16 มี.ค. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากอะไร?
9
กลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิไทย ถ้าใครได้รับประทานก็คงจะติดใจ โดยลักษณะความหอมของข้าวหอมมะลินี้เกิดจากการสร้างและสะสมสารหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP) ซึ่งสารหอม 2AP นี้ ผลิตเฉพาะในข้าวหอม ใบเตย ดอกชมนาถ เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น
8
ในเชิงโภชนาการ กลิ่นหอมของข้าวช่วยทำให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น
2
ในปี พ.ศ. 2547 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยได้ค้นพบรหัสพันธุกรรมหรือยีนที่เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสารหอมในข้าวหอมมะลิไทย และเป็นยีนเดียวกันกับที่พบในข้าวหอมทุกพันธุ์ในโลก
1
ยีนความหอมในข้าวเป็นลักษณะด้อย คือ เมื่อเอาข้าวหอมผสมกับข้าวไม่หอม ลูกที่ได้จะไม่หอม นั่นหมายความว่า ยีนไม่หอมทำงานข่มยีนหอมนั่นเอง
ในอดีตนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ พบว่ารหัสพันธุกรรมที่สำคัญนี้น่าจะอยู่บริเวณเล็กๆ ของโครโมโซมคู่ที่ 8 โดยวางตำแหน่งเอาไว้เทียบเคียงกันได้โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ แต่ไม่มีใครสามารถเข้าใกล้ยีนนี้ได้ เนื่องจากการแยกข้าวหอมจากไม่หอมทำได้ยาก จนนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสร้าง “ ข้าวคู่แฝด “ ได้สำเร็จ และนำไปสู่การค้นพบยีนความหอมได้ในที่สุด นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก
8
ความหอมของข้าวหอมมะลิไทย ถือเป็นลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้คณะวิจัยของไทยร่วมมือกันค้นหายีนที่ควบคุมการสร้างสารหอม เพื่อความมุ่งหวังในการนำยีนนี้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมไทย
โดยเริ่มจากการร่วมมือกับนานาชาติในการถอดรหัสจีโนมข้าว และในที่สุดก็ค้นพบยีนความหอมและได้มีการตั้งชื่อยีนว่า Os2AP และได้จดสิทธิบัตรยีนความหอมของข้าว ซึ่งปัจจุบันได้รับการรับรองแล้วใน 11 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, จีน, เวียดนาม, อินเดีย, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, เยอรมนี และ สวิสเซอร์แลนด์
4
การค้นพบยีนความหอมในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมของไทยอย่างมาก โดยมีข้าวหอมพันธุ์ใหม่ๆ ที่ได้จากการพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยใช้ยีนความหอมนี้ เช่น ข้าวเหนียวธัญสิริน ข้าวหอมมะลิ 80 ข้าวหอมชลสิทธิ์ และข้าวหอมปิ่นเกษตร
3
นอกจากนี้ ยีนความหอมที่ถูกค้นพบในข้าวยังนำไปสู่การค้นหายีนความหอมในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สามารถสร้างสารหอมได้
โดยคณะวิจัยหลายกลุ่มได้ค้นพบยีนคู่เหมือนของยีนความหอมของข้าวในพืชเศรษกิจอื่นๆ เช่น ถั่วแระหอม, ข้าวฟ่างหอม, แตงกวาหอม, ฟักเขียวหอม, บวบหอม, เผือกหอม, มะพร้าวน้ำหอม และ ส้มโอหอม
นับได้ว่าการค้นพบยีนความหอมในข้าวเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อวงการเกษตรของประเทศไทย
**ความรู้เพิ่มเติม**
สารหอม 2AP ถูกผลิตอยู่ในขบวนการของการสังเคราะห์ Polyamines (Polyamine pathway) ซึ่งขึ้นอยู่กับบทบาทของยีนความหอม Os2AP โดยในข้าวไม่หอมยีนนี้จะทำหน้าที่ในการผลิตเอ็นไซม์ aminoaldehyde dehydrogenase (AMADH) ที่คอยเปลี่ยนสารตั้งต้น 4-aminobutanal เป็นสาร gamma-aminobutyric acid (GABA)
1
ในทางตรงกันข้าม ยีน Os2AP ในข้าวหอมจะเกิดการกลายพันธุ์ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ในการสังเคราะห์เอ็นไซม์ AMADH ได้
2
ดังนั้นสารตั้งต้น 4-aminobutanal จึงไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็น GABA แต่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารหอม 2AP แทน
3
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา