23 มี.ค. 2021 เวลา 08:52 • การศึกษา
อยากลองจำอะไรได้นานๆ และใช้เวลาทบทวนให้น้อยไหม?
บางครั้ง หรือหลายครั้ง เวลาที่เราอ่านหนังสือ ก็มีอยู่มาก ที่ทบทวนอย่างไรไป พอปิดหนังสือลง ความรู้ที่ทวนมา กลับหายไปเสียหมด
ไม่หมด แต่เหลืออยู่น้อยกว่าเดิมมาก
ยิ่งผ่านไปนานเข้า หลังเรียนเสร็จใหม่ๆ สักวันสองวัน
เรายังพอจำได้อยู่บ้าง
แต่เมื่อผ่านไปสักสัปดาห์หรือสองสัปดาห์แล้ว
ชื่ออาจารย์ผู้สอน บางครั้งอาจยังจำไม่ได้
1
เนื่องจากสมองเรามีความสามารถในการ “ รับรู้ “ ที่แตกต่าง
ในบางครั้ง สมองก็ไม่ได้คิดว่าเรื่องที่เรากำลังเรียนรู้อยู่ เป็นเรื่องสำคัญในชีวิต และจำเป็นต้องจำลงไป
ดังนั้น หากเป็นเรื่องแบบนี้ การจำที่ดี คือการจำแบบกระตุ้นให้ Short term memory เปลี่ยนเป็น Long term memory
ด้วยตัวสมองของเรามีส่วนความจำในรูปแบบระยะสั้น และรูปแบบระยะยาวรองรับอยู่แล้ว แต่อยู่คนละตำแหน่ง การจะย้ายความจำระยะสั้นให้เป็นยาวนั้น บางครั้ง ก็ต้องอาศัยเวลา และการทำซ้ำ
ดังนั้น Spaced repetiton จึงเกิดขึ้นมา
ความรู้ต่างๆ หากไม่ได้รับการนำมาทำ หรือจดจำซ้ำ สักพัก เราก็จะหลงลืมไป
กราฟการหลงลืม คือ “ Forgetting curve "
ดังนั้น หลักการทั่วไปของการเรียนรู้โดยการใช้ spaced repetition คือการทบทวน ในจุดหรือเวลาที่เราใกล้จะลืม
1
ถ้าถามว่า จะทบทวนตอนไหน? มีเวลาที่กำหนดเฉพาะไหม
บางคนก็เริ่มจากหลังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นั้นทันที
และถัดไปอีก 10 นาที
ถัดไปอีก 1 ชั่วโมง
ถัดไปอาจจะเป็น 2 วัน
ถัดจากนั้นก็เป็นสัปดาห์ หรือเดือน
ส่วนนี้อาจจะต้องตามหากันเอง
ว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะกับเรามากที่สุด
หรือถ้าพูดถึงโปรแกรมที่ช่วยได้ในปัจจุบัน ก็มีมากมาย
สำหรับตัวอย่างของผมก็คงจะเป็น Anki app/ notes แต่อย่างไร ก็มีอีกมากมายที่สามารถใช้งานได้ดี
cradit : Anki notes developer
ลองนำมาปรับใช้กับตัว เวลาอ่านหรือทบทวนอะไรแล้วอยากให้จำได้นานๆ ดูครับ
ช่วงแรกเราอาจจะรู้สึกไม่คุ้น
แต่หากเริ่มทำจนชิน เราก็จะมีแนวโน้มที่จะจดจำได้มากขึ้น โดยใช้เวลาน้อยลง
ไม่แน่ว่า คุณกำลังทำ spaced repetition อยู่
โดยไม่รู้ตัวก็เป็นไปได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา