30 มี.ค. 2021 เวลา 06:39 • ความคิดเห็น
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม เด็กน้อยชาวเมียนมาอายุ 9 ขวบ เขียนจดหมายถึง UN ขอร้องให้ช่วยเหลือประเทศของเธอ 

“UN ช่วยประเทศหนูได้ไหมคะ?
หนูกลัวเสียงปืน หนูอยากไปโรงเรียน” 

ซึ่งถูก Retweet เป็นไวรัลไปทั่วโลก
3
ก่อนหน้านั้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ นายจอ โม ตุน ทูตเมียนมาประจำองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรียกร้องให้ยูเอ็น ใช้มาตรการที่จำเป็นทุกทางเพื่อขัดขวางกองทัพเมียนมา นำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศ
พร้อมทั้งชูสัญลักษณ์สามนิ้วแสดงอารยะขัดขืนไม่ยอมรับการก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน ต่อหน้าสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ 193 ประเทศ ซึ่งในภายหลังไม่นาน เขาก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยกองทัพเมียนมา
สำหรับในประเทศไทย ประชาชนชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในประเทศกว่า 1,000 คน ก็รวมตัวตบเท้าเข้ายื่นหนังสือถึง UN ที่สำนักงานบริเวณถนนราชเำเนินนอกเรียกร้องให้ผู้แทนคณะมนตรีแห่งสหประชาชาติดำเนินการตรวจสอบ กรณีมีการปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารในเมียนมา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์
⁉️จริง ๆ แล้ว UN ช่วยประเทศเมียนมาได้หรือไม่?
นับตั้งแต่กองทัพเมียนมาขึ้นยึดอำนาจ ทาง UN ก็ออกมาเคลื่อนไหวโดยตลอด แต่ทางผู้นำทหารก็หาได้แคร์ไม่
1
📍4 มีนาคม นางคริสติน ชราเนอร์ บัวร์เกอเนอร์ ทูตพิเศษด้านกิจการเมียนมาของ UN กล่าวว่า ได้มีโอกาสติดต่อ กับพล.อ.โซ วิน รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเตือนว่าหากรัฐบาลทหารยังไม่หยุดใช้มาตรการรุนแรงกับประชาชน ก็มีแนวโน้มสูงที่จะนำไปสู่การคว่ำบาตรต่อเมียนมา
 
ซึ่ง พล.อ.โซ วิน ตอบทูตพิเศษของยูเอ็นว่า "เมียนมาคุ้นชินกับการคว่ำบาตร และเอาตัวรอดได้เสมอ" ส่วนประเด็นการถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก ผู้นำหมายเลขสองของรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวว่า "เราต้องเรียนรู้ที่จะเดินร่วมกับเพื่อนเพียงไม่กี่ประเทศ"
📍27 มีนาคม 2564 วันกองทัพของเมียนม่า ทาง UN โดยนางคริสติน ชราเนอร์ บัวร์เกอเนอร์ ก็ได้ออกแถลงการอีกครั้งย้ำเตือนอีกครั้งให้รัฐบาลทหาร สร้างความสงบสุขและการปกป้องประชาชนโดยเฉพาะผู้หญิงเยาวชนและเด็ก
2
แต่สิ่งที่ชาวโลกได้เห็นก็คือ ภาพการปราบปรามสังหารผู้ต่อต้านจำนวนมาก ซึ่งเป็นวันที่มีผู้เสียชีวิตรายวันสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการประท้วงเกิดขึ้นมา
3
Twitter ของท่านเลขาฯ เมื่อทราบข่าวการปราบปรามรุนแรง
ซึ่งทาง UN ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการประกาศ ของท่านเลขาธิการ UN - Antonio Guterres ว่า “It is critical to find an urgent solution to this crisis”
“เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนสำหรับวิกฤตนี้” และยังคงร้องขอรัฐบาลทหารเช่นเดิมว่าขอให้ละเว้นการปราบปรามด้วยความรุนแรง
แต่ก็เหมือนว่าเสียงจาก UN จะดังไปไม่ถึงหูของผู้นำคนใดในคณะของรัฐบาลทหารเมียนม่า
⁉️ในความเป็นจริงบทบาทของ UN คืออะไร
องค์กรสหประชาชาติ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า UN “United Nations” ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2488 ภายหลังการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีสมาชิกเริ่มต้นประกอบไปด้วย 51 ประเทศ (ปัจจุบันมี 193 ประเทศ) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
📍วัตถุประสงค์ของสหประชาชาติคือ
1 เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง
3 เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือมนุษยธรรม และการส่งเสริม/สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา
4 เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน
แม้ในหลายครั้งที่เกิดความขัดแย้งมากมายในหลายประเทศ และประชากรโลกก็ตั้งความหวังว่า UN จะแสดงบทบาทที่ช่วยบรรเทาความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย
6
แต่จากข่าวการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของรวันดาเมื่อ 25 ปีก่อน ที่มีผู้เสียชีวิตไปกว่าแปดแสนคนภายในระยะเวลาเพียง 100 วัน เราก็ได้เห็นเพียงการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อการดูแลผู้อพยพออกจากรวันดาเพียง 250 คน จาก UN เท่านั้น
สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาครั้งนี้ คงต้องมาจับตาดูกันว่าบทบาทของ UN จะสามารถทำให้ความหวังของหนูน้อยวัย 9 ขวบเป็นจริงได้หรือไม่
กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพและสร้างสรรค์ค่ะ🙏❤️
2
อ้างอิงข่าวทูตพม่า
อ้างอิงทวิตเตอร์จดหมายเด็ก 9 ขวบ
อ้างอิงข่าวชาวเมียนมาในไทยยื่นหนังสือถึง UN
อ้างอิงข่าวแถลงการ UN

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา