18 มี.ค. 2021 เวลา 09:08 • ประวัติศาสตร์
พุทธมณฑล
สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล พุทธศักราช 2500 บนเนื้อที่กว่า 2,500 ไร่ มีพระพุทธรูปปางลีลา ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเรียกว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ” เป็นพระประธานพุทธมณฑล
พระศรีศากยะทศพลญาณ บนดวงแสตมป์
พระศรีศากยะทศพลญาณมีความโดดเด่นอยู่ตรงผ้าจีวรที่มีความพลิ้วเหมือนจริง ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พุทธศักราช 2525 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี
ย้อนไปสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้จัดสร้างปูชนียสถานเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณียสถาน เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบ 2,500 ปี
ต่อมาจึงได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปทรงประกอบรัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล ณ บริเวณที่จะก่อสร้างพระพุทธรูปประธานพุทธมณฑล ณ สถานที่ ซึ่งต่อมาเป็น อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
การก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2500 แต่ต้องชะลอตัว ด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ภายหลังได้รื้อฟื้นโครงการขึ้นอีกครั้ง โดยใช้เงินงบประมาณของรัฐและการบริจาคของประชาชน
อีกทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้งานก่อสร้างพุทธมณฑลอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงทำให้การก่อสร้างก้าวหน้าไปอย่างมาก
การก่อสร้างพุทธมณฑลเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อสร้างองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์สำเร็จ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จประกอบพิธีสมโภช เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2525
หลังจากนั้นก็มีการก่อสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติมมาตลอด เช่น มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน และหอประชุม เป็นต้น ปัจจุบันนอกจากจะเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และจัดกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาพักผ่อนได้อีกด้วย
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ ศาสนสถานพุทธมณฑล จึงได้จัดพิมพ์ดวงตราไปรษณียากร ชุดงานสมโภชพุทธมณฑล
วันแรกจำหน่าย 5 ธันวาคม 2531
พิมพ์ที่ Harrison & Sons (High Wycombe) Ltd., England
แสตมป์ชุดงานสมโภชพุทธมณฑล 2531
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
2 บาท 3,000,000 ดวง 5 บาท 3 บาท
3 บาท 1,000,000 ดวง 8 บาท 4 บาท
4 บาท 1,000,000 ดวง 10 บาท 6 บาท
5 บาท 1,000,000 ดวง 12 บาท 8 บาท
6 บาท 1,000,000 ดวง 20 บาท 9 บาท
ความหมายภาพบนดวงแสตมป์
ชนิดราคา 2 บาท
ภาพจำลองสังเวชนียสถาน ตำบลประสูติ ที่พุทธมณฑล ซึ่งเป็นภาพแท่นหินสลักรูปดอกบัว 7 แท่น หมายถึง แคว้นต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศเผยแผ่
ชนิดราคา 3 บาท
ภาพจำลองสังเวชนียสถาน ตำบลตรัสรู้ ที่พุทธมลฑล
ชนิดราคา 4 บาท
ภาพจำลองสังเวชนียสถาน ตำบลปฐมเทศนา ภาพแท่นปัญจวัคคีล้อมรอบ
ชนิดราคา 5 บาท
ภาพจำลองสังเวชนียสถาน ตำบลปรินิพพาน ภาพแท่นประทับและแท่นพระอานนท์เฝ้าอยู่ทางปลายพระบาท
ชนิดราคา 6 บาท
ภาพพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
และในวาระฉลองกึ่งพุทธกาล พุทธศักราช 2500 กรมไปรษณีย์-โทรเลข ได้ออกดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก ในชื่อชุดฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
ออกจำหน่ายครั้งแรก 1 พฤษภาคม 2500
พิมพ์ที่ The Government Printing Bureau, Ministry of Finance, Japan
แสตมป์ชุด ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
5 ส.ต. 4,000,000 ดวง 50 บาท 7 บาท
10 ส.ต. 8,000,000 ดวง 50 บาท 8 บาท
15 ส.ต. 1,000,000 ดวง 150 บาท 45 บาท
20 ส.ต. 1,000,000 ดวง 150 บาท 45 บาท
25 ส.ต. 30,000,000 ดวง 30 บาท 5 บาท
50 ส.ต. 2,000,000 ดวง 60 บาท 20 บาท
1 บาท 3,000,000 ดวง 80 บาท 20 บาท
1.25 บาท 1,000,000 ดวง 800 บาท 160 บาท
2 บาท 1,000,000 ดวง 230 บาท 40 บาท
ชุดฉลอง 25 พุทธศตวรรษนี้ ในรูปผมยังแหว่งอยู่ 1 ดวง คือ ดวง 1.25 บาท ในวงการแสตมป์ เรียกว่า “ตัวติด” เป็นดวงที่หายากที่สุดในชุดครับ
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ขอบคุณที่ติดตามครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา