26 มี.ค. 2021 เวลา 17:41 • ปรัชญา
สมมุติว่า มีคน 100 คนที่ อยากเก่ง อยากมีความชำนาญ อยากประสบความสำเร็จ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อนๆคิดว่าจะมีสักกี่คนกันครับ ที่ลงมือทำอย่างจริงจัง ฝึกซ้อมอย่างหนัก และทำมันอย่างสม่ำเสมอ
3
วันนี้ผมมีเรื่องเล่าในวัยเยาว์มาเล่าสู่กันฟังครับ
เมื่อตอนผมอยู่ม.ต้น ผมได้เห็นคนรู้จักคนหนึ่งได้แชมป์เทนนิส ระดับภาค ผมเกิดความรู้สึก 2 อย่าง อย่างแรกคือรู้สึกดีใจและยินดีกับเขามาก แต่อีกความรู้สึก คือ ความรู้สึกน้อยใจตัวเองและคิดกับตัวเองว่า “ทำไมเราไม่เก่งอะไรเลยนะ” “ทำไมคนอื่นเค้าถึงเก่งได้ขนาดนั้นกันนะ” ผมเพียงแค่คิดและหวังว่าวันหนึ่ง ผมจะเก่งได้แบบเค้า ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
3
แต่ผมเพียงแค่คิดและหวัง โดยไม่ได้ทำในสิ่งที่เค้าคนนั้นทำอยู่ตลอด คือการลงมือฝึกซ้อมและทำมันอย่างสม่ำเสมอ
2
คนเราไม่มีใครที่เก่งมาตั้งแต่เกิดแน่นอนครับ ความเก่ง ความชำนาญ ความสำเร็จ มันมาจากการฝึกซ้อม ผมไม่รู้เลยว่าเค้าต้องซ้อมหนักขนาดไหน ถึงจะไปถึงจุดนั้นได้
แต่ที่ผมรู้คือ สิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้เราได้รับในสิ่งที่เราไม่เคยมี การทำให้เราเก่งในสิ่งที่เราอยากจะเก่ง นั่นคือ การฝึกซ้อมและความสม่ำเสมอครับ
1
วันนี้ผมมีเทคนิคดีดีในการฝึกฝนทักษะตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การร้องเพลง การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย หรือการพูด ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกคนครับ
1. ให้ลืมเรื่องเวลา และโฟกัสที่คุณภาพ
3
โดยในการที่เราจะฝึกอะไรสักอย่าง เรามักจะสร้างเงื่อนไขเวลา ว่าจะใช้เวลากี่นาทีกี่ชั่วโมง ซึ่งทำให้เราเกิดความกังวล ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญในการฝึกซ้อมคือ คุณภาพ พูดง่ายๆคือ จำนวนครั้งในการฝึกซ้อม เพราะจะให้ร่างกายคุ้นชิน สร้างความเชื่อมโยงในสมอง ทำให้ร่างกายชินและเชี่ยวชาญขึ้น
3
2. แบ่งทักษะออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วนำมารวมกันภายหลัง
1
จะทำให้เราโฟกัสในทักษะที่จำเป็นแต่ละทักษะได้ดีกว่า เช่น หากเราซ้อมวิ่ง ให้แบ่งทักษะที่เราจะซ้อมออกเป็นย่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น การลงเท้า การจับจังหวะ การโน้มตัว การหายใจ แล้วเมื่อเราโฟกัสในทักษะที่จำเป็นอย่างเพียงพอแล้ว จึงค่อยนำมาฝึกซ้อมโดยรวมทักษะทั้งหมดเข้าด้วยกัน
1
3. มีสมาธิในการฝึกซ้อมแต่ละครั้งและไม่ทำหลายๆอย่างพร้อมกัน เพราะจะทำให้เราไม่เกิดการพัฒนาทักษะใดใดเลย และควรลืมเงื่อนไขของเวลา และทุ่มเทให้กับการฝึกฝนแต่ละครั้ง
1
4. เมื่อเกิดความผิดพลาดให้แก้ไขทันที
1
ความผิดพลาดเป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ แต่บ่อยครั้งที่เกิดความผิดพลาด ล้มเหลว เรามักเกิดความท้อแท้ และล้มเลิก ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดพลาด เราควรแก้ไขทันที เพื่อป้องกันการหมดไฟ และล้มเลิก
1
5. ทำอย่างสม่ำเสมอ
1
อาจจะโดยการซ้อมวันละนิด ฝึกทีละน้อยๆ แต่ทำสม่ำเสมอทุกวัน การทำทีละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง จะทำให้สมองสร้างความเชื่อมโยงในทักษะที่เราฝึกซ้อมได้ดีกว่า มากกว่านั้นเมื่อเราทำทุกวันจะทำให้เกิดนิสัย และเมื่ออะไรที่เราทำจนเป็นนิสัย จะสร้างความชำนาญให้แก่ตัวเราเอง
ยกตัวอย่าง การอ่านหนังสือก่อนสอบคืนเดียว จะไม่มีประสิทธิภาพเท่า อ่านก่อนหน้านั้น 1-2 สัปดาห์ แต่การอ่านก่อนสอบ 1- สัปดาห์นั้น ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการตั้งใจเรียนและหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอในทุกๆวัน
6. ซ้อมเพียงลำพัง
1
เพราะการทำอะไรลำพังจะทำให้เราค้นพบจุดสมดุลในความสามารถของเราได้เอง รวมถึงทำให้เราสร้างวินัยในตนเองได้เอง ซึ่งอะไรที่เราค้นพบและสร้างขึ้นมาเองนั้น เราจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เมื่อเราเห็นความสำคัญ จะทำให้เราอยากทำมันอยู่เสมอและอยากทำให้สำเร็จ
ผู้ชนะคือผู้ที่ซ้อมจนเหงื่อท่วมกายเกือบหมดสภาพในตอนที่อยู่เพียงลำพัง
7. สร้างความเชื่อว่าทำได้
1
หากเรามีความเชื่อ ศรัทธา และบอกกับตัวเองเสมอว่าเราสามารถทำได้ จะเป็นการส่งสัญญาณให้สมอง ซึ่งจะทำให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง จะทำให้เราหนักแน่นในเป้าหมายมากขึ้น
1
คนเรามักจะหลีกเลี่ยงที่จะดิ้นรนเพื่อให้ไปสู่ความสำเร็จ เพราะกลัวที่จะล้มเหลวและไม่คุ้มที่จะตะเกียกตะกาย แต่ความล้มเหลวนั้นเป็นแนวทางที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ และเมื่อเราดิ้นรน ตะเกียกตะกายจนเหนื่อยล้า เราจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น
จากเรื่องใน ม.ต้น จนถึงตอนนี้ ผมได้ข้อคิดแล้วว่า เพียงแต่คิดและหวังคงไม่มีวันที่จะเก่งขึ้นได้จริงๆ
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมนะครับ
โฆษณา