22 มี.ค. 2021 เวลา 04:38 • การศึกษา
TALKING OF THAILAND : จีนปฏิรูปแผนการศึกษา ห้ามโรงเรียนจันอันดับคะแนนสอบ คุมปริมาณการบ้าน และประเมินครูจากพัฒนาการโดยรวมของเด็ก ประเทศไทยควรใช้เป็นแนวทางหรือไม่ ? มีประเด็นไหนที่น่าสนใจบ้างตามมุมมองของเรา ?
3
ล่าสุดเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่ารัฐบาลปักกิ่งเตรียมปฏิรูปยกระดับการศึกษา โดยเริ่มจากสั่งห้ามโรงเรียนจัดอันดับคะแนนสอบ คุมปริมาณการบ้าน และเพิ่มการประเมินครูจากพัมนาการโดยรวมของเด็ก
1
หน่วยงานรัฐของจีนเผยแพร่เอกสารฉบับล่าสุดของ "แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษาภาคบังคับของจีน" ซึ่งสั่งห้ามมิให้โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นเปิดเผยคะแนนสอบและไม่ให้มีการจัดอันดับคะแนนของนักเรียน
ทั้งหมดนี้ รัฐบาลกล่าวว่าเป้าหมายคือการ "ลดการยึดติดกับคะแนนสอบของเด็ก" รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น
2
1. อัตราการสมัครเรียน
2. วุฒิการศึกษา
3. งานวิจัย
4. ตำแหน่งในภาคการศึกษา
4
นอกจากนี้ เอกสารมีการเรียกร้องให้โรงเรียนควบคุมความถี่ของการจัดการสอบวัดความรู้ของเข้มงวด พร้อมกับควบคุมปริมาณการบ้านและเวลาที่นักเรียนจะต้องใช้ทำการบ้าน เพื่อลดแรงกดดันทางการศึกษาที่มีต่อเด็กมากเกินไป
ยิ่งไปกว่านั้น มีการกำหนดกฏระเบียบใหม่ โดยให้มีการประเมินครูผ่านการอ้างอิงจากพัฒนาการ "รอบด้าน" ของเด็กร่วมกับ "ผลการศึกษาเชิงวิชาการ" พร้อมมอบพิมพ์เขียวให้สถาบันการศึกษาเลิกยึดติดกับคะแนนและอัตราการสมัครเรียนเพียงอย่างเดียว
3
World Maker's ViewPoint
สำหรับมุมมองของเราในเรื่องนี้ ต้องขอท้าวความก่อนว่าแผนการของจีนในเรื่องการปฏิรูปนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในแวดวงการศึกษาครับ แต่โดยรวมแล้วถือเป็นยุทธศาสตร์ชาติของจีนที่จะยกระดับองค์รวมของประเทศในระหว่างที่รัฐบาลปักกิ่งเปิดเผยถึงความทะเยอทะยานอย่างชัดเจนว่าจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลก
ตลาดไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าข่าวเรื่องการพัฒนาของประเทศจีนดังก้องไปทั่วโลก ซึ่งทั้งนี้รวมถึงในแง่ของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเงิน และการศึกษา โดยทั้งหมดที่กล่าวมาก็ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศใดประเทศหนึ่งสู่การยกระดับตนเองขึ้นไปอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น
แต่สำหรับวันนี้ เราจะมาเจาะลึกกันเฉพาะประเด็นเรื่อง "ปฏิรูปการศึกษา" ซึ่งลองมองดูแล้ว อาจมีหลายอย่างที่ประเทศไทยควรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยจะขอนำเสนอประเด็นนี้ ตามมุมมอง การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ของเรา
Session 1 : เหตุผล มุมมอง และบทวิเคราะห์ของเรา
สำหรับบริบทของการศึกษาในประเทศไทยเรานั้น แน่นอนว่าปัจจุบันยังคงมีการจัดอันดับคะแนนสอบของเด็กในโรงเรียนกันอย่างชัดเจน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะมีการประเมินผ่านการทดสอบความรู้ในวิชาต่าง ๆ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งดูเผิน ๆ ก็เหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรเสียหาย
แต่คำถามก็คือ ทำไมจีนถึงสั่งห้าม ? แล้วมันจะได้ผลอะไร ? ส่งผลยังไงต่อการศึกษาและความรู้สึกของเด็กบ้าง ?
มุมมองของเราในเรื่องนี้ อยากให้ลองนึกถึงความรู้สึกของเด็กนักเรียนคนหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในอันดับท้าย ๆ และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่รู้กันทั้งชั้นเรียน คำถามคือ เด็กจะรู้สึกอย่างไร ? ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่นี้แต่การจัดอันดับยังส่งผลไปถึงผู้ปกครองของเด็กที่ต้องการให้ลูกของตัวเองได้คะแนนดี ๆ เพื่อที่จะได้ไม่อายใคร และแน่นอนว่านั่นส่งผลกระทบและแรงกดดันในระดับครอบครัว
1
อนึ่งแล้ว ยังมีเด็กอีกมากที่ไม่มีหัวทางด้านวิชาการ แต่มีความสามารถสูงในด้านอื่น ๆ อย่างเช่นดนตรี ศิลปะ งานฝีมือ หรือทักษะเฉพาะตัวอื่น ๆ ที่สามารถพัฒนาไปเพื่อสร้างประโยชน์ ชื่อเสียง ความภาคภูมิใจ ให้แก่ตนเองและประเทศได้ไม่แพ้กับการมีคะแนนสอบสูง ๆ ระดับ Top หรือการเรียนจบปริญญาเอกเลย
1
และย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เด็กและผู้ปกครองจะรู้สึกแย่ เมื่อพวกเขาถูกจัดอันดับอยู่ท้าย ๆ ในเรื่องที่ตัวเองอาจจะไม่ถนัด แต่กลับต้องถูกตัดสินด้วยมาตรฐานเดียวกันที่มาจากหน่วยงานการศึกษา
สิ่งนี้จะเพิ่มแรงกดดันต่อเด็ก พวกเขาจะรู้สึกแย่ว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นตั้งแต่เด็ก ขณะที่ผู้ปกครองเองก็ต้องการให้บุตรพัฒนา จึงเพิ่มแรงกดดันต่อพวกเขาไปโดยปริยาย บ้างก็ส่งลูกไปเรียนพิเศษเพิ่มจนเต็มวันหยุดของเขา ทั้ง ๆ ที่เมื่อย้อนกลับมามองดูดี ๆ แล้ว เด็กที่อยู่ในระดับชั้นประถมหรือมัธยม กำลังเป็นวัยที่มีความคิด ความฝัน และความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่ตัวเองสนใจอย่างมาก และเมื่อเป็นเช่นนั้น คำถามของเราก็คือ : เด็กในวัยนั้นควรจะใช้เวลาเพื่อตามหาความฝันที่ตัวเองชอบ ได้ลองผิดลองถูกในสิ่งที่ตัวเองอยากเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่าหรือไม่ กับการที่ระบบการศึกษากลายเป็นผู้จัดระเบียบให้เขาว่าควรจะทำอะไร เมื่อพวกเขาได้คะแนนสอบไม่ดีเท่าคนอื่น
1
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะมันอาจส่งผลต่อความรู้สึกของเด็ก และทำให้พวกเขาไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้วตัวเองมีความสามารถอะไรนอกจากการศึกษาเชิงวิชาการ และที่ยิ่งน่าเป็นห่วงคือระบบการศึกษาในปัจจุบันยังคงเป็นแบบนี้อยู่ไปจนจบมหาวิทยาลัย
ไม่ใช่ว่าการจัดอันดับบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นสิ่งไม่ดี แต่ที่เป็นปัญหาคือเราใช้ "มาตรฐานเดียวกันในการตัดสินทักษะของคนจำนวนมาก" ซึ่งแน่นอนว่ามันขัดกับหลักธรรมชาติของมนุษย์ที่ล้วนมีความสามารถเฉพาะทางแตกต่างกันออกไป
เด็กที่ไม่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ อาจมีความสามารถในการเล่นกีฬาติดตัวมาตั้งแต่เกิดและอาจพัฒนาไปถึงระดับทีมชาติหรือระดับโลกเพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศได้ ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วก็มีมากมายทั่วโลก
เด็กที่ไม่เก่งวิชาฟิสิกส์ อาจมีความสามารถในการเล่นดนตรี หรือทางศิลปะ และอาจกลายไปเป็นศิลปินระดับประเทศหรือระดับโลกได้มากมาย ซึ่งตัวอย่างก็มีให้เห็นมาแล้วทั่วโลกเช่นกัน
มองในมุมกลับกัน หากเรานำเด็กที่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ แต่ไม่มีพรสวรรค์ทางด้านกีฬาไปเตะฟุตบอล หรือเล่นดนตรี แล้วจัดอันดับเขา เขาก็จะกลายเป็นคนไร้ความสามารถคนนึงเท่านั้น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับเด็กที่ไม่เก่งวิชาพวกนี้เลย ในแง่ที่พวกเขาถูกตัดสินใจด้วยมาตรฐานทางวิชาการเป็นหลัก
ดังนั้นจึงชัดเจนมาก ว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความสามารถของเด็ก แต่อยู่ที่เกณฑ์มาตรฐานที่เราใช้เพื่อประเมินเด็กต่างหากล่ะ และทั้งนี้ก็รวมถึงการจัดอันดับเด็กอย่างเปิดเผย ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดการเปรียบเทียบขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1
มองไปให้ไกลกว่านั้น การศึกษาไทยในปัจจุบัน เราย่อมรู้กันดีว่ายังคงทำให้เกิดความรู้สึกแบบนี้ต่อตัวเด็ก เราให้ความสำคัญกับการศึกษาทางด้านวิชาการมากกว่าความสามารถเฉพาะทางอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนักในโลกอนาคตอันใกล้ที่กำลังต้องการบุคคลที่มีทักษะเฉพาะทางหรือ Soft Skill เข้ามาขับเคลื่อนประเทศ
1
เราปฏิเสธไม่ได้ว่า "การศึกษาขั้นพื้นฐาน" นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ แต่สิ่งที่เรามองคือ : เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ทำไมการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงในการพัฒนาชีวิต มุมมอง สังคม ทักษะ และความสามารถของเด็ก
หลายคนเริ่มเหตุภาพชัดเจนแล้วว่าในยุคหลัง COVID-19 จะมีการเปลี่ยนแปลงในระดับอุตสาหกรรมใหม่ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ประเทศชั้นนำของโลกเตรียมยกระดับไปอีกขั้น
1
ซึ่งหมายความว่ารูปแบบการศึกษาเดิม ๆ อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนประเทศในอนาคต
Session 2 : การสังเคราะห์ และข้อเสนอของเรา
หลายคนอาจยังสงสัยว่า Soft Skill คืออะไร แล้วสำคัญยังไงต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับโลกอนาคต
Soft Skill คือ ทักษะด้านอารมณ์ ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมไปถึงการพัฒนาตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น
1
1. ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)
2. การสื่อสาร (Communication)
3. ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability)
4. การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
5. การคิดเชิงวิเคราะห์และเลือกตัดสินใจ (Analytic Thinking and Decision-making)
6. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
7. การบริหารเวลา (Time Management)​
8. การแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน (Complex Problem Solving)
9. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning)
7
ก่อนที่จะสังเคราะห์ว่าทำไม Soft Skill จึงสำคัญสำหรับโลกอนาคต เรามาพูดถึงคู่หูของมันอย่าง Hard Skill กันก่อน
Hard Skills คือ ทักษะทางด้านความรู้ที่ใช้ในการทำงาน (รวมถึงวิชาการ) ความสามารถในการใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการทำงานที่สามารถสอนกันได้ และสามารถวัดผลความรู้หรือความสามารถนั้นออกมาได้เป็นตัวเลข หรือในแง่อื่น ๆ ที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างกับ Soft Skills ที่วัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้ยากมาก
ดังนั้นประเด็นก็คือ ระบบการศึกษาของเราตอนนี้ให้ความสำคัญกับ Hard Skill อย่างมากและแทบจะไม่ใส่ใจการพัฒนา Soft Skill ของเด็กเลย และหากจะพูดในแง่ของปรัชญา อาจกล่าวได้ว่า
"Hard Skills นั้นถือเป็นใบเบิกทางในชีวิตของเด็ก แต่ Soft Skills จะเป็นตัวนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริงในชีวิตของคน ๆ นึง"
1
ทำไม Soft Skills ถึงสำคัญกว่า Hard Skills ในยุคนี้และในโลกอนาคต ???
คำตอบก็คือ : เพราะว่าเทคโนโลยีของมนุษย์นั้นกำลังพัฒนาไปสู่อีกขั้น และนั่นหมายความว่ามนุษย์จะมีตัวช่วยทางด้าน Hard Skills มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามามีบทบาทอย่างมากของระบบ Automation และ A.I. ที่ปัจจุบันได้แย่งงาน Hard Skills ของมนุษย์ไปเยอะมากแล้ว
2
และประเด็นที่สำคัญมาก ๆ คือมนุษย์เราไม่มีความสามารถทางด้าน Hard Skills เท่ากับเครื่องจักรอย่างแน่นอน (คิดง่าย ๆ ว่าคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณสมการหรือคิดคำนวณตัวเลขต่าง ๆ ได้เร็วกว่าคุณกี่ล้านเท่า ซึ่งถือเป็นความฉลาดที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้อย่างแน่นอน)
จุดแข็งของมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่ Hard Skills แต่อยู่ที่ Soft Skills ซึ่งเทคโนโลยีไม่มี (แม้ว่าปัจจุบัน A.I. เริ่มถูกพัฒนาให้มี Soft Skills แต่ก็ยังมีหลายอย่างที่ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ โดยเฉพาะทางด้านอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ การบริหารต่าง ๆ และกีฬา)
แล้วการพัฒนา Soft Skills ของเด็กควรเป็นไปในรูปแบบใด ? จะปฏิรูปการศึกษาให้รองรับต่ออนาคตได้อย่างไร ?
1
อย่างที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าเด็กในวัยประถมหรือมัธยมศึกษานั้นกำลังเป็นวัยที่มีความฝัน และความสนใจในสิ่งที่ตัวเองชอบ (หากได้รู้และทดลองตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าพวกเขาชอบอะไร) โดยเฉพาะเด็กบางคนที่มีความสามารถเฉพาะทางที่โดดเด่นติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือเด็กที่เป็นอัจฉริยะในด้านใดด้านหนึ่ง
จะดีกว่าไหม ? ถ้าการศึกษาสมัยใหม่มุ่งเน้นไปที่การสังเกตจุดเด่นเฉพาะทางเหล่านี้ และนำไปพัฒนาโดยการชี้แนะให้เด็กค้นหาตัวเองตามความสามารถของเขา มากกว่าการตัดสินเด็กจากคะแนนสอบวิชาสามัญเป็นหลัก
2
โดยทั้งนี้ ควรทำควบคู่ไปกับหลักสูตรบรรทัดฐานที่เสริมสร้างทักษะ Soft Skill มากกว่าที่จะสร้างความรู้สึกว่าเด็กต้องแข่งขันกับเพื่อน ๆ ของเขาตั้งแต่เด็ก เพราะท่านย่อมรู้ดีว่าการสร้างประเทศให้แข็งแกร่งนั้นต้องอาศัยทักษะการทำงานร่วมกันมากกว่าการปลูกฝังความคิดเชิงการแข่งขัน ซึ่งดูแล้วเป็นจุดที่ประเทศไทยยังคงดำเนินไปผิดทิศทางในส่วนมาก
เราปฏิเสธไม่ได้ว่า Hard Skills ของมนุษย์กำลังถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติที่ใช้คอมพิวเตอร์และ A.I. ทำงาน และมันก็ทำได้ดีกว่ามากเนื่องจากไม่มี Human Error และต้องการเวลาพักผ่อนน้อยกว่ามนุษย์อย่างมาก
นอกจากนี้ ระบบคอมพิวเตอร์และ A.I. ยังทำงานที่เจ้านายสั่งได้อย่างง่ายดายโดยไม่เกิดปัญหาต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากการสั่งให้แรงงานมนุษย์ทำงาน Hard Skills พวกนี้
จะดีกว่าไหม ถ้าเด็กที่ไม่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ แต่เก่งทางด้านกีฬา ถูกตัดสินด้วยพัฒนาการทางด้านกีฬาและ Soft Skills โดยการถ่วงน้ำหนักมากกว่าความสามารถทางด้านการคำนวณตัวเลขของเขา ? มันอาจทำให้เด็กและผู้ปกครองรู้สึกดีกว่ามาก
ทั้งหมดนี้ เราไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เก่งทางด้านวิชาการหรือ Hard Skills จะหมดความสำคัญไปต่อโลกใบนี้ในอนาคต แต่ประเด็นของเราอยู่ที่ "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ตรงกับความสามารถเฉพาะทางของเขาตั้งแต่เด็ก"
2
ซึ่งการทำเช่นนี้ จะทำให้เด็กหลายคนไม่ต้องเสียเวลาไปกับความรู้สึกแย่ ๆ จากการจัดอันดับโดยเกณฑ์มาตรฐานที่เหมือนกันหมด และเราขอย้ำอีกครั้งว่าแนวทางดังกล่าวค่อนข้างผิดไปจากธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความสามารถแตกต่างกัน
ยิ่งไปกว่านั้น จะดีกว่าไหมถ้าเด็กไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้อะไรที่ตัวเองไม่ถนัดหรือไม่ชอบเพื่อไปแข่งขันกับคนอื่น แต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะในด้านที่ตัวเองมีความสามารถอยู่แล้ว หรือสิ่งที่ตัวเองมีความสนใจจริง ๆ และสามารถทำได้ดี
1
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว อาจจะเหมาะกับคำว่า "การศึกษาขั้นพื้นฐาน" มากกว่ารูปแบบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
และในอีกแง่หนึ่ง ก็อาจทำให้ประเทศสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทางสูง ๆ ได้ตั้งแต่เด็กหากเราส่งเสริมพวกเขาถูกทาง และอย่าลืมว่าเด็กนั้นมีความสามารถในการพัฒนามากกว่าบุคคลที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งการทำเช่นนี้อาจเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรไทยขึ้นไปอีกระดับเลยทีเดียว ขณะที่การพัฒนา Soft SKills ของพวกเขาตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วยให้การทำงานเป็นทีมหรือเป็นองค์กรในอนาคตมีขีดจำกัดที่สูงขึ้นได้อีกมาก
References :
โฆษณา