23 มี.ค. 2021 เวลา 05:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ระหว่างอยู่บนเครื่องบิน ผมมีโอกาสอ่านหนังสือที่มีชื่อว่า Bitcoin Standard ของคุณ Saifedean Ammous เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ (ถ้าไม่มีคนแปลตอนแรก จะเอามาแปลเองแล้ว 😅)
2
ในหนังสือบทที่ 4 เขาพูดถึงเรื่อง Gold Standard กับ Silver Standard สองเรื่องนี้คือ การผูกเงินเข้ากับสินทรัพย์เหล่านี้ หมายความว่า $1 = 1 ounce ของทองคำ ประเทศแรกที่ทำเรื่องนี้คือประเทศอังกฤษโดยการนำเสนอของ Sir Isaac Newton ตอนปี 1717 หลังจากนั้นประเทศหลายๆประเทศทั่วโลกก็แห่กันทำตาม
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คนเวลาจะซื้อของชิ้นใหญ่ๆจะใช้ทองคำในการซื้อ แต่พอของชิ้นเล็กๆจะใช้แร่เงินในการซื้อ ปัญหาคือว่าเมื่อเงินเฟ้อ และการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเริ่มทำงานเร็วขึ้น ราคาสินค้าเริ่มแพงขึ้น คนเลยนิยมที่จะสะสมทอง และละเลยแร่เงินมากขึ้นเรื่อยๆ (อารมณ์คล้ายๆเหรียญสลึง บ้านเรา) ทำให้ราคาของแร่เงินตก
ประเทศในฝั่งยุโรปปรับตัวได้เร็ว จึงสามารถที่จะเอาระบบแร่เงินออกจากระบบเศรษฐกิจได้ สองประเทศสุดท้ายที่เอาแร่เงินออกจากระบบเศรษฐกิจคือ จีน กับ อินเดีย โดยจีนคือประเทศสุดท้ายบนโลกที่เอาออกตอนปี 1935 ซึ่งตอนนั้นเองราคาของแร่เงินตกไปถึง 78% ของราคาแร่เงินในครั้งแรกที่นำมาใช้
ผู้เขียนได้อธิบายมุมมองของเขาได้ดีมากๆครับ เขามองว่าการที่อินเดียและจีน ปรับตัวช้าต่อโลก จึงทำให้ความร่ำรวยของสองประเทศนี้ลดลงอย่างมหาศาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแล้วผมมองว่าในขณะที่ทุกวันนี้การเข้ามาของบิทคอยน์ส่งผลให้สถาบันการเงินและรัฐบาลหลายๆแห่งต้องปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเกมนี้ในอนาคตจึงอยู่ที่ว่า ใครปรับตัวเร็วคนนั้นชนะ เหมือนคำกล่าวของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่พูดไว้ว่า “ผู้ที่จะอยู่รอดได้ ไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือผู้ที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นผู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดต่างหาก”
โฆษณา