7 เม.ย. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"PPO" คืออะไร ทำไมถึงไม่มีใครชอบมัน?
2
PPO มีชื่อเต็มว่า โพลีฟีนอลออกซิเดส (polyphenoloxidase) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารประกอบฟีนอล
1
ที่บอกว่าเป็นเอนไซม์ที่ไม่มีใครชอบ นั่นเป็นเพราะว่าเวลาเราปอกเปลือกแอปเปิ้ล ผิวแอปเปิ้ลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเร็วมาก ทานยังไม่ทันหมดลูก ก็ดำหมดละ พอผิวมันเปลี่ยนสี เราก็เริ่มหมดอารมณ์ที่จะทานต่อเลย (มีใครเป็นแบบเราบ้างคะ หรือมีแค่เราคนเดียว ที่ชอบทานผลไม้สวยๆ😂😂)
1
ที่แอปเปิ้ลมันเปลี่ยนสี นั่นเป็นเพราะ ในเนื้อแอปเปิ้ลจะมี "เอนไซม์ PPO" และ "สารประกอบฟีนอล" อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำปฏิกิริยากัน
เมื่อเราปอกเปลือกหรือหั่นแอปเปิ้ล ก๊าซออกซิเจนที่สัมผัสกับเนื้อแอปเปิ้ลจะทำงานร่วมกับ "เอนไซม์ PPO" ไปจับตัวกับ "สารประกอบฟีนอล" ทำให้เกิดปฏิกิริยาไฮดรอกซิเลชัน
หลังจากนั้นปฏิกิริยาไฮดรอกซิเลชัน สารประกอบฟีนอลที่ไม่มีสี จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อ กลายเป็น "สารควิโนน"
แล้ว "สารควิโนน" จะเกิดเป็นพอลิเมอร์ ซึ่งมีสีดำ, น้ำตาล หรือแดงเข้ม ทำให้ผลไม้เป็นสีน้ำตาล
6
ทั้งหมดนี้คือ ปฏิกิริยา "enzymatic browning reaction" ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับผักผลไม้ชนิดอื่นได้ เช่น กระท้อน กล้วย มันฝรั่ง หัวปลี เป็นต้น
แต่เราสามารถทำให้แอปเปิ้ลชะลอการเกิดสีน้ำตาลได้ โดยการป้องกันไม่ให้สัมผัสกับออกซิเจน เช่น การจุ่มผักผลไม้ในน้ำเชื่อม หรือน้ำเกลือ หรือใช้การบรรจุแบบสูญญากาศ (vacuum packaging) หรือการดัดแปรสภาพบรรยากาศ (modified atmosphere packaging, MAP )
1
อีกอย่างนึงคือ ใช้พวกกรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก หรือที่เราเรียกว่ากรดมะนาวนั่นแหละค่ะ เพราะกรดซิตริก สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ และมีกรดอีกอย่างที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ คือ กรดแอสคอร์บิก หรือวิตามินซี นั่นเองค่ะ
2
#ความรู้เพิ่มเติม
1. ปฎิกิริยาออกซิเดชัน คือ ปฏิกิริยาที่โมเลกุลของสารสูญเสียอิเล็กตรอน
2. ปฏิกิริยาไฮดรอกซิเลชัน คือ ปฏิกิริยาการเติมหมู่ -OH เข้าไปในโมเลกุล
ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ😊🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา