นชี้ตายของสยามประเทศ หรือที่เรารู้จักกันในนาม วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 นั่นเองครับ
วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ในประวัติศาสตร์ คือช่วงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อท่ีเกี่ยวกับความอยู่รอดของประเทศสยาม หลังจากเกิดการปะทะกันที่ปากน้ำ ปัญหาความขัดแย้งกับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดน จนต่อมาฝรั่งเศสเรียกร้องดินแดนด้านตะวันออกของฝั่งแม่น้ำโขง และบังคับให้สยามชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงินจำนวน 3 ล้านฟรังก์ ซึ่งสยามต้องจำยอมยกดินแดนดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศส
2
ภายหลังจากเหตุการณ์ ทั้งยุโรปปะโคมข่าวกันเป็นวงกว้าง และ สื่อสำนักพิมพ์หนึ่งที่ผมกล่าวไว้ในข้างต้น คือ L’Univers illustre ฉบับวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2436
ได้ลงภาพหน้าหนึ่งของเหตุการณ์การตกลงสัญญาระหว่างสยามและฝรั่งเศส โดยมีผู้นำรัฐบาลสยามคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางด้านรัฐบาลฝรั่งเศสมีผู้แทนคือ ม.เลอ มีร์ เดอวิเลรส์ ( M.Le Myre de Vilers) เข้ามาเจรจา ซึ่งการเจรจาสัญญาในครั้งนี้ได้ดำเนินการ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
ม.เลอ มีร์ เดอวิเลรส์ ( M.Le Myre de Vilers) ข้าหลวงใหญ่ประจำเวียดนามซึ่งได้รับอำนาจจากรัฐบาลฝรั่งเศส มีหน้าที่เข้ามาเจรจาสัญญาข้อตกลงกับสยาม เพื่อให้สยามนั้นยอมรับข้อตกลงเรื่องเขตแดนและเงินชดใช้ที่สยามจะต้องจ่าย
4
ในช่วงเหตุการณ์หน้าหนึ่งบนหนังสือพิมพ์นี้เอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชหัตถเลขา ขณะทรงพักฟื้นพระอาการประชวรที่พระราชวังบางปะอิน ส่งถึง พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช ซึ่งขณะนั้นกำลังทรงศึกษาวิชาทหารอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก ในลักษณะบรรยายเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า
“...ม.เลอ มีร์ เดอวิเลรส์ บอกว่า ถ้าหากจะให้เข้าเฝ้าเพื่อทำการตกลงเรื่องสัญญาจะไม่ยอมเข้าเฝ้าที่บางปะอิน แต่จะให้พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาที่พระที่นั่งจักรี...”
1
ปัญหาก็คือว่าในขณะนั้นรัชกาลที่ 5 ทรงป่วยหนักเป็นพระยอด(ฝี)จนทุพพลภาพ เหล่าข้าหลวงจึงต้องหามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ให้ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสเข้าเฝ้าพูดคุยข้อสัญญา และจากนั้นจึงเสด็จกลับพระราชวังบางปะอินเพื่อพักฟื้นพระวรกายต่อไป
1
ทั้งที่จริงแล้วในปี พ.ศ. 2436 นี้จะเป็นปีที่รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ครบ 25 ปี ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองอย่างที่ได้ตระเตรียมไว้ แต่ก็ต้องงดงานรื่นเริงทุกกรณี เนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองและอาการพระประชวรหนัก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้กระทบทั้งพระราชหฤทัยและพระวรกาย จนเป็นที่มาให้เกิด"จดหมายลาสวรรคต” ของรัชกาลที่ 5 นี้ขึ้นครับ
4
จดหมายลาสวรรคตของรัชกาลที่ 5 เป็นพระราชนิพนธ์ที่ชื่อว่า “ ขัตติยพันธกรณี"
1
ขัตติยพันธกรณี หมายถึง เหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ (ขัตติย = กษัตริย์ , พันธ = ข้อผูกพัน , กรณี = เหตุ)
1
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่ออำลาเจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ในราชสำนัก ซึ่งมีลักษณะคำประพันธ์เป็น อินทรวิเชียรฉันท์ และ โคลงสี่สุภาพ
และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อได้รับจดหมายนี้ จึงทรงนิพนธ์ตอบกลับอย่างเร่งด่วนเพื่อถวายพลังพระราชหฤทัย อีกทั้งยังเหมือนเป็นการเตือนพระสติให้กลับมาเป็นปกติ
1
ในพระราชนิพนธ์ “ขัตติยพันธกรณี” สรุปได้ดังนี้
ยามนั้นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบรรยายออกมาถึงความเจ็บป่วยที่ยาวนานนัก ความหนักใจในฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จนคิดอยากจะลาตาย เพราะเป็นที่หนักใจแก่ผู้ดูแลรักษา จึงมีพระราชดำริท่ีจะเสด็จสวรรคตเพื่อปลดเปลื้องภาระ ทรงคิดตระหนักว่าถ้าไปสู่โลกหน้าคงจะสุขเกษมกว่าท่ีเป็นอยู่
4
รัชกาลท่ี 5 ทรงเล่าถึงพระอาการประชวรว่าเป็นฝีสามยอด เจ็บปวดอย่างไม่น่าเชื่อ การประชวร คร้ังนี้มิใช่แต่พระวรกายแต่ยังทรงกลัดกลุ้มพระราชหฤทัยด้วย ผู้ใดได้มาเป็นเช่นพระองค์จึงจะรู้ถึง ความเจ็บปวดว่ามากเพียงใด
7
ในพระราชนิพนธ์ทรงเปรียบพันธกรณีท่ีมีต่อชาติบ้านเมืองว่าเหมือนตะปูดอกใหญ่ท่ีตรึงพระบาท ของพระองค์ไว้มิให้ก้าวไปไหนได้ จึงขอให้ผู้ท่ีมีเมตตาถอนตะปูดอกนี้ให้ด้วย
5
เหตุการณ์ ร.ศ.112
พระองค์ยังกล่าวอีกว่าชีวิตคนเรา เปลี่ยนแปลงไป มีสุขมีทุกข์สลับกันไปมาหลายคร้ังหลายหน ดั่งคำโบราณท่านว่าชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน พระองค์ ทรงรำพึงรำพันว่ายามเป็นเด็กมีความสุขคล้ายกับพวกเดรัจฉาน คือมีทั้งทุกข์ สุข กล้าหาญ และหวาดกลัว แต่ยามน้ีภาระแต่ละอย่างย่อหย่อนไปเพราะเผลอคล้ายคนใกล้ตาย
3
รัชกาลท่ี 5 ยังทรงกล่าวต่อไปอีกว่า ฉันไปพบเด็ก 5-6 คน โกนศีรษะนุ่งขาว ไต่ถามได้ความว่า เป็นคนเชิญเครื่องท่ีหอศพ ทำให้รู้สึกเศร้าใจ นึกถึงกล้วยท่ีเผาจนเหลือง เหลืองย่ิงกว่าสีผิวของพระลักษณ์ ทีแรกอร่อย ใคร ๆ ก็อยากจะกิน แต่พอหลายวันเข้าก็แข็งกลืนยาก จะเอาส้อมจิ้มสักกี่ที ก็ไม่อ่อนลงได้
ความเจ็บป่วยของพระองค์น้ันนานนัก จนนึกเบื่อหน่ายเรื่องการบำรุงรักษาร่างกาย ส่วนจิตใจก็ไม่สบายกลัดกลุ้ม อัดอั้นตันใจยากที่จะหาย ลำบากใจต้องคอยครุ่นคิดกังวลใจถูกบีบคั้นอัดอั้น กลัวว่าจะเป็นเหมือนกษัตริย์ สองพระองค์ (คือสมเด็จพระมหินทราธิราช และพระเจ้าเอกทัศน์) ที่ไม่ได้คิดปกป้องกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง เสียเมือง และถูกนินทาไม่ว่างเว้น รัชกาลที่ 5 ทรงคิดหาทางออกไม่ได้ ยามประสบพบหน้าใคร ก็เป็นที่อับอายจนไม่อยากมีพระชนม์ชีพต่อไป
6
ขัตติยพันธกรณีเหมือนจดหมายลาตายที่แฝงนัยยะบางอย่างของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ "ขัตติย พันธกรณี" หรือ เหตุที่เป็นข้อผูกมัดของกษัตริย์ที่มีต่อประเทศชาติยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าชีวิต นัยยะนี้แสดงถึงพฤติกรรมของพระมหากษัตริย์ทรงบําเพ็ญพระราชกรณียกิจทุกอย่างเพื่อความเจริญมั่นคงของประเทศ
5
นัยยะที่สอง คือ ทรงไม่ต้องการสร้างความลําบากใจแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่ต่ำกว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชดําริที่จะเสด็จ สวรรคตเพื่อมิให้ผู้ดูแลรักษาต้องลําบาก
5
นัยยะที่สาม คือ ทรงมีพระราชหฤทัยต้องการรับความเมตตา และความเห็นใจจากผู้อื่น แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจะทรงดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าชีวิตของปวงชนชาวสยามขณะนั้นก็ทรงปรารถนาที่จะได้รับความเมตตาและความเห็นใจจากผู้อื่น ดั่งมนุษย์ปุถุชนทั่วไป
2
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
นัยยะสุดท้าย คือ ความซื่อสัตย์และความรักของพี่น้อง อย่างที่สมเด็จกรมพระยาดํารงฯ ทรงเตือนพระสติ และทรงยินดีสละพระชนมชีพเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงหายพระประชวร และทรงยินดีรับใช้ทุกเรื่องแล้วแต่จะทรงบัญชาการ
2
หากต้องการอ่านเป็นแบบพระราชนิพนธ์เดิม ลองค้นหาในอินเตอร์เนตดูได้เลยนะครับ และที่ผมนำเรื่องนี้มาเขียนไม่ได้เป็นการตอกย้ำให้มีความอาฆาตเคียดแค้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงอยากสื่อให้เห็นในอีกมุมหนึ่งว่าทุกคนย่อมมีช่วงเวลาที่อาจจมดึ่งตกต่ำไปกับความทุกข์ในลักษณะที่แตกต่างกันไม่เว้นแม้แต่พระมหากษัตริย์
3
และแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานร้อยกว่าปี ปัจจุบันเมื่อเรากลับไปในสถานที่จริงเช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือ พระราชวังบางปะอิน คนทั่วไปก็ไม่อาจทราบเลยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
2
ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่เราจะต้องนำมาปะติดปะต่อกันเพื่อทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และนี่คือภาพหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์จากหลักฐานของแท้ทันยุค ที่ผมได้นำเงินส่วนตัวซื้อกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นภาพเดียวที่สามารถสื่อถึงพระราชกรณียกิจครั้งสำคัญของสยามช่วงนั้น และสื่อให้ท่านผู้อ่านเห็นว่าตอนนั้นพระมหากษัตริย์ทรงคิดอย่างไร และทำไมจดหมายลาสวรรคตถึงได้เกิดขึ้นมา
7
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
อ้างอิง:
- L’Univers illustre ฉบับวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2436
- พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 “ขัตติยพันธกรณี”
- หนังสืองานศพราชสกุลจิรประวัติ
3
โฆษณา