19 มี.ค. 2021 เวลา 18:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เตรียมบอกลาการตกหลุมอากาศสุดสะพรึง!!
เพราะไมโครโฟนพิเศษที่พัฒนาโดย NASA นี้สามารถได้ยินเสียงกระแสอากาศปั่นป่วนที่อยู่ไกลออกไปกว่าหลายร้อยกิโลเมตรได้
ไมค์ความไวสูงที่ใช้ตรวจจับเสียงความถี่ต่ำที่เกิดจากกระแสอากาศปั่นป่วน
หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์การเดินทางด้วยเครื่องบินที่ต้องเจอกับการตกหลุมอากาศหรือเครื่องบินผ่านกระแสอากาศปั่นป่วนอย่างรุนแรง
ซึ่งในบางครั้งมันรุนแรงมากจนสร้างประสบการณ์สุดหลอนที่ทำให้หวาดผวาการบินกันไปเลยทีเดียว
ถ้าเจอแบบนี้คงหลอนกับการบินไปอีกนานจนบางคนไม่กล้าขึ้นเครื่องบินอีกเลยก็มี
ซึ่งรูปแบบของกระแสอากาศแปรปรวนที่สร้างความปวดหัวให้กับนักบินก็คือกระแสอากาศปันป่วนที่มองไม่เห็นหรือ Clear Turbulence
เพราะมันมีอยู่แต่มองไม่เห็น เห็นฟ้าใส ๆ ที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้านั้นอาจจะมีกระแสอากาศปั่นป่วนที่พร้อมจะเขย่าเครื่องให้สั่นราวกับมีมือยักษ์ที่มองไม่เห็นจับเครื่องเหวี่ยงไปมา
CAT เกดจากกระแสอากาศวิ่งสวนทางกันด้วยความเร็วที่ต่างกัน
Clear Air Turbulence (CAT) นี้มองไม่เห็นเรดาห์ก็ตรวจจับไม่ได้ มีเพียงกัปตันมากประสบการณ์บางคนเท่านั้นที่อาจจะพอคาดเดาถึงการมีอยู่ของเจ้า CAT นี้ได้
ซึ่งก็มีความพยายามในการพัฒนาระบบตรวจจับ CAT มาโดยตลอด อาทิเช่น การใช้ LIDAR ระบบที่ใช้คลื่นแสงในการตรวจจับ
ตรวจจับได้ในระยะ 10-15 กิโลเมตร แต่เครื่องบินนั้นบินด้วยความเร็วกว่า 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ LIDAR นั้นก็ยังมีระยะตรวจจับที่ยังสั้นเกินไปเมื่อเทียบกับความเร็วของเครื่องบิน ซึ่งทำให้ไม่สามารถเบี่ยงเส้นทางบินเพื่อหลีกเลี่ยงกระแสอากาศปั่นป่วนได้ทัน
1
มาวันนี้ทีมนักวิจัยจาก NASA ได้พัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจจับเพื่อหาเส้นทางบินที่เหมาะสมในการหลีกเลี่ยง CAT ได้ตั้งแต่ระยะหลายร้อยกิโลเมตร
ด้วยการเงี่ยหูฟังคลื่นเสียงความถี่ต่ำที่หูมนุษย์เราไม่ได้ยิน หรือ infrasound (ความถี่ 0.001 ถึง 20 hertz) ที่เกิดจากกระแสอากาศปั่นป่วนซึ่งจะมีรูปแบบเฉพาะตัว
แต่ไมโครโฟนทั่วไปที่มีอยู่ในท้องตลาดนั้นไม่ไวพอที่จะตรวจจับคลื่นเสียงความถี่ต่ำนี้ได้
1
ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาไมค์พิเศษที่ประกอบด้วยแผ่นไดอะแฟรมขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับช่องกักอากาศซึ่งทำให้สามารถตรวจจับเสียงความถี่ต่ำจากระยะไกลได้
HiDRON glider ขณะทำการบินทดสอบและเก็บข้อมูลสภาพอากาศ
ผลการทดสอบเบื้องต้นโดยการติดตั้งเจ้าไมค์พิเศษนี้ไปกับยานร่อน HiDRON glider ซึ่งใช้ในการบินสำรวจเก็บข้อมูลอากาศในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ พบว่าไมค์นี้สามารถทำงานได้อย่างดี สามารถตรวจจับเสียงความถี่ต่ำจาก CAT ที่อยู่ห่างออกไปไกลเกือบ 500 กิโลเมตร
ซึ่งหากสามารถพัฒนาใช้กับเครื่องบินโดยสารโดยให้เป็นอุปกรณ์มาตราฐานในการตรวจจับ CAT ระยะไกลย่อมจะทำให้การบินปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ไม่ใช่ใช้ตามองหรือเรดาห์ตรวจจับ หากแต่ใช้การเงี่ยหูฟังต่างหากเราถึงสามารถตรวจจับ CAT ได้ทัน ซึ่งจะทำให้ฝันร้ายจากการตกหลุมอากาศหายไปจากการบินตลอดกาล
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา