16 มี.ค. 2021 เวลา 01:30
รู้จัก Flow State
ช่วงเวลามหัศจรรย์ที่จะทำให้เราเป็น The best version ของตัวเอง!
มีใครเคยทำงานเพลินจนลืมเวลา รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปหลายชั่วโมงกันบ้าง?
ช่วงเวลาที่เรา ‘ตกอยู่ในภวังค์’ แต่ละครั้งที่ทำให้เราโฟกัสกับงานใดงานหนึ่ง ราวกับว่าบนโลกนี้มีเพียงแค่เรากับงานหรือสิ่งที่ต้องทำตรงหน้า ในทางจิตวิทยาจะเรียกสิ่งนี้ว่า ‘Flow State’ หรือภาวะลื่นไหล
1
ทฤษฎีนี้ถูกค้นพบโดย Mihály Csíkszentmihályi นักจิตวิทยาชาวฮังการี เมื่อปี 1975 ซึ่งภายหลังมีการค้นพบว่าการอยู่ในภาวะ Flow State มีโอกาสที่จะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีความสุขมากขึ้น
ใครๆ ก็น่าจะอยากให้ช่วงเวลานี้เกิดขึ้นบ่อยๆ วันนี้ Career Fact จึงขออาสามาอธิบายกลไกการทำงานของ Flow State และเผยเคล็ดลับที่ว่า ทำอย่างไรเราถึงจะมีโมเมนต์ทำงานเพลินจนลืมเวลาได้ทุกวัน!
1
#ภาวะFlowStateเกิดขึ้นได้อย่างไร
Flow State เป็นกระบวนการทางความคิดที่คลื่นสมองทำปฏิกิริยาส่วน Neocortex ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และทำให้ในส่วนของเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าปิดลงชั่วคราว พูดง่ายๆ ก็คือตอนที่เราจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ เราจะรับรู้เรื่องของเวลาและเรื่องอื่นๆ ที่เราไม่ได้กำลังสนใจได้น้อยลง
Flow State นี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา การทำอาหาร หรือเวลาที่เราปล่อยความคิดเรื่อยเปื่อยตอนอาบน้ำ
#FlowStateจะช่วยเราทำงานได้อย่างไร
การที่เราทำงานไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาหนึ่งที่เราได้เข้าสู่ภาวะ Flow State เราจะสามารถเช็กง่ายๆ โดยการลองเปิดเพลงที่มีเนื้อร้องไปด้วย ถ้าเราสามารถทำงานได้ปกติและต่อเนื่อง โดยไม่สนใจเนื้อเพลงหรือความวุ่นวายภายนอก นั่นก็แปลว่าเรามีสมาธิและสามารถจดจ่อกับงาน ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดี
2
เพราะยิ่งเราอินกับงานมากเท่าไหร่ เรามีแนวโน้มที่จะทำงานชิ้นนั้นได้ดีขึ้นเท่านั้น
#วิธีเข้าสู่FlowState
1. เลือกงานที่เรารักหรือถนัด ถ้าเราทำงานที่เราไม่ได้ชอบหรือไม่ได้สนใจ เราจะไม่มีทางที่จะเข้าสู่ภาวะ Flow State ได้เลย
2. เลือกงานที่ท้าทายแต่พอดี ถ้างานยากเกินไปจะทำให้เข้าสู้ภาวะ Flow State ลำบาก แต่ถ้าง่ายเกินไปก็จะทำให้เบื่อหน่ายหรือสามารถจัดการได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงภาวะ Flow State เพราะเราไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมาก
1
3. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าสู่ Flow State หากเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงความคิดที่วุ่นวาย เสียงรบกวน เสียงแจ้งเตือนอีเมล โซเชียลมีเดีย โทรทัศน์หรือสิ่งของต่างๆ ทั้งหลายที่สามารถดึงความสนใจของเราไป
4. สร้างแรงจูงใจ ตัดสินใจที่จะตั้งใจทำงานนั้นให้สำเร็จ เราอาจคำนวณเวลาเบื้องต้นไว้ว่าจะใช้เวลาไม่นาน แม้ว่าเวลาผ่านไปนานแล้ว แต่ในระหว่างที่เราทำงานไปเรื่อยๆ จะสามารถทำได้ต่อเนื่องได้เองถ้ามีแรงจูงใจที่เข้มข้นมากพอ
#วิธีรักษาFlowState
ให้พยายามสังเกตและถามตัวเองว่าเวลาเราทำงาน Flow งานเราเป็นอย่างไร เวลาไหนหรือวิธีไหนที่เราสามารถเข้าสู่ Flow State ได้ดีที่สุด เราตั้งใจที่จะทำอะไรลงไปและเราต้องการอะไรจากงานชิ้นนี้ สุดท้ายคือการสร้างแรงจูงใจผ่านคำถามว่าเราทำงานชิ้นนั้นไปทำไมและทำไมถึงมีความหมายต่อเรา
การทำงานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ถ้าหากเราสามารถเลือกงานที่ตรงกับเป้าหมายชีวิตและลื่นไหลไปตามจังหวะแบบที่เราต้องการ นอกจากเราจะสามารถจัดการทุกอย่างได้ง่ายขึ้น เรายังสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นด้วย
#careerfact
………………
Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว
ติดตาม Career Fact ทุกช่องทางได้ที่ https://linktr.ee/careerfact
โฆษณา