25 มี.ค. 2021 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
5 ข้อควรรู้การวางแผนภาษี สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
ในปัจจุบันการค้าขายออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย รวดเร็ว รวมทั้งมีต้นทุนที่ต่ำ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ขายผ่านเพจหรือ website ได้เลย ทั้งนี้รายได้จากการขายของออนไลน์นั้นต้องนำมาเสียภาษีด้วยเช่นกัน การวางแผนภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์นั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะทำให้ภาระทางภาษีสามารถลดลงได้
สำหรับ พ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์
ขอแบ่งออกเป็น 3 ช่องทาง คือ
1. ขายผ่านช่องทาง Social Media เช่น Facebook, Instagram, Line เป็นต้น
2. ขายผ่านเว็บไซต์ทีเป็น Marketplace เช่น Lazada, Shopee
3. ขายผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง
โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงการคำนวณภาษีแบบบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบบุคคลธรรรมดา
ทีนี้มาดูกันว่าพ่อค้า แม่ค้า ออนไลน์จะต้องวางแผนในการจ่ายหรือลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง
เริ่มจากมารู้จักสูตรคำนวณภาษี
ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีแต่ละขั้น
= (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีแต่ละขั้น
เมื่อรู้สูตรคำนวณภาษีแล้ว เราจะมาทำความรู้จักทีละตัวว่า เงินได้, ค่าใช้จ่าย, ค่าลดหย่อน, อัตราภาษีแต่ละขั้น ที่อยู่ในสูตรการคำนวณภาษีนั้นแต่ละตัวคืออะไร และมีวิธีการวางแผนภาษี อย่างไร โดยสามารถแบ่งเป็น 5 ข้อควรรู้การวางแผนภาษี สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ดังนี้ ดังนี้
1. รู้ว่าเงินได้ได้เราเป็นประเภทใด
ข้อแรกที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องทราบคือเงินได้ของเราเป็นประเภทใดเพื่อจะนำไปวางแผนภาษีในขั้นตอนถัดๆไป
โดยประเภทของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีจะแบ่งได้เป็น 8 ประเภทอธิบายง่ายๆแบบใกล้ตัวได้ดังนี้
เงินได้ประเภทที่ 1 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(1) คือ เงินได้ที่เป็นเงินเดือนและโบนัสของเรานั่นเอง
เงินได้ประเภทที่ 2 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(2) คือ เงินได้จากค่าคอมมิชชั่น, ค่านายหน้า และเงินค่าจ้างจากการจ้างงานเช่น ฟรีแลนซ์
เงินได้ประเภทที่ 3 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(3) คือ เงินได้ที่มาจากค่าลิขสิทธิ์เช่น บทประพันธ์ เพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เงินได้ประเภทที่ 4 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(4) คือ เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินปันผลจากหุ้นและทองทุนรวม
เงินได้ประเภทที่ 5 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(5) คือ เงินได้จาค่าเช่าบ้านหรือค่าเช่าที่ดิน
เงินได้ประเภทที่ 6 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(6) คือ เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระที่มีจำนวนเงินได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย เฉพาะใน 6 สายอาชีพนี้เท่านั้นคือ การประกอบโรคศิลป์, วิศวกร, นักกฎหมาย, สถาปนิก, นักกฎหมาย, ช่างประณีตศิลป์
เงินได้ประเภทที่ 7 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(7) เงินได้จากการรับเหมา โดยที่การรับเหมานั้นต้องเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ
เงินได้ประเภทที่ 8 หรือที่ภาษาทางภาษีเรียกว่า 40(8) เงินได้ที่ไม่ได้จัดอยู่ในทั้ง 7 ประเภทข้างต้น เช่น การขายของออนไลน์, เปิดร้านอาอาหาร เป็นต้น
ทีนี้ลองมาดูกันว่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์นั้นจะมีรายได้จากทางไหนหรือเป็นเงินได้ประเภทใดจาก 8 ประเภทข้างต้น
***เงินได้ที่มาจากการขายของออนไลน์นั้นเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8)***
2. รู้ว่าแต่ละแบบหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่
ในการที่จะได้เงินได้มานั้นย่อมมีต้นทุนในตัวมันเอง ทางกรมสรรพากรจึงให้สามารถหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้ประเภทต่างๆก่อนนำมาเป็นเงินได้สุทธิเพื่อนำไปคิดภาษี หรือพูดง่ายๆคือยิ่งหักได้เยอะยิ่งดี โดยเงินได้ทั้ง 8 ประเภทจะหักค่าใช้จ่ายได้ต่างกันไปตามเงินได้แต่ละประเภท
สำหรับการของออนไลน์ซึ่งถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) นั้นจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบคือ
- แบบเหมา สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ที่มาจากการขายของออนไลน์
- ตามจริง คือ หักค่าใช้จ่ายได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงโดยต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายให้สรรพากรตรวจสอบด้วย
3. รู้ว่าค่าลดหย่อนมีอะไรบ้าง
หลังจากที่เรารู้ประเภทของเงินได้และการหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว ทีนี้เราจะมาทำความรู้จักกับค่าลดหย่อนต่างๆกันบ้าง หลายๆท่านอาจเคยได้ยินว่าประกันชีวิต, กองทุน RMF,SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้แต่จริงๆแล้วยังมีอีกหลายค่าลดหย่อนใกล้ตัวที่น่าสนใจนำมาลดหย่อนภาษีได้ ในที่นี้จะยกตัวอย่างค่าลดหย่อน บางส่วนที่ใกล้ตัวเรามาดังนี้ อันนี้จะเป็นค่าลดหย่อนสำหรับรายได้ที่เกิดจากการจ้าง 40(1) และ 40(2) นะคะ
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ต่อปี
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท ต่อปี (สำหรับคู่สมรสที่ไม่มีรายได้)
- ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 – 60,000 บาทต่อคน (บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรืออายุ 20-25 และยัง ศึกษาระดับ ปวส. หรือปริญญาตรีขึ้นไป)
- ค่าลดหย่อน บิดา มารดา 30,000 บาทต่อคน (ในกรณีที่พ่อแม่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)
- ประกันชีวิตทั่วไป ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป)
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% หรือ ไม่เกิน 200,000 บาท แล้วแต่จำนวนใด
จะน้อยกว่า
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับแบบประกันชีวิตแบบทั่วไปแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าซื้อกองทุน RMF ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ได้รับทั้งปี หรือ 500,000 บาทแล้วแต่จำนวนไหนจะน้อยกว่า
- ค่าซื้อกองทุน SSF ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ได้รับทั้งปี หรือ 200,000 บาทแล้วแต่ จำนวนไหนจะน้อยกว่า
- ดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
4. รู้ว่าอัตราภาษีแต่ละขั้นเป็นอย่างไร
2
จากสูตรคำนวณภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีแต่ละขั้น
= (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีแต่ละขั้น
เราทราบมา 3 ส่วนแล้วคือ เงินได้, ค่าใช้จ่าย, ค่าลดหย่อน ซึ่งจะสามารถนำมาคำนวณเงินได้สุทธิได้ ทีนี้เรามาดูอัตราภาษี (ตามตารางด้านล่าง) ซึ่งคิดจากเงินได้สุทธิแต่ละขั้นกันบ้าง จากนั้นนำค่าที่ได้จากการคูณอัตราภาษีแต่ละขั้นมารวมกันก็จะได้ค่าภาษีที่เราต้องชำระในปีนั้น
5. รู้วิธีการวางแผนประหยัดภาษี
หลังจากทราบวิธีการคำนวณภาษีแล้วจะเห็นว่าวิธีที่จะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงมี 2 ส่วนคือ
- การหักค่าใช้จ่าย
เราสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือแบบเหมาจ่าย 60% หรือหักตามจริง
เราควรเลือกแบบที่หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เพื่อที่จะนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด
- วางแผนค่าลดหย่อนต่างๆ
เราใช้ค่าลดหย่อนใกล้ตัวก่อนเช่น ลดหย่อนบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร และใช้ให้เต็มสิทธิ
จากนั้นลองศึกษาพวกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถลดหย่อนได้เช่น ประกันชีวิต, SSF และ RMF เพื่อนำมาลดหย่อนได้เพิ่มเติม ทำให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้น
จากวิธีการวางแผนภาษีสำหรับการขายของออนไลน์นั้น ถ้าเราวางแผนภาษีในส่วนของค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้ดีจะทำให้ลดภาระทางภาษีไปได้พอสมควรอย่างที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตามจากบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างการวางแผนภาษีจากการขายของออนไลน์เท่านั้น ในกรณีที่เป็นอาชีพอื่นๆหรือบางท่านที่มีเงินได้หลายประเภทก็จะมีวิธีการวางแผนภาษีที่ต่างกันออกไป ในบทความถัดไปจะกล่าวถึงการวางแผนภาษีสำหรับสาขาอาชีพอื่นๆ เช่น มนุษย์เงินเดือน, บุคลากรทางการแพทย์, ฟรีแลนซ์ ให้ได้ติดตามกันเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนภาษีของแต่ละท่านต่อไปค่ะ😊
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา