22 มี.ค. 2021 เวลา 13:17 • การศึกษา
ทำไมการไม่ขัดขืน จึงหมายถึงสมยอม
คนส่วนใหญ่เชื่อว่า เหตุการณ์ที่ผู้หญิงถูกข่มขืน หรือล่วงละเมิดทางเพศ แต่ไม่มีทีท่าดิ้นรน ขัดขืนนั้น แปลได้อย่างตรงประเด็นว่า พวกเธอยินยอมมอบกาย อันแสนรัก แด่ซาตานในร่างมนุษย์ ผู้หิวโหยในราคะ แต่ทั้งหมดอาจเป็นความคิดที่ผิด เพราะเรื่องนี้ มันไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ
1
แม้เราจะคุ้นชินกับสื่อหลากหลาย เกี่ยวกับการข่มขืน ที่ประเด ประดังผ่านทุกช่องทาง แสดงให้เห็นถึงปฎิกิริยาของเหยื่อ ในยามที่กำลังตกที่นั่งลำบาก ว่าเป็นอย่างไร แต่นั่นมันเป็นเพียงการแสดง ที่อุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อเหล่าผู้ชมเท่านั้น แม้ว่าในทางสถิติ ผู้หญิงทั่วโลกโดยเฉลี่ย 1 ใน 5 จะถูกข่มขืนก็จริง แต่พวกเธอก็คงไม่มีใครปริปาก บอกความเป็นมา ในช่วงเวลาแสนขื่นขมนั้น ให้คุณฟังอย่างถ่องแท้หรอก
1
ภาพของหญิงสาว ถูกล่วงละเมิดโดยอาชญากรหื่น ตามหน้าสื่อต่าง ๆ ทำให้เราหลายคนคิดไปต่าง ๆ นานา ถึงการตอบโต้ของสตรีร่างเล็ก เดาได้ว่าหากเธอไม่โอเค(นะคะ) เธอก็จะต่อสู้ ตอบโต้ ขัดขืน ร้องเรียกขอความช่วยเหลือ ตามแต่จะพึงระลึกได้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะแปลว่าหล่อนสมยอมโดยอัตโนมัติ
เคยมีคดีที่ขึ้นโรงขึ้นศาล ปรากฎต่อหน้าพยานนับร้อยคน อ้างถึงผู้เสียหาย อยู่ในอริยาบทอันไม่ตอบโต้ ต่อเฒ่าหัวงูตัณหากลับ ที่สุดแล้วศาลยกฟ้องไปอย่างพลิกล็อก อิงจากคดี (CEDAW/C/57/D/34/2011 และ CEDAW/C/46/D/18/2008) กลายเป็นตราบาปติดตัวเหยื่อไปจนตาย ส่วนอีกฝ่าย ก็ลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคม
1
ในความเป็นจริงเชิงชีววิทยา สภาวะที่ผู้หญิงกำลังเผชิญกับภยันตราย อันแสนร้ายกาจ ร่างกายจะเข้าสู่สภาวะพร้อมหนี หรือไม่ ก็พร้อมสู้ ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Fight or Flight เมื่อม่านตาเปิดกว้าง ตาดำจะกรอกไปมา ด้วยความเร็วยิ่งยวด เราจะได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจน ราวกับวอยซ์ เฮชดี
1
แต่ถ้าอันตรายนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหนีพ้น คำนวณโดยสมองเพียงเสี้ยววินาที เป็นการคำนวณที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา ปกติมักเป็นภยันตรายในขั้นรุนแรง ไม่คาดคิด
หรือในลักษณะที่กระทบต่อจิตใจ โดยเฉพาะการถูกคุกคาม ล่วงละเมิดและข่มขืน สมองจะปิดฟังชั่น "สมองส่วนใช้เหตุผล" หรือ Prefrontal Cortex อิงจากวารสาร Nature Reviews Neuroscience
ปฎิกิริยาของร่างกาย เมื่ออยู่ในสภาวะสิ้นหวัง จากดวงตาที่เคยเปิดกว้าง ตอนนี้ม่านตาก็จะค่อย ๆ ปิดลง ตัวสั่นเทา อุณหภูมิร่างกายลด ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด หมดเรี่ยวแรง ในกรณีที่รุนแรงนั้น เหยื่อจะไม่รู้สึกถึงตัวตน หรือแยกตัวตนออกจากร่างกายที่ถูกกระทำนั้นได้ เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่า "Tonic Immobility" อิงจากวารสารจิตเวชศาสตร์ Clinical Implications and Management
แน่นอนว่าเราเอาชนะ ภาวะทางร่างกายเหล่านี้ได้ไม่ยาก หากผ่านการฝึกฝน ผ่านการเตรียมพร้อม หรือเผชิญหน้ากับมันมาแล้วด้วยความเข้มแข็ง เหมือนดั่งเช่นการฝึกของทหาร ที่คุ้นเคยกับเสียงระเบิด คุ้นเคยกับการประหัดประหาร แต่อย่าลืมว่า แม้แต่การฝึกฝนเหล่านี้ ก็ต้องใช้เวลา นับประสาอะไรกับผู้หญิง ที่กำลังตกอยู่ภายใต้อิทธิฤทธิ์แห่งกามรมณ์
คำถามก็คือ ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ ถูกจู่โจมด้วยความบ้าคลั่ง จากเพศที่แข็งแรงกว่า เคยถูกฝึกทักษะ เพื่อให้คุ้นชินในสถานะการณ์เหล่านี้หรือไม่ และในช่วงที่ตกอยู่ในขุมนรก พวกเธอสามารถดิ้นรน ต่อสู้ ขัดขืน หรือเอาตัวเองออกมาจากห้วงอเวจีได้จริงหรือ
อย่างไรก็ตาม เพียงหวังว่าวิทยาศาสตร์ คงจะพัฒนาต่อไป เพื่อแก้ไขเรื่องราวที่อาจจะขึ้นในอนาคต แม้ว่าการข่มขืน หรือการสมยอม อาจกลายเป็นเรื่องของคนรุ่นหลัง แก้ไขให้มันเป็นเรื่องที่ถูกต้องต่อไป
1
ขออภัยหากใช้คำกล่าวที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาในทางลบแต่อย่างใด
กดไลค์หากถูกใจ แชร์หากเห็นว่ามีประโยชน์ คอมเมนท์เพื่อแนะนำติชม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา