17 มี.ค. 2021 เวลา 23:31 • สุขภาพ
อาการปัสสาวะบ่อย คืออะไร?
1
อาการปัสสาวะบ่อย เป็นอาการที่พบบ่อย อาจเกิดจากอาหารหรือน้ำที่กินมากไป ในขณะเดียวกันอาจเป็นอาการนำของโรคร้ายได้เช่นกัน
#สาระจี๊ดจี๊ด
ปกติคนทั่วไปจะปัสสาวะกลางวันไม่เกิน 8 ครั้ง ปัสสาวะกลางคืนไม่เกิน 2 ครั้ง หากบ่อยกว่านี้อาจมีสาเหตุหรือความผิดปกติบางอย่างที่ควรระวัง
1
ภาวะของการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้บ่อย และมักเกิดกะทันหัน จนบางครั้งมีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน
สาเหตุของปัสสาวะบ่อย
- โรคเบาหวาน การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
- โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติเช่นโรคเบาจืด โรคคุชชิง (Cushing syndromes)
- โรคระบบทางเดินปัสสาวะทั้งกระเพาะปัสสาวะอักเสบและกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder)
- ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุน้อยลงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
1
- โรคทางระบบสืบพันธุ์ เช่นเนื้องอกมดลูกหรือรังไข่ ที่โตเบียดกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในผู้ชายทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยได้อาจมีอาการร่วมคือปัสสาวะลำบากต้องเบ่งและคอยนานกว่าปัสสาวะจะออกมา
- ภาวะทางจิตใจ (psychogenic polydipsia) ทำให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติจึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
1
- ยาหรือสารบางชนิดเช่น ยาขับปัสสาวะ คาเฟอีนแอลกอฮอล์ มีผลทำให้ปัสสาวะบ่อยได้
1
- โรคไตเรื้อรัง การทำงานของไตที่เสื่อมลงอาจจะทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย
1
ปัสสาวะบ่อย เมื่อไรที่ต้องมาพบแพทย์
**เมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อยจนรู้สึกว่าผิดปกติหรือรบกวนชีวิตประจำวัน หรือมีอาการร่วมต่าง ๆ ดังนี้
- ปัสสาวะมีเลือดปนหรือปัสสาวะขุ่น
- ปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม
1
- มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
- มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณท้องน้อย หรือมีก้อนที่ท้องน้อย
- ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออกต้องเบ่ง
- มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- มีไข้ร่วมด้วย
ปัสสาวะบ่อย รักษาได้อย่างไร?
การรักษาภาวะปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปยังสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อความผิดปกติในการปัสสาวะเป็นอันดับแรก เช่น...
หากผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เพราะหากสาเหตุเหล่านั้นบรรเทาลงได้จะช่วยให้ความถี่ในการปัสสาวะลดลง
นอกจากนี้ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตด้วย เช่น...
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวต่าง ๆ ก่อนนอน
- ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนลง
ในบางกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อปัสสาวะ (Kegel Exercises) หรือการฝึกขมิบช่องคลอด ซึ่งวิธีการทำคือ การฝึกขมิบรูเปิดของอวัยวะอุ้งเชิงกราน และขมิบให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยกขึ้นและเข้าไปข้างใน หากทำได้เป็นประจำจะช่วยให้อาการปัสสาวะบ่อยลดลง
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
หากมีอาการปัสสาวะบ่อยเกินไป เบื้องต้นอาจลองลดปริมาณน้ำที่ดื่มร่วมกับหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลให้ปัสสาวะบ่อย จากนั้นสังเกตว่ายังมีปัญหาปัสสาวะบ่อยอยู่หรือไม่ หากอาการดีขึ้นแสดงว่าสาเหตุเกิดจากอาหารและปริมาณน้ำที่รับประทาน แต่หากยังคงปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาการปัสสาวะบ่อยอาจเป็นสัญญาของอาการอื่น ๆ หรือปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงกลางคืน หรือมีลักษณะปัสสาวะผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา