18 มี.ค. 2021 เวลา 13:11 • ธุรกิจ
นิยามของคำว่า “ความฉลาด” ของ Steve Job ในวัยหนุ่ม
เราอาจจะได้เห็นว่านิยามคนฉลาดหรือการเป็นอัจฉริยะ คือคนที่ มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สามารถแก้ไขโจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้ คนที่ได้ชื่อว่าเป็นนักวิจัย หรือคนที่สามารถให้คำแนะนำกับคนอื่นได้
แต่คนเหล่านั้นอาจไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และการทำธุรกิจของตัวเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
คำตอบอยู่ในนิยามของคำว่า “ความฉลาด”
เราคุ้นเคยกับการกำหนดความฉลาดว่าเป็นคนที่มี IQ และ EQ สูง สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งเราจะใช้ในการโทษว่า “ต้นทุนของเราไม่เท่ากัน” “เราฉลาดไม่เท่ากัน” เหมือนเป็นคำปลอบใจตัวเองเวลาเราไม่ประสบความสำเร็จกับอะไรสักอย่างหนึ่ง
แม้ว่าจะเป็นความจริงบางส่วนที่ IQ สัมพันธ์กับความสำเร็จ มีงานวิจัยที่พยายามชี้นำว่า IQ เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเงิน แต่จากประสบการณ์ที่เราใช้ชีวิตมาเราน่าจะรู้ว่ามันไม่ใช่ความจริงทั้งหมด มีทั้งคนที่มี IQ สูงแต่กลับมีฐานะปานกลาง และเศรษฐีทุกคนก็ไม่ใช่คนที่มี IQ สูงเช่นกัน
3
“the key thing is that if you're going to make connections which are innovative”
“You have to not have the same bag of experiences as everyone else does” - Steve Jobs
ถ้าเราต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ เราต้องไม่มีประสบการณ์เหมือนกับที่คนอื่นมี เป็นมุมมองของนิยามของคนฉลาดที่ Steve ในวัยหนุ่มมอง สามารดูได้ผ่านยูทูป(ลิงก์ในเม้นนะครับ) ถ้าเราเคยฟังนักพูดส่วนใหญ่เราก็จะได้ยินคำว่า “คิดนอกกรอบ” “อุทศตนอย่างไม่ย่อท้อ” แต่ในคลิป Steve ให้อะไรที่ลึกซึ่งกว่านั้น
Steve มองว่าคนที่ฉลาดต้องเป็นคนที่มีความสามารถในการ “Zoom out” หรือการมองภาพใหญ่ เหมือนกับการที่เราอยู่ในชั้น 8 ของตึกสูงแล้วเห็นเมืองทั้งเมือง ในขณะที่คนอื่นกำลังสนใจแค่การเดินทางจากจุด A ไปจุด B คนที่ฉลาดจะสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ ในขณะที่คนอื่นยังไม่สามารถเชื่อมโยงอะไรได้เลยเพราะคนที่ฉลาดจะเห็นภาพทุกอย่างครบถ้วนเป็นความสามารถของการ “Zoom Out” นั่นเองทำให้เห็นภาพใหญ่ทั้งหมด
ฟังดูเหมือนง่ายก็มีแค่ “การมองภาพใหญ่” ไม่มีอะไรซับซ้อนแต่ความสามารถนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนมี และคำถามที่ตามมาคือทำยังไงถึงจะกลายเป็นคนฉลาดในนิยามของ Steve
คำตอบก็คือ การที่มีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างจากคนอื่น เพราะถ้าเรามีประสบการณ์เหมือนกันจะทำให้เราสร้างความเชื่อมโยงในรูปแบบเดียวกัน และไม่สามารถสร้างนวัตกรรมอะไรใหม่ๆได้ ซึ่งก็มีงานวิจัยมาสนับสนุนมากมายเช่นจากการวิจัย Openness to Experience as a Predictor and Outcome of Upward Job Changes into Managerial and Professional Positions ว่าการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆจะช่วยเสริมให้มีความคิดสร้างสรรค์ และทำให้มีความก้าวหน้าในการทำงานไปสู่ระดับผู้จัดการ หรือกลายเป็นผู้ประกอบการ และในงานวิจัยยังบอกอีกว่าคนที่เปิดรับประสบการณ์จะค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจ ไม่เหมือนคนทั่วไป และได้รับมุมมองที่ประเมินค่าไม่ได้
ไลฟสไตล์ของเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเป็นตัวบอกสิ่งที่ Steve บอกเป็นอย่างดี
Divyank Turakhia มหาเศรษฐีเทคโนโลยีชาวอินเดียอายุ 35 ปีเคยกล่าวไว้ว่าตั้งแต่อายุ 15 ปีเขาอ่านหนังสือเป็นเวลา 800 ชั่วโมงต่อปีทุกปี
และเศรษฐีอีกคนหนึ่ง Tobias Lütke ผู้ก่อตั้ง Shopify เองก็เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้บ้าในการอ่านหนังสืออย่างมากและเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา และการที่ Tobias ชอบอ่านหนังสืออย่างบ้าคลังเพราะมองว่าหนังสือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคนเก็บตัว( introverts) ในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่ไม่เหมือนใคร และช่วยในการสร้างมุมมองความคิดใหม่
แม้ว่าหนังสือจะไม่ได้ช่วยให้เราประสบความสำเร็จ แต่หนังสือจะช่วยขยายขอบเขตความคิดของเรา ถ้าเราสามารถอ่านหนังสือธุรกิจคลาสสิก 100 เล่มเราจะมีความสามารถในการมองเห็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นหรือโอกาสที่พลาดได้ก่อนใคร
ประสบการณ์คือทุกสิ่งทุกอ่าง
การรับประสบการณ์ใหม่ไม่ได้มีแค่ทางเดียว บางคนได้มาจากการอ่านหนังสือ ได้จากการเรียนคอร์สออนไลน์ ได้จากการเดินทางท่องเที่ยว หรือได้จากการรู้จักคนใหม่ๆที่ทำให้ได้ทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม
rule of thumb ของการเป็นคนฉลาดในโลกของการทำงานที่มีแต่คนเก่งคือเราต้องมีประสบการณ์ที่แตกต่างจากคนอื่นจนทำให้เรามองสิ่งต่างๆในแบบที่มีวิสัยทัศน์
Credit Pic: milenanguyen
โฆษณา