15 มี.ค. 2021 เวลา 00:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
CRISPR กับการควบคุมความเจ็บปวด
ความเจ็บปวดเป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทนทุกข์ทรมานมานาน และมีการแสวงหาวิธีระงับความเจ็บปวด รวมไปถึงยาแก้ปวด ทั้งพาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโปรเฟน รวมไปถึงกลุ่มยาเสพติดตระกูลฝิ่น เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน อ็อกซี่โคโดน ซึ่งยาเหล่านี้ระงับความเจ็บปวดได้เพียงชั่วคราว และไม่ได้ระงับความเจ็บปวดได้ 100% แถมยังมีโอกาสเสพติดได้อีกด้วย
3
ทั้ฃนี้มีมนุษย์ 19-50% ต้องเผชิญกับอาการเจ็บปวดเรื้อรัง และต้องพึ่งพายาเหล่านี้ตลอดเวลา และมีคนจำนวนมากเสพติดยานี้ และอาจจะมีอันตรายถึงชีวิต เมื่อมีการใช้ยาเหล่านี้เกินขนาด
4
จะดีไหมถ้าคนเราจะไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป ถ้าเป็นได้ คงเป็นเหมือนยอดมนุษย์ในหนัง ที่โดนศัตรูทำร้าย แต่ก็ไม่รู้จักกับความเจ็บปวด จนสู้ได้ชัยชนะ
แต่ในปี ค.ศ.2006 วงการวิทยาศาสตร์ได้ยินเรื่องราวของเด็กชาวปากีสถานคนหนึ่งที่ไม่รู้จักกับความเจ็บปวด เขาเป็นนักแสดงบนท้องถนนที่แสดงการเดินบนถ่านร้อนๆ และเอามีดแทงผ่านเนื้อโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด เสียดายที่เด็กคนนี้เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 14 ปีหลังจากโดดจากหลังคาบ้าน เพราะเพื่อนเขาท้าให้เขากระโดด ตฝในตอนแรก เขาไม่รู้สึกถึงอาการบาดเจ็บ แต่เสียชีวิตไม่กี่วันหลังจากนั้น
17
นักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามค้นคว้าหาข้อมูล และค้นพบเด็กอีก 6 คนจาก 3 ครอบครัวในปากีสถานที่เป็นญาติห่างๆ กันที่ไม่เคยรู้จักกับความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน เด็กทั้งหมดมีแผลจากการกัดปากและลิ้น และมีกระดูกหักเต็มไปหมด เพราะเด็กเหล่านี้ไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอันตรายกับตนเอง จากการทดสอบร่างกาย ทำให้นักวิทยาศาสตร์พบว่า เด็กเหล่านี้มีความรู้สึกกับความร้อน และการสัมผัสเหมือนปกติ แต่ไม่รู้สึกความเจ็บปวดใดๆ ได้เลย
9
จากการตรวจสอบพันธุกรรมเด็กเหล่านี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เด็กทุกคนมีความผิดปกติในยีนที่เรียกว่า SCN9A ที่เป็นยีนที่ควบคุมช่องโซเดียมไออ้อน Nav1.7 ทำให้ไม่สามารถรับรู้อาการเจ็บปวดได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะกรณีที่เกิดอาการบาดเจ็บภายใน จะไม่รู้สึกถึงปัญหา และอาจจะไปพบแพทย์ไม่ทันการณ์
3
ในขณะที่ผู้ที่มีปัญหากับยีนชุดเดียวกันนี้ ประสบกับอาการที่เรียกว่า Erythromelalgia หรือ Mitchell's disease กลับประสบกับภาวะตรงกันข้าม ความร้อนหรือความเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย กลับทำให้คนไข้เหล่านี้รู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง จนมือเท้าบวม เป็นสีแดงไปหมด ในอดีต แพทย์ถึงกับตัดสินใจตัดอวัยวะที่เจ็บปวดมากออกไป เพื่อให้ผู้ป่วยยังสามารถพอใช้ชีวิตได้ แทนที่จะต้องทรมานกับความเจ็บปวดอย่างหนักจนทนไม่ไหว
5
นักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสนใจกับยีนชุดนี้มาก และพยายามค้นหาวิธีที่จะจัดการกับยีนชุดนี้ ล่าสุด Ana Moreno หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Navega Therapeutics ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน Science Translational Medicine เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ว่า ประสบความสำเร็จในการใช้การตัดต่อยีนด้วยเทคโนโลยี CRISPR-dCas9 ในการลดความเจ็บปวดในหนูได้นานถึง 44 สัปดาห์
2
หลายๆ คนที่รู้จักและเคยได้ยินเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างดี คงสงสัยว่าทำไมไม่ใช้เทคโนโลยีนี้ในการลบยีนบางส่วน เพื่อตัดการเจ็บปวดแบบถาวรไปเลย ทั้งนี้เป็นเพราะ การเปลี่ยนแปลงยีนแบบถาวรมีความเสี่ยงสูงมาก โดยเฉพาะการพยายามทำให้ไม่รู้สึกการเจ็บปวดเลย แบบเป็นการปิดสวิทช์ เพราะความรู้สึกเจ็บปวดเป็นความรู้สึกทีสำคัญสำหรับการอยู่รอดของมนุษย์ การขาดความรู้สึกนี้ไป 100% เป็นอันตรายมากๆ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
1
วิธีการที่ผู้วิจัยนี้ใช้เป็นวิธีการตัดต่อยีนเพื่อที่จะสร้างความสามารถที่จะระงับการทำงานของยีนโดยการจับตัว (bind) เข้ากับยีน SCN9A สารพันธุกรรมนี้ถูกฉีดเข้าไปในไขสันหลัง (lumbar intrathecal route) โดยใช้เชื้อไวรัสกลุ่ม adenovirus (adeno-associated viruses (AAVs)) เป็นวิธีการส่งรหัสพันธุกรรม (genome) เข้าไปในร่างกาย
1
การทดลองนี้ได้ที่น่าพอใจในหนูทดลอง ขั้นตอนถัดไป คือการทดลองในลิง และมนุษย์ในลำดับถัดไป อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังเป็นกระบวนการค่อนข้างใหม่ และต้นทุนสูง จึงยังน่าจะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในอนาคต อีกทั้งยังไม่รู้ว่าวิธีการเดียวกันจะระงับความเจ็บปวดได้นานเพียงไร และมีผลข้างเคียงอื่นหรือไม่
3
ภาพจาก the guardian
กระบวนการของการทดลองในหนูของงานวิจัยนี้
โฆษณา